1 00:00:06,876 --> 00:00:12,132 ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1942 เกษตรกรชาวเม็กซิโก ดิโอนิซีโอ พูลิโด 2 00:00:12,132 --> 00:00:15,962 คิดว่าตนได้ยินเสียงฟ้าผ่า มาจากไร่ข้าวโพดของเขา 3 00:00:15,962 --> 00:00:19,740 ทว่าเสียงนั้นไม่ได้มาจากฟ้า 4 00:00:19,740 --> 00:00:25,440 มันมาจากรอยแยกขนาดใหญ่ที่ปล่อยควัน แก๊ส และหินออกมา 5 00:00:25,440 --> 00:00:29,560 รอยแยกนี้จึงกลายเป็นที่รู้จัก ในชื่อ ภูเขาไฟพาริคูติน 6 00:00:29,560 --> 00:00:36,706 และอีก 9 ปีต่อมา ลาวาและขี้เถ้าของภูเขาไฟ ได้ปกคลุมพื้นที่มากกว่า 200 ตารางกิโลเมตร 7 00:00:36,706 --> 00:00:39,056 แล้วภูเขาไฟลูกใหม่นี้โผล่มาจากไหน 8 00:00:39,056 --> 00:00:43,160 และอะไรไปกระตุ้น ให้เกิดการปะทุที่คาดไม่ถึงนี้ 9 00:00:43,160 --> 00:00:46,690 เรื่องราวของภูเขาไฟเริ่มจากหินหนืด (แมกมา) 10 00:00:46,690 --> 00:00:51,880 หินหนืดพวกนี้มักก่อตัวในบริเวณที่ น้ำในมหาสมุทรสามารถผ่านเข้าไปใน 11 00:00:51,880 --> 00:00:56,094 ชั้นเนื้อโลก ซึ่งจะทำให้ อุณหภูมิของชั้นนั้นเย็นลง 12 00:00:56,094 --> 00:01:00,114 โดยปกติแล้วหินหนืดจากกระบวนการนี้ จะอยู่ใต้พื้นผิวโลก 13 00:01:00,114 --> 00:01:04,226 เนื่องจากความสมดุลของ ปัจจัยทางธรณีวิทยา 3 ข้อด้วยกัน 14 00:01:04,226 --> 00:01:06,859 ข้อแรกคือ แรงดันชั้นหินปิดทับ 15 00:01:06,859 --> 00:01:11,780 นี่คือน้ำหนักของเปลือกโลก ที่ดันหินหนืดไว้ด้านล่าง 16 00:01:11,780 --> 00:01:16,570 ทำให้หินหนืดดันกลับด้วยปัจจัยข้อที่สอง คือ แรงดันหินหนืด 17 00:01:16,570 --> 00:01:20,500 การปะทะกันของสองแรง ทำให้เกิดปัจจัยข้อที่สาม 18 00:01:20,500 --> 00:01:23,696 นั่นคือ ความแข็งแกร่งของเปลือกโลก 19 00:01:23,696 --> 00:01:26,846 ปกติแล้ว หินจะแข็งแรงและหนักพอ 20 00:01:26,846 --> 00:01:28,916 ที่จะกันไม่ให้หินหนืดออกมาได้ 21 00:01:28,916 --> 00:01:34,701 แต่เมื่อปัจจัยทั้งสามนี้เสียสมดุล ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นนั้นรุนแรงเหมือนระเบิด 22 00:01:34,701 --> 00:01:37,421 สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ภูเขาไฟประทุ 23 00:01:37,421 --> 00:01:40,320 คือการที่แรงดันหินหนืดเพิ่มขึ้น 24 00:01:40,320 --> 00:01:43,590 หินหนืดประกอบด้วยธาตุและส่วนประกอบมากมาย 25 00:01:43,590 --> 00:01:46,740 ซึ่งส่วนใหญ่จะละลายอยู่ในหินหนืดเอง 26 00:01:46,740 --> 00:01:53,067 หากมีปริมาณที่เข้มข้นพอ ส่วนประกอบเช่น น้ำหรือกำมะถันจะไม่ละลายอีก 27 00:01:53,067 --> 00:01:56,887 แต่จะรวมตัวเป็นฟองแก๊สแรงดันสูงแทน 28 00:01:56,887 --> 00:01:59,122 เมื่อฟองแก๊สลอยตัวถึงพื้นผิวหินหนืด 29 00:01:59,122 --> 00:02:02,320 ฟองสามารถระเบิดออกด้วยความแรง เทียบเท่าการยิงปืน 30 00:02:02,320 --> 00:02:05,950 และเมื่อฟองนับล้านระเบิดอย่างต่อเนื่อง 31 00:02:05,950 --> 00:02:10,200 ก็จะมีพลังงานมากพอจะส่งขี้เถ้า ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศสตราโตสเฟียร์ 32 00:02:10,200 --> 00:02:15,495 แต่ก่อนฟองจะแตก มันจะมีลักษณะคล้ายกับ ฟองคาร์บอนไดออกไซด์เมื่อเขย่าโซดา 33 00:02:15,495 --> 00:02:18,355 ฟองแก๊สเหล่านี้ช่วยทำให้ ความหนาแน่นของหินหนืดลดลง 34 00:02:18,355 --> 00:02:23,098 และเพิ่มแรงพยุง ซึ่งจะไปดันหินหนืด ให้ทะลุผ่านเปลือกโลกขึ้นไป 35 00:02:23,098 --> 00:02:28,191 นักธรณีวิทยาเชื่อว่า นี่คือกระบวนการ ที่ทำให้ภูเขาไฟพาริคูตินประทุขึ้น 36 00:02:28,191 --> 00:02:30,011 ในประเทศเม็กซิโก 37 00:02:30,011 --> 00:02:33,518 มีอยู่ 2 สาเหตุโดยธรรมชาติที่ทำให้เกิดฟอง 38 00:02:33,518 --> 00:02:36,688 บางครั้งหินหนืดใหม่ที่อยู่ลึกลงไปกว่านั้น 39 00:02:36,688 --> 00:02:40,658 ก็พาแก๊สต่างๆ มาผสมโรงด้วย 40 00:02:40,658 --> 00:02:44,806 แต่แก๊สก็สามารถรวมตัวกันได้ เมื่อหินหนืดเริ่มเย็นตัวลง 41 00:02:44,806 --> 00:02:50,149 ในสถานะหลอมเหลวนั้น หินหนืดเป็นส่วนผสม ของแก๊สกับแร่ธาตุที่หลอมละลายแล้ว 42 00:02:50,149 --> 00:02:55,621 ขณะที่หินหนืดแข็งตัว แร่ธาตุในนั้น จะเริ่มรวมกันแน่นและตกผลึก 43 00:02:55,621 --> 00:02:59,621 กระบวนการนี้ไม่ได้ใช้แก๊ส ที่ละลายอยู่มากนัก 44 00:02:59,621 --> 00:03:02,912 เป็นผลให้สารประกอบมีความเข้มข้นสูงขึ้น 45 00:03:02,912 --> 00:03:06,362 และรวมตัวเป็นฟองระเบิด 46 00:03:06,362 --> 00:03:10,332 ไม่ใช่ทุกครั้งที่การประทุจะเกิดขึ้น จากแรงดันหินหนืด 47 00:03:10,332 --> 00:03:15,062 บางครั้งน้ำหนักของหินเอง ที่น้อยจนอาจเกิดอันตรายได้ 48 00:03:15,062 --> 00:03:20,231 แผ่นดินถล่มสามารถนำหินปริมาณมหาศาล ออกไปจากบริเวณกักเก็บหินหนืดได้ 49 00:03:20,231 --> 00:03:25,201 จนทำให้แรงดันชั้นหินปิดทับลดฮวบ และเกิดการประทุโดยทันที 50 00:03:25,201 --> 00:03:27,921 กระบวนการนี้เรียกว่า "การปลดปล่อย" 51 00:03:27,921 --> 00:03:30,822 และเป็นเหตุให้เกิดการประทุนับครั้งไม่ถ้วน 52 00:03:30,822 --> 00:03:35,544 รวมถึงการระเบิดอย่างกระทันหัน ของภูเขาไฟเซนต์เฮเลนส์ในปี ค.