WEBVTT 00:00:14.000 --> 00:00:17.000 คุณเคยสังเกตไหมว่าเวลาขี่จักรยาน ตอนเริ่มออกตัวจึงลำบากกว่า 00:00:17.000 --> 00:00:20.000 เทียบกับเมื่อตอนที่จักรยานแล่นฉิวแล้ว? 00:00:20.000 --> 00:00:23.000 หรือ เคยสงสัยไหมว่าอะไรทำให้จักรยานคุณเคลื่อนที่ได้? 00:00:23.000 --> 00:00:27.246 หรือ ทำไมมันถึงแล่นไปข้างหน้า แทนที่จะถอยหลังหรือแล่นไปด้านข้างแทน? 00:00:27.246 --> 00:00:30.259 ถ้าเกิดไม่รู้ ก็ไม่ใช่แค่คุณคนเดียวหรอก 00:00:30.259 --> 00:00:31.815 ไม่จนกระทั่ง ศตวรรษที่ 17 00:00:31.815 --> 00:00:34.692 เมื่อไอแซก นิวตัน (Isaac Newton)ได้อธิบาย ถึงกฏการเคลื่อนที่ของวัตถุ 00:00:34.692 --> 00:00:37.000 จนเราเข้าใจคำตอบของคำถามทั้ง 3 ข้อนั้น 00:00:37.000 --> 00:00:40.800 สิ่งที่นิวตันค้นพบก็คือ วัตถุต่างๆจะรักษาสภาวะ 00:00:40.800 --> 00:00:43.692 ของสิ่งที่มันกำลังทำอยู่ ถ้าเกิดจักรยานคุณหยุดอยู่กับที่ 00:00:43.692 --> 00:00:46.692 มันก็จะยังคงหยุดอยู่กับที่อย่างนั้น และเมื่อมันเคลื่อนที่ 00:00:46.692 --> 00:00:48.000 มันก็จะคงเคลื่อนที่ไปเรื่อยๆ 00:00:48.000 --> 00:00:50.000 วัตถุที่เคลื่อนที่มีจะรักษาสภาวะการเคลื่อนที่เอาไว้ 00:00:50.000 --> 00:00:53.815 วัตถุที่หยุดนิ่งก็จะรักษาสภาวะที่หยุดนิ่งต่อไป 00:00:53.815 --> 00:00:55.891 นี่คือกฎการเคลื่อนที่ของนิวตันข้อที่ 1 00:00:55.891 --> 00:00:59.523 นักฟิสิกส์เรียกมันเท่ๆว่า กฎของความเฉื่อย (Law of Inertia) 00:00:59.523 --> 00:01:03.984 โดยธรรมชาติแล้ว วัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ จะไม่เพิ่ม/ลดความเร็ว หรือเปลี่ยนทิศทางเอง 00:01:03.984 --> 00:01:09.000 โดยคุณต้องเอาชนะแรงเฉื่อยนี่เอง ในการทำให้จักรยานคุณแล่น 00:01:09.000 --> 00:01:12.000 ทีนี้คุณรู้แล้วนะว่าคุณต้องเอาชนะแรงเฉื่อย เพื่อทำให้จักรยานแล่นได้ 00:01:12.000 --> 00:01:14.000 แต่อะไรที่ทำให้คุณเอาชนะแรงเฉื่อยได้ล่ะ? 00:01:14.000 --> 00:01:18.076 คำตอบถูกอธิบายโดย กฎการเคลื่อนที่ของนิวตันข้อที่ 2 00:01:18.076 --> 00:01:20.538 ซิ่งกล่าวไว้ในรูปของสมการคณิตศาสตร์ว่า 00:01:20.538 --> 00:01:24.000 แรงเป็นผลมาจาก มวลคูณกับความเร่ง 00:01:24.000 --> 00:01:27.000 การทำให้วัตถุเกิดความเร่ง หรือเพิ่มความเร็ว 00:01:27.000 --> 00:01:29.000 คุณต้องออกแรง 00:01:29.000 --> 00:01:31.000 ยิ่งออกแรงมากเท่าไร 00:01:31.000 --> 00:01:34.000 ความเร่งก็มากขึ้นเท่านั้น และยิ่งมวลของรถจักรยานมีมากเท่าไร 00:01:34.000 --> 00:01:36.000 ซึ่งรวมถึงมวลตัวคุณด้วย 00:01:36.000 --> 00:01:39.830 ก็ยิ่งต้องออกแรงมากขึ้น ในการทำให้เกิดความเร่งที่อัตราเดียวกัน 00:01:39.830 --> 00:01:43.646 นี่จึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมจักรยานหนัก 10,000ปอนด์จึงถีบได้ยากนัก 00:01:43.646 --> 00:01:49.060 ซึ่งแรงจากขาคุณตอนที่ถีบบันไดจักรยานนี่แหละ 00:01:49.060 --> 00:01:52.092 ที่ทำให้คุณเอาชนะแรงเฉื่อยของนิวตันได้ 00:01:52.092 --> 00:01:54.969 เกียร์ยิ่งหนักมากเท่าไร แรงที่ออกก็ยิ่งมากเท่านั้น 00:01:54.969 --> 00:01:56.569 และก็ยิ่งออกตัวเร็วขึ้นเช่นกัน 00:01:56.569 --> 00:01:58.784 ทีนี้ก็มาดูคำถามสุดท้าย: 00:01:58.784 --> 00:02:00.661 เมื่อคุณถีบจักรยาน 00:02:00.661 --> 00:02:03.000 ทำไมมันถึงแล่นไปข้างหน้า? 00:02:03.000 --> 00:02:05.000 จากกฎการเคลื่อนที่ข้อ3ของนิวตัน สำหรับทุกแรงกิริยา (action) 00:02:05.000 --> 00:02:07.861 ก็จะเกิดแรงปฏิกิริยา(reaction)ที่มีขนาดเท่ากัน ในทิศตรงกันข้าม 00:02:07.861 --> 00:02:12.292 เพื่อให้เข้าใจ ลองนึกถึงเวลาคุณปล่อยลูกบอลตกลงมา 00:02:12.292 --> 00:02:13.953 ขณะที่บอลกระทบกับพื้น 00:02:13.953 --> 00:02:15.815 มันทำให้เกิดแรงกระทำต่อพื้น(ทิศลง) 00:02:15.815 --> 00:02:17.876 นี่คือแรงกิริยา 00:02:17.876 --> 00:02:21.000 ส่วนพื้นก็จะตอบสนองโดยการ ผลักบอลกลับด้วยแรงเท่ากัน 00:02:21.000 --> 00:02:24.000 แต่ในทิศตรงกันข้าม(ทิศขึ้น) 00:02:24.000 --> 00:02:27.000 ทำให้บอลกระเด้งกลับมาที่คุณ 00:02:27.000 --> 00:02:31.420 แรงทั้งสองรวมกันทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า คู่แรงกิริยา/แรงปฏิกิริยา 00:02:31.420 --> 00:02:34.420 เมื่อเอามามันใช้กับจักรยานคุณ มันจะยุ่งยากเล็กน้อย 00:02:34.440 --> 00:02:36.729 โดยขณะที่ล้อจักรยานหมุนตามเข็มนาฬิกา 00:02:36.729 --> 00:02:39.000 หน้ายางที่สัมผัสกับพื้น 00:02:39.000 --> 00:02:41.000 ก็จะออกแรงผลักพื้นโลกไปทางข้างหลัง 00:02:41.000 --> 00:02:45.000 หรือก็คือ แรงกิริยา ส่วนพื้นโลกจะออกแรงผลักไปข้างหน้า 00:02:45.000 --> 00:02:49.261 กระทำต่อล้อแต่ละอัน หรือก็คือ แรงปฏิกิริยา 00:02:49.261 --> 00:02:53.750 เพราะว่าจักรยานคุณมีสองล้อ ซึ่งแต่ละล้อก็จะเกิดคู่แรงกิริยา/ปฏิกิริยากับพื้นโลก 00:02:53.750 --> 00:02:56.553 และเนื่องจากโลกนั้นมีขนาดใหญ่มากๆ 00:02:56.553 --> 00:02:59.000 เมื่อเทียบกับจักรยาน โลกจึงแทบไม่ขยับ 00:02:59.000 --> 00:03:02.000 จากแรงที่ล้อจักรยานผลักมันไปด้านหลัง 00:03:02.000 --> 00:03:10.265 แต่เป็นคุณนั่นแหละ ที่เคลื่อนที่ไปข้างหน้า