ผู้คนมักคิดว่าคำว่า "doubt" สะกดประหลาด
เพราะตัว "b"
ไม่ออกเสียงเป็นตัวสะกด
คนส่วนใหญ่ไม่เข้าใจว่า
มันมาทำอะไรอยู่ตรงนั้น
แต่แทนที่จะสนใจเรื่องนั้น
สิ่งที่เราได้เรียนในโรงเรียน กลับบอกว่า
เสียง ไม่ใช่ สิ่งที่สำคัญที่สุด
ในการสะกดคำภาษาอังกฤษ
เพราะความหมาย และ ประวัติ ของคำนั้นๆ
เป็นเรื่องสำคัญกว่า
การสงสัย คือ การตั้งคำถาม
การโอนเอน
การลังเล
เมื่อเป็นคำนาม มันหมายถึงความลังเล หรือ ความสับสน
คำว่า "doubt" ในภาษาอังกฤษทุกวันนี้
เกิดมาจากคำภาษาละติน "dubitare"
มันเริ่มเดินทางจากภาษาละติน ไปฝรั่งเศษ
ที่ซึ่งมันเสียทั้งเสียง "buh" และ ตัวอักษร "b"
แล้วมันก็ย้ายเข้ามาในภาษาอังกฤษ
ในช่วงศตวรรษที่ 13
ประมาณ 100 ปีต่อมา
อาลักษณ์ที่รู้ภาษาละตินด้วย
ก็เริ่มใส่ตัว "b" กลับเข้าไปในตัวสะกดของคำนี้
ถึงแม้ว่าจะไม่มีใครออกเสียงมันอย่างนั้นก็ตาม
แต่ พวกเขาทำอย่างนั้นทำไม
ทำไม พวกเขา (ถ้ายังสติดีอยู่)
จึงใส่ตัวอักษรที่ไม่ออกเสียง เข้่าไปในตัวสะกด?
ก็เพราะ พวกเขารู้ภาษาละติน
และอาลักษณ์เหล่านั้นก็เข้าใจว่า
รากศัพท์ของคำว่า "doubt" นั้นมีตัวอักษร "b" อยู่ด้วย
เมื่อเวลาผ่านไป และคนที่รู้ภาษาละตินมีจำนวนน้อยลง
ตัวอักษร "b" ยังถูกเก็บไว้ เพราะมันแสดงถึง
ความเชื่อมโยงระหว่างคำนี้ กับคำอื่นๆ
เช่น "dubious" (สงสัย ในรูปวิเศษณ์)
และ "indubitalbly" (อย่างไม่ต้องสงสัย)
ซึ่งก็ถูกยืมเข้ามาในภาษาอังกฤษ
จากรากศัพท์ละติน คำว่า "dubitare" เช่นกัน
การเข้าใจที่มาไป ที่เชื่อมโยงกันเหล่านี้
ไม่เพียงช่วยให้เราสะกดคำว่า "doubt" ได้
แต่ยังช่วยให้เราเข้าใจความหมาย
ของคำที่ซับซ้อนเหล่านี้
แต่เรื่องก็ยังไม่จบแค่นั้น
ถ้าเราดูลงไปในรายละเอียด
เราจะสามารถมองเลยไป
นอกเหนือจากความสงสัยที่เรามี
ทำให้เรารู้ว่า แค่ตัว "b" ตัวนี้ บอกอะไรเราได้อีก
มีรากศัพท์เพียงสองคำเท่านั้นในภาษาอังกฤษ
ที่สะกดด้วยตัวอักษร "d-o-u-b"
คำแรกคือคำว่า doubt
ส่วนอีกคำคือคำว่า double
เราสร้างคำอื่นๆได้อีกมากมาย
จากรากศัพท์สองคำนี้
เช่น doubtful (เคลือบแคลง)
และ doubtless (สิ้นสงสัย)
หรือ doublet (สิ่งที่เป็นคู่)
และ redouble (เพิ่มเป็นทวีคูณ)
และ doubloon (เหรียญทอง)
กลายเป็นว่า เมื่อเรามองดูประวัติของมัน
เราจะเห็นว่ารากศัพท์ทั้งสองคำนั้น
มาจากรากศัพท์ละตินคำเดียวกัน
ที่มีความหมายว่า ซ้ำเป็นสอง
เลขสอง
สะท้อนความหมายอยู่ใน ความสงสัย
เพราะ เมื่อเราสงสัย
เมื่อเราลังเลใจ
เรามีความคิดครั้งที่สอง กับตัวเอง
เมื่อเราสงสัยเกี่ยวกับอะไรบางอย่าง
เมื่อเรามีคำถาม หรือ เกิดสับสน
เรากำลัง สองจิตสองใจ
ในเชิงประวัติศาสตร์ ก่อนที่จะมีภาษาอังกฤษ
ที่ยืมคำนี้มาจากภาษาฝรั่งเศษ
ภาษาเดิมนั้นมีคำที่มีความหมายว่า สงสัย อยู่แล้ว
คำภาษาอังกฤษโบรารณว่า "tweogan" แปลว่า สงสัย
ก็แสดงความเชื่อมโยงกับคำว่า "two"
ไว้อย่างชัดเจนในตัวสะกดของมันเช่นกัน
ดังนั้น ครั้งต่อไปเวลาที่คุณลังเลสงสัย
ว่าทำไมคำภาษาอังกฤษบางคำ ถึงสะกดอย่างนั้น
ลองดูมันซ้ำอีกครั้ง
สิ่งที่คุณพบ อาจทำให้คุณต้องมองซ้ำอีกครั้งก็เป็นได้