ในวิดีโอแล้ว ๆ มา เราเห็นแล้วว่าการดู
แค่ market capitalization นั่นทำให้สับสนได้
เมื่อคุณดูบริษัทที่มี leverage หน่อย
หรือบริษัทที่มีหนี้หน่อย
ตัวอย่างเช่น หากนั่นคือสินทรัพย์ของบริษัท และ
สมมุติว่าเขามีหนี้เท่านี้
และนี่คือ equity ของเขา
จากนั้นสมมุติว่าบริษัทมีเงินสดส่วนเกินด้วย
เงินสดที่ไม่จำเป็นในการดำเนินธุรกิจ
ขอผมเขียนมันตรงนี้
นี่คือเงินสดส่วนเกิน
เงินสดบางส่วนจำเป็น และบางครั้งผู้คนไม่
แบ่งแยกมัน
เขาแค่มองมันเป็นเงินสดก้อนเดียว
แต่เราอยากแยกมูลค่าของ enterprise
จากมูลค่าตามตลาดของ equity หรือ
มูลค่าของหนี้
งั้นขอผมเขียนทุกอย่างลงไป
ดังนั้นตรงนี้ นี่คือมูลค่าของธุรกิจ
enterprise value
นี่คือหนี้
มันมีหนี้ด้วย
และนี่คือ equity
นี่อาจจะดูไปในทาง
เทคนิคหน่อย
แต่คุณไม่ต้องกังวลหาก
มันทำให้สับสน
ตอนผมเขียน enterprise ตรงนี้ มันหมายถึงมูลค่า
ของตัวธุรกิจเอง
มันเหมือนกันสินทรัพย์ที่ใช้ดำเนินการลัพธ์ หักจาก
หนี้สินที่ใช้ดำเนินธุรกิจ
มันก็แค่ว่า -- หากคุณกลับไปดูตัวอย่างสองอัน
ที่แล้วและซื้อร้านพิซซ่า -- คุณต้องจ่ายเงิน
เพื่อซื้อร้านพิซซ่าเท่าไหร่
และนั่นคือสิ่งที่เราพยายามหาตรงนี้
ตอนที่เราพูดถึง enterprise value
และเราเห็นในหลายวิดีโอที่ผ่านมาว่าคุณ
คำนวณมันได้อย่างไร แต่มันไม่แย่ที่จะทบทวนกันหน่อย
นี่เป็นการคำนวณที่สวนทางกับสัญชาตญาณหน่อย
ตอนที่คุณเห็นมันครั้งแรก ๆ มันจึงไม่ผิด
ที่จะลองดูอีกครั้ง
งั้นสิ่งแรกที่ต้องหาคือว่า คุณจะหา
มูลค่าตามตลาดของ equity ได้อย่างไร
มูลค่าตามบัญชีของ equity นั้นง่ายมาก
คุณก็แค่ไปหาบัญชีงบดุลของบริษัท แล้ว
เขาจะมีตัวเลขอยู่
เขาจะบอกว่า นี่คือสิ่งที่นักบัญชีของเราบอก
ว่ามูลค่าตามบัญชีของ equity เราเป็นเท่านี้
แต่มูลค่าตามตลาด จะหาได้จากว่าตลาด
ยินดีจ่ายเพื่อหุ้นหนึ่งหุ้นในราคาเท่าไหร่
ดังนั้นมูลค่าตามตลาดของ equity หรือ market cap จึงเท่ากับ
ราคาต่อหุ้นคูณจำนวนหุ้นนั่นเอง
และนั่นคือมูลค่าตามตลาดของ equity
และคุณคงเห็น แค่จากแผนภาพนี้ ว่า
enterprise value บวก เงินสดที่ไม่ได้ใช้ดำเนินการ หรือ
เงินลงทุน หรือเงินลงทุนที่มีสภาพคล่อง หรืออะไรก็ตาม
ที่คุณอยากเรียก
enterprise value บวกเงินสด เท่ากับ หนี้ บวก
เรียกมันว่า market cap แล้วกัน
เพราะเราอยากรู้ เมื่อเราดูราคา เราอยาก
หาว่า ตลาดบอกว่า
enterprise value ของบริษัทเป็นเท่าไหร่
มูลค่าตามตลาดของ enterprise เป็นเท่าไหร่