ศ. 1980 ด้วย 53 00:03:35,544 --> 00:03:39,114 แต่การปลดปล่อยเช่นนี้ สามารถเกิดขึ้นโดยใช้เวลานานได้ 54 00:03:39,114 --> 00:03:41,762 เนื่องมาจากการผุกร่อนของหิน และธารน้ำแข็งละลาย 55 00:03:41,762 --> 00:03:45,232 อันที่จริง นักธรณีวิทยาหลายคนกังวลว่า การที่ธารน้ำแข็งละลาย 56 00:03:45,232 --> 00:03:49,722 เนื่องจากอากาศเปลี่ยนแปลง จะเพิ่มการระเบิดของภูเขาไฟมากขึ้น 57 00:03:49,722 --> 00:03:54,295 สุดท้าย การประทุสามารถเกิดขึ้นได้ เมื่อชั้นหินไม่แข็งแรงมากพอ 58 00:03:54,295 --> 00:03:56,735 ที่จะกดหินหนืดให้อยู่ใต้ผิวโลกไว้ได้ 59 00:03:56,735 --> 00:03:59,942 แก๊สที่เป็นกรดและความร้อนจากหินหนืด 60 00:03:59,942 --> 00:04:04,568 สามารถกัดกร่อนหินด้วยกระบวนการที่ชื่อว่า การเปลี่ยนแปลงความร้อน 61 00:04:04,568 --> 00:04:08,448 ซึ่งจะค่อย ๆ เปลี่ยนหินแข็ง ๆ ให้กลายเป็นดินเหนียวนุ่ม ๆ 62 00:04:08,448 --> 00:04:12,088 ชั้นหินอาจอ่อนแรงลงได้ จากการเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลก 63 00:04:12,088 --> 00:04:16,777 แผ่นดินไหวสามารถสร้างรอยแยก ที่ทำให้หินหนืดออกมาสู่พื้นดินได้ 64 00:04:16,777 --> 00:04:19,789 และเปลือกโลกจะถูกยืดออกจนบาง 65 00:04:19,789 --> 00:04:23,267 ในขณะที่แผ่นทวีปก็เคลื่อนตัวออกจากกัน 66 00:04:23,267 --> 00:04:26,217 อย่างไรก็ตาม แม้เราจะรู้ว่า อะไรทำให้เกิดการประทุ 67 00:04:26,217 --> 00:04:28,617 มันก็ไม่ได้ทำให้คาดการณ์ง่ายขึ้นเลย 68 00:04:28,617 --> 00:04:31,837 ขณะที่นักวิทยาศาสตร์สามารถวัด ความแข็งแรงและน้ำหนัก 69 00:04:31,837 --> 00:04:33,227 ของเปลือกโลกได้คร่าว ๆ 70 00:04:33,227 --> 00:04:38,367 ความลึกและความร้อนของบริเวณหินหนืด ทำให้การวัดความเปลี่ยนแปลงแรงดันหินหนืด 71 00:04:38,367 --> 00:04:40,387 เป็นเรื่องที่ยากมาก 72 00:04:40,387 --> 00:04:44,297 แต่นักธรณีวิทยาที่เชี่ยวชาญด้านภูเขาไฟ กำลังสำรวจหาเทคโนโลยีใหม่ ๆ 73 00:04:44,297 --> 00:04:46,844 เพื่อพิชิตภูเขาไฟให้อยู่หมัด 74 00:04:46,844 --> 00:04:49,749 ความก้าวหน้าในการจับภาพความร้อน ช่วยทำให้นักวิทยาศาสตร์ 75 00:04:49,749 --> 00:04:52,409 ตรวจจับจุดร้อนใต้ดินได้ 76 00:04:52,409 --> 00:04:55,839 สเปกโทรมิเตอร์สามารถวิเคราะห์ หาแก๊สที่ออกจากหินหนืดได้ 77 00:04:55,839 --> 00:05:02,103 อีกทั้งเลเซอร์ยังสามารถใช้ตรวจจับหินหนืด ที่ดันตัวสูงขึ้นได้จากรูปร่างของภูเขาไฟ 78 00:05:02,103 --> 00:05:06,595 หวังว่าเครื่องมือเหล่านี้จะช่วยให้พวกเรา เข้าใจภูเขาไฟพวกนี้มากขึ้น 79 00:05:06,595 --> 00:05:08,861 รวมถึงการประทุอย่างดุเดือดของมันด้วย