เทนส์ (กาล) ตามหลักไวยากรณ์ คือวิธีการบอกเวลาในภาษาต่าง ๆ โดยไม่ต้องระบุช่วงเวลาชัดเจน แต่จะผันคำกริยา เพื่อบอกเวลา ที่เหตุการณ์ต่าง ๆ เกิดขึ้นแทน แล้วภาษาอังกฤษ มีกี่กาลล่ะ หากมองผ่าน ๆ คำตอบนั้นก็ง่ายมาก ก็ต้องมีอดีต ปัจจุบัน และอนาคตน่ะสิ แต่ด้วยโครงสร้างไวยากรณ์ ที่เรียกว่า "การณ์ลักษณะ" ช่วงเวลาหลัก ๆ แต่ละช่วง จึงแยกย่อยได้ชัดเจนขึ้นอีก การณ์ลักษณะแบ่ง 4 ประเภท อย่างการณ์ลักษณะ continuous หรือ progressive การกระทำจะยัง ดำเนินอยู่ ณ ขณะที่พูดถึง การณ์ลักษณะ perfect จะใช้กับเหตุการณ์ที่จบลงแล้ว ส่วนแบบ perfect progressive เป็นโครงสร้างผสมผสาน ใช้กล่าวถึงส่วนที่จบไปแล้ว ของเหตุการณ์ที่ดำเนินต่อเนื่อง และประเภทสุดท้าย คือการณ์ลักษณะ simple ซึ่งเป็นโครงสร้างเทนส์พื้นฐาน ของอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ใช้กับเหตุการณ์ที่ไม่เจาะจง ว่าเกิดต่อเนื่องหรือจบลงแล้ว อธิบายแบบนี้คงเข้าใจยากหน่อย มาดูวิธีการใช้จริงกันดีกว่า สมมติเพื่อนบอกคุณว่า ไปทำภารกิจลับทางทะเลมา เพื่อหาหลักฐานของสัตว์ทะเลลึกลับ ถึงแม้กาลที่ใช้จะกำหนดว่า เหตุการณ์หลักเกิดในอดีต แต่ในช่วงเวลาดังกล่าว เรายังใช้กาลอื่น ๆ ได้อีกมากมาย เช่น หากเพื่อนเล่าว่า เจ้าสัตว์ลึกลับเข้าจู่โจมเรือ ก็ต้องใช้ past simple การณ์ลักษณะพื้นฐานที่สุด ซึ่งไม่ได้บอกรายละเอียดชัดเจนนัก หรือตอนที่มันจู่โจม พวกเขากำลังนอนหลับอยู่ ถือเป็นเหตุการณ์ต่อเนื่องในช่วงเวลานั้น เพื่อนคุณอาจเล่าด้วยว่า เดินทางออกจากเกาะแนนทักเก็ตแล้ว เพื่อบอกเล่าเรื่องราว ที่จบไปแล้วก่อนหน้านั้น นี่คือตัวอย่างของ การณ์ลักษณะ past perfect หรือหากเล่าว่าต้องล่องเรือ เป็นเวลากว่า 3 สัปดาห์แล้ว ก็จะหมายถึงเหตุการณ์ ที่เกิดต่อเนื่องมาจนถึงช่วงเวลานั้น และหากตอนนี้ เพื่อนบอกคุณว่า วันนี้พวกเขายังตามหาสัตว์ลึกลับอยู่ นั่นก็คือการกระทำแบบ present simple เทนส์นั่นเอง หรือหากพวกเขากำลังเตรียมตัว สำหรับภารกิจต่อไป ณ ขณะที่พูด แถมยังสร้างเรือดำน้ำสำเร็จ เท่ากับว่ามีเรื่องหนึ่งจบลงแล้ว และหากพวกเขาศึกษาหลักฐาน การพบเห็นเจ้าสัตว์ลึกลับมาระยะหนึ่งแล้ว นั่นก็เป็นสิ่งที่ทำมาสักระยะ และกำลังทำอยู่จนถึงตอนนี้ เราต้องใช้เทนส์ present perfect progressive แล้วจะเกิดอะไรขึ้นในภารกิจต่อไป เรารู้อยู่ว่ามันยังไม่เกิดขึ้น เพราะจะออกเดินทางในสัปดาห์หน้า แบบนี้ถือเป็น future simple พวกเขาจะตามหา เจ้าสัตว์ลึกลับนี้สักระยะหนึ่ง เหตุการณ์ต่อเนื่องจึงยังเกิดต่อไป เพื่อน ๆ บอกคุณด้วยว่าอีก 1 เดือนข้างหน้า เรือดำน้ำจะไปถึงห้วงทะเลลึก เป็นการคาดเดาอย่างมั่นใจ ว่าจะทำตามเป้าหมายสำเร็จ ณ ช่วงเวลาหนึ่ง ๆ ในอนาคต ซึ่งเป็นช่วงที่เพื่อนคุณ จะใช้เวลาสำรวจราว ๆ 3 สัปดาห์ จึงใช้เทนส์ future perfect progressive นั่นเอง ประเด็นสำคัญ ของการใช้กาลต่าง ๆ อยู่ที่แต่ละประโยค จะเกิดขึ้นในช่วงเวลาจำเพาะ ไม่ว่าจะเป็น อดีต ปัจจุบัน หรืออนาคต ส่วนการณ์ลักษณะจะบอก เหตุการณ์เทียบจากช่วงเวลาหลัก ถึงลักษณะของการกระทำ รวม ๆ แล้วจึงเกิดเป็น 12 กาลในภาษาอังกฤษ แล้วภาษาอื่น ๆ ล่ะ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาสวาฮีลี และภาษารัสเซีย จะคล้ายกับภาษาอังกฤษ ส่วนภาษาอื่น ๆ จะบอก และแบ่งช่วงเวลาต่างออกไป บางภาษามีกาลน้อย อย่างภาษาญี่ปุ่น ที่จะแบ่งช่วงเวลาในอดีต ออกจากช่วงอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อดีต ภาษาบูลิและตูกังเบสี จะแบ่งแยกเฉพาะอนาคต และที่ไม่ใช่อนาคตเท่านั้น ภาษาจีนกลางไม่ผันกริยาตามกาล มีเฉพาะการณ์ลักษณะเท่านั้น ตรงกันข้าม ภาษายากวา กลับแบ่งกาลอดีตเป็นหลายระดับ แยกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่กี่ชั่วโมง หลายสัปดาห์ หรือหลายปี บางภาษา กาลจะใช้ร่วมกับคำแสดงอารมณ์ เพื่อแสดงความเร่งด่วน ความจำเป็น หรือความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ การแปลภาษาจึงเป็นเรื่องยาก แต่ก็ไม่ถึงกับแปลไม่ได้หรอกนะ คนที่พูดภาษาที่ไม่มีกาลชัดเจน ก็ยังเล่าเรื่องราวได้ ด้วยการใช้กริยาช่วย อย่างคำว่า would หรือ did หรือไม่ก็จะระบุช่วงเวลาไปเลย ความแตกต่างของภาษาต่าง ๆ เป็นเพียงวิธีการบอกเล่า เรื่องเดียวกันที่แตกต่างรึเปล่า หรือโครงสร้างที่ต่างกัน สะท้อนแนวคิดที่คนเรามีต่อโลกต่างกัน ไม่เว้นแม้กระทั่ง เวลา ถ้าเช่นนั้น ยังมีการรับรู้เวลา แบบอื่น ๆ อีกกี่วิธีกันนะ