ดังนั้นหนี้บวก -- แทนที่จะเป็น equity -- ผมจะเขียน market
capitalization แทนเพราะมันคือสิ่งเดียวกัน
Market capitalization คือมูลค่าตามตลาดของ equity
บวก market cap
งั้นเรารู้ market cap
เราสามารถหาหนี้ได้จากบัญชีงบดุลของบริษัท
เราสามารถหาเงินสด
ดังนั้นเราแค่หักเงินสดจากทั้งสองข้าง แล้วเราจะได้
enterprise value เท่ากับ market cap
บวก หนี้ ลบ เงินสด
เราก็แค่เอาเงินสดไปทางขวา
ของสมการนี้
ตัวอย่างเช่น หากผมมีหุ้นที่ซื้อขายกันที่
สมมุติว่าราคาเท่ากับ $10
และสมมุตติว่ามันมี 1 ล้านหุ้น
และสมมุติว่าบริษัทมีหนี้อยู่ 50 ล้าเหรียญ
และสมมติอีกว่ามันมีเงินสดส่วนเกินอีก 5 ล้านเหรียญ
ถามว่า enterprise value เป็นเท่าไหร่
อืม อย่างแรกคุณต้องหาว่า market cap เป็นเท่าไหร่ก่อน
market cap ของมันเท่ากับ $10 ต่อหุ้นคูณหนึ่งล้านหุ้น
นั่นคือ 10 ล้านหุ้น
นั่นคือ market cap
คุณบวกหนี้เข้าไป
ดังนั้นบวก $50 ล้าน
และอีกที ผมบอกไปในวิดีโอที่แล้วว่า มัน
ไม่ตรงตามสัญชาตญาณ ตอนคุณหามูลค่าของ enterprise
ด้วยการบวกหนี้เข้าไป
และหลักคือว่าหากมีคนอยากซื้อ
บริษัทจากผู้ถือหุ้นและปลดหนี้
เขาต้องจ่ายหนี้ทั้งหมดให้คนพวกนี้
และต้องจ่ายเงินทั้งหมด
สำหรับมูลค่าตามตลาดด้วย
เขาจึงต้องจ่ายทั้งหนี้บวก equity
และเขาจะให้เงินสดบางส่วนคืนมา
นั่นคือสิ่งเหลือ ๆ ที่เขาซื้อติดมา
จึงได้เงินคืนมาด้วย
ดังนั้นคุณต้องจ่ายให้ผู้ถือหุ้น คุณต้องจ่าย
ให้ผู้ถือหนี้ แล้วคุณถึงได้เงินสดบางส่วนคืน
เพราะฉะนั้น enterprise value จะเป็นเท่าไหร่ $60 ล้านลบ 5
ได้ $55 ล้าน
ใช้ได้
นี่คือการทบทวนวิดีโอเรื่อง enterprise value
แต่คำถามคือว่า ตอนนี้ที่คุณหา enterprise
value ได้ คุณจะหาว่ามันเป็น enterprise value
ที่ถูกต้องได้อย่างไร
เมื่อคุณดู market capitalization คุณเปรียบเทียบ
มันกับ earnings
คือ price to earnings ratio
และคุณคิดมันต่อหุ้น
นี่คือราคาต่อหุ้น หารด้วย earnings ต่อหุ้น
อัตราส่วนนี้เทียบเท่ากับ market cap หารด้วย
รายได้ลัพธ์ของบริษัท
หากคุณคูณเศษและส่วนด้วย
จำนวนหุ้น คุณจะได้ market cap และรายได้ลัพธ์
นั่นคือ EPS
P/E คือราคาจริงต่อหุ้น หารด้วย
earnings ต่อหุ่น
และนั่นคือวิธีดูวิธีหนึ่ง
คุณสามารถเปรียบเทียบบริษัทสองแห่งได้
และเราเห็นว่ามันใช้ไม่ได้หากบริษัทมี
โครงสร้างทุนต่างกัน
แล้วเราจะเปรียบเทียบ enterprise value กับอะไร
ตรงนี้เราใช้ market cap กับรายได้ลัพธ์
enterprise value ควรใช้เปรียบเทียบกับอะไร
ตอนนี้ผมได้ตั้งข้อสังเกตในวิดีโอที่แล้วว่า อืม หากเรา
ดู enterprise ที่สุดแล้วเราควรดู
earnings ที่ออกมาจาก enterprise ด้วย
เราควรดู earnings ที่ออกมาจาก
สินทรัพย์ตรงนี้
และในวิดีโอแรก ๆ เกี่ยวกับบัญชีรายได้ ผม
บอกว่า -- ลองเขียนบัญชีงบดุลดู--
คุณมีรายรับ
รายรับคุณอาจเป็น 100
คุณมีค่าใช้จ่ายของสินค้าที่ขายไป
ค่าใช้จ่ายของสินค้าที่ขายไป สมมุติว่าเท่ากับ ลบ 50
และผมจะใช้วิธีเขียนอีกอย่างหนึ่ง
มีคนเสนอคนหนึ่งบอกว่าผมควรใช้
การเขียนแบบนี้
ซึ่งเป็นวิธีที่ตกลงกันโดยทั่วไปที่สุดใน
บรรดานักบัญชีและนักวิเคราะห์การเงิน
แทนที่จะเขียนเป็นลบ เขาจะเขียนมัน
ในวงเล็บ
นั่นหมายถึงเป็นลบ
ลบ 50
จากนั้นกำไรรวม (gross profit) จะเท่ากับ 50
จากนั้น ที่จริงผมอยากทำอะไร
ที่น่าสนใจหน่อย
สมมุติว่าค่าใช้จ่ายของสินค้าที่ขายนี่ มันไม่เกี่ยว
กับค่าเสื่อมราคาหรือค่าแบ่งชำระหนี้ (amortization)
ลองดูวิดีโอเก่า ๆ หากคำเหล่านี้ทำให้คุณงง
และการเพิ่มราคาและการผ่อนชำระหนี้ทั้งหมด
เกิดขึ้นในระดับองค์กร
ต่อไปสมมุติว่ามี SG&A นิดหน่อย
แต่นี่ไม่มีค่าเสื่อมราคาหรือค่าผ่อนชำระหนี้
สมมุติว่านี่คือค่าใช้จ่ายมูลค่า 10
สมมุติว่ามีค่าเสื่อมราคาและ
ค่าผ่อนชำระหนี้เช่นกัน
D&A
ในวิดีโอที่แล้วมา ผมรวมมันด้วยกัน
และนั่นน่าจะเป็นเช่นนั้น
ในบัญชีรายได้ส่วนใหญ่เขาจะไม่แยก
ค่าเสื่อมราคากับค่าผ่อนชำระหนี้จากกัน
และคุณจะต้องดูบัญชีกระแสเงิน
เพื่อหาว่ามันคืออะไร
และผมจะทำมันในวิดีโอหน้า
แต่สมมุติว่าเราแยกมันออกมา
บางครั้งเขาก็ทำกัน
งั้นสมมุติว่ามีอีก 5
บางทีพวกนี้เป็นหน่วยพันเหรียญ
จากนั้นคุณจะเหลือกำไรดำเนินการ
ในกรณี จะเท่ากับ 50 ลบ 15 ได้เท่ากับ 35
แล้วคุณยังมีสิ่งต่าง ๆ ข้างล่างอีก
คุณมีดอกเบี้ย และผมจะทำมันแค่ -- คุณมี
รายได้แบบไม่ต้องดำเนินการ และดอกเบี้ย อะไรพวกนั้น
ขอผมทำมันออกมา
ดอกเบี้ย สมมุติว่ามันเท่ากับ 5,000 เช่นกัน หาก
นั่นคือสิ่งที่เราสน
จากนั้นคุณจะได้ค่า ก่อนภาษี
ผมไม่ได้ใส่รายได้แบบไม่ต้องดำเนินการ
สมมุติว่าเงินสดนี่ไม่ได้สร้างอะไรขึ้นมา
ดังนั้นรายได้ก่อนภาษีจะเท่ากับ 30,000 หากนั่นคือ
สิ่งที่เราทำอยู่
มันดูเลอะหน่อย
จากนั้นคุณก็มีภาษี
สมมุติว่ามันเท่ากับ 1/3
นั่นคือภาษีมูลค่า 10,000
จากนั้นคุณจะได้ earnings
30 ลบ 10 ได้ 20,000
อย่างที่ผมบอก ส่วนไหนของบัญชีรายได้
ที่ขึ้นอยู่กับส่วนนี้ตรงนี้เท่านั้น?
มีของนี่ที่เกี่ยวกับดอกเบี้ย นั่น
ขึ้นอยู่กับหนี้
และในที่สุดแล้ว ภาษีก็ยังขึ้นกับหนี้ด้วย
เพราะยิ่งคุณมีดอกเบี้ยเท่าไหร่ คุณ
ยิ่งลดหย่อนภาษีได้
และทั้งหมดข้างล่างนี้ขึ้นอยู่กับ
โครงสร้างทุนของคุณ
ดังนั้นหากคุณอยากดูว่า enterprise value ได้
สร้างอะไรขึ้นมา มันก็สร้างกำไรดำเนินการ
ดังนั้นผมจึงเสนอว่า อัตราส่วนที่ดี ถึงแม้มัน
จะไม่ตามสูตรเดิมเท่าไหร่
มันไม่ได้ไม่ตามแนวเดิมนัก แต่คุณอาจ
ไม่ค่อยได้ยินใครพูดเท่าไหร่
ผมบอกว่า คุณสามารใช้ EV เทียบกับกำไรดำเนินการ
เป็นตัววัดได้
ในหลายกรณีมันคือส่วนกลับของผลตอบแทน
จากสินทรัพย์ หากที่ผมนิยามในวิดีโอแรก
มันมีนิยามผลตอบแทนจากสินทรัพย์หลายแบบ
แต่ที่สุดแล้ว มันบอกว่า สำหรับทุกดอลลาร์ของ
กำไรดำเนินการ คุณต้องจ่ายเท่าไหร่ให้ enterprise
ซึ่งผมว่ามันเป็นตัววัดที่ดีทีเดียว
ตอนนี้ตัววัดตามแบบทั่วไปที่คุณเห็น
ตอนคนพูดถึง enterprise values นั้น
คือ enterprise value หาร EBITDA
และหากคุณได้งานเป็นนักวิเคราะห์ในบริษัท
นี่จะเป็นสิ่งที่คุณจะถูกคาด
หวังให้คำนวณให้บริษัท
และหวังว่าจะพูดถึงมันอย่างฉลาด
ดังนั้นคำถามแรก ก่อนที่พูดถึงมันอย่างฉลาด
คือว่า EBITDA คืออะไร
EBITDA คือ Earnings ก่อนดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา
และค่าผ่อนชำระหนี้
ลองดูว่ามันเป็นเท่าไหร่ตรงนี้
มันคือรายได้ก่อนดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อมราคา
และค่าผ่อนชำระหนี้
มันคือก่อนอะไรพวกนี้
ที่จริง ลองเปรียบเทียบมันกับ
สิ่งที่เราเคยทำมาก่อน
งั้นคุณมี EBITDA
แล้วก็มี EBIT
EBIT คือ Earnings ก่อนดอกเบี้ยและภาษี
งั้น EBIT ก็คือ earnings
คุณบวกภาษีและดอกเบี้ยกลับไป คุณจ
ได้กำไรดำเนินการ
และผมได้พูดถึงมันมาก่อนแล้ว แต่สิ่งที่แยก
กำไรดำเนินการกับ EBIT จากกันคือว่า EBIT
อาจรวมรายได้แบบไม่ต้องดำเนินการ ซึ่ง
ผมไม่ได้ใส่ในนี้
แต่หากเงินสดนี่สร้างกำไรที่
ไม่เกี่ยวกับการดำเนินกิจการ มัน
ก็นับอยู่ใน EBIT
แต่มันไม่ใช่กำไรดำเนินการ
แต่มันก็ใกล้เครียงหากเราพูดถึง
ตัวอย่างเช่น ธุรกิจที่ไม่ใช่ด้านการเงิน
ดังนั้นนี่คือ EBIT
และหากคุณอยากได้ EBITDA คุณก็แค่บวก
ค่าเสื่อมราคาและค่าผ่อนชำระหนี้กลับเข้าไป
ดังนั้น EBITDA จะเป็นตรงนี้
ดังนั้น EBIT เท่ากับ 35,000
หากคุณบวกมันกลับไป มันจะเท่ากับ 40,000
ดังนั้น EBITDA ในกรณีนี้เท่ากับ 40
และหากหน่วยผมคือ หลักพัน มันจะเท่ากับ 40,000
คำถามคือว่า ทำไมคนถึงสนใจ EBITDA
ทำไมถึงใช้ EBITDA แทนที่จะเป็นกำไรดำเนินการ
และตรรกะคือว่าค่าเสื่อมราคาและค่าผ่อนชำระหนี้
และเราพูดถึงมันในวิดีโอเรื่องค่าเสื่อมราคาและ
ค่าผ่อนชำระหนี้แล้วว่า มันเป็นค่าใช้จ่ายที่กระจายตัว
ซึ่งอันที่จริงไม่ใช่เงินสดที่ออกจากประตูในช่วงเวลานั้น
เราเห็นว่ามันคือค่าเสื่อมราคาและค่าผ่อนชำระหนี้
บางที อาจเป็น ผมซื้อของ $100 หรือ $100,000
เมื่อ 10 ปีที่แล้ว
และทุกปีผมคิดค่าเสื่อมราคา 1/20 ของราคาเต็ม
แต่เงินสดออกจากกระเป๋าไปเมื่อ 20 ปีที่แล้ว
ดังนั้นค่าเสื่อมราคาและค่าผ่อนชำระหนี้ในช่วงเวลานี้
จึงไม่จำเป็นต้องเป็นเงินที่ออกจากประตูตอนนี้
ที่จริง มันไม่ใช่เงินที่ออกจากประตู
เราจะพูดถึงในวิดีโอหน้าว่าคุณจะหาว่า
อะไรที่เงินสดที่ออกไปในช่วงเวลาหนึ่ง
ดังนั้นมันจึงถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่ใช่เงินสด
งั้นตอนที่คุณหา EBITDA ตอนคุณบวกภาษีกลับมา
คุณบวกดอกเบี้ยกลับมา และบวกค่าเสื่อมราคากับ
ค่าผ่อนชำระหนี้กลับมา
สิ่งที่เหลือที่สุดแล้ว คือเงินสดแท้ ๆ
ที่ enterprise สร้างออกมา
คนส่วนใหญ่สนใจมันเพราะนี่คือ
ตัวบ่งชี้ ศักยภาพของบริษัท
ในการทำสิ่งต่าง ๆ
เพื่อทำสิ่งต่าง ๆ เช่นการจ่ายดอกเบี้ย จ่ายภาษี หรือ
ลงทุนในธุรกิจด้วยตนเอง
หรืออีกวิธีคิดนึงคือว่า หากคุณดู EV ต่อ EBITDA
คุณกำลังบอกว่าทุกดอลลาร์ของเงินสดแท้ที่
บริษัทสร้างขึ้นมาได้
สมมุติว่าผมไม่ได้ลงทุนซ้ำในธุรกิจ
หรือซื้อเครื่องมือใหม่
หากมันเป็นแค่เงินดิบ ๆ ผมจะต้องจ่าย
เท่าไหร่ให้ enterprise
และกฏง่าย ๆ ทั่วไป เราจะทำอีกที
ในอนาคต
ผมว่าผมได้ใช้เวลาตามปกติหมดแล้ว
สำหรับธุรกิจที่นิ่งมาก ง่าย ๆ ไม่โตไม่หด
ห้าเท่าของ EBITDA ถือเป็นค่าที่ดี
แต่่สิ่งที่สำคัญคือว่า บริษัทอื่นในอุตสาหกรรมนั้น
ซื้อขายกันที่เท่าไหร่
และอัตราส่วนพวกนี้จะดีกว่าหาก
ใช้เป็นตัววัดมูลค่าเชิงเปรียบเทียบ
ในอนาคต ผมจะแสดงให้ดูว่าจะทำอย่างไรกับ
discounted cash flow หรือการวิเคราะห์ discounted free cash flow
หรือ dividend discount model หรืออะไรพวกนั้น คุณจะได้
หาว่ามูลค่าสัมบูรณ์เป็นเท่าไหร่
แต่ตอนคุณดูที่ตลาดสาธารณะ ตอน
คุณเลือกซื้ออะไรบางอย่าง โดยนัยแล้วคุณกำลัง
เลือกไม่ซื้ออย่างอื่นไปในตัว
เมื่อคุณเลือกขายอะไรสักอย่าง คุณก็กำลัง
เลือกไม่ขายอย่างอื่นเช่นกัน
ดังนั้นมูลค่าเปรียบเทียบจะเริ่มสำคัญมากขึ้น
เอาล่ะ หวังว่าคุณจะเห็นว่ามีประโยชน์นะ