นี่คือตำนานของสองเมืองในอดีต และต้นไม้ ที่กำหนดชะตาของ ทั้งสองเมืองนั้น 3000 ปีก่อนคริสตกาล เมืองอูรุค มีประชากรหนาแน่นกว่านิวยอร์คในปัจจุบัน เมืองหลวงที่หนาแน่นนี้จำเป็นต้องขยาย ระบบชลประทานอย่างต่อเนื่อง เพื่อเลี้ยงประชากรที่เพิ่มขึ้น 2,500 ปีต่อมา ในศรีลังกา เมืองอนุราธปุระ ประสบกับปัญหาเดียวกัน พวกเขาเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว และเหมือนอูรุค เมืองของพวกเขาต้องพึ่งพา อย่างมากกับระบบชลประทานที่ซับซ้อน ขณะที่อูรุคเติบโตขึ้น ชาวนาก็เริ่มตัดต้นไม้เพื่อ สร้างที่ว่างสำหรับการเพาะปลูก อย่างไรก็ตาม ในอนุราธปุระ ต้นไม้เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เมืองของพวกเขามีกิ่งก้านของต้นโพธิ์ ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ภายใต้ต้นโพธ์นั้น ความเคารพในศาสนาทำให้ขวานของชาวนาช้าลง และนำไปสู่การที่เมืองปลูกต้นไม้เพิ่มเติมใน สวนในเมือง ในตอนแรก การขยายตัวของอูรุคเป็นไปอย่างดี แต่เมื่อไม่มีต้นไม้ในการกรองทรัพยากรน้ำ ระบบชลประทานของอูรุคก็มีสิ่งเจือปน น้ำที่เหลือใช้จากแหล่งแร่ ที่ทำให้ดินเค็มเกินไปสำหรับการเพาะปลูก ในทางกลับกัน ระบบชลประทานของอนุราธปุระ ถูกออกแบบมาเพื่อเพื่อทำงาน ร่วมกับป่าไม้โดยรอบ ในสุดท้าย เมืองของพวกเขาเติบโตขึ้นมากกว่า สองเท่าของประชากรเมืองอูรุค และวันนี้ อนุราธปุระยังคงดูแล ต้นไม้ที่ปลูกไว้เมื่อ 2,000 ปีก่อน พวกเราอาจคิดว่าธรรมชาติ เป็นสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกับพื้นที่เมือง แต่ต้นไม้เป็นส่วนสำคัญ ของความสำเร็จของเมืองมาโดยตลอด ต้นไม้ทำตัวเมือนฟองน้ำโดยธรรมชาติ ที่ดูดซับน้ำฝนจากพายุ ก่อนปล่อยมันกลับไปสู่บรรยากาศ โครงข่ายของรากของพวกมันปกป้องโคลนถล่ม ในขนะที่ทำให้ดินอุ้มน้ำและกรองสารพิษ รากช่วยป้องกันน้ำท่วม ในขณะที่ลดความจำเป็นของการระบายน้ำ ในเวลาน้ำท่วมและโรงบำบัดน้ำเสีย ใบที่มีรูพรุนของมันทำให้อากาศบริสุทธิ์โดย ดักจับคาร์บอนและมลพิษอื่นๆ ทำให้พวกมันเป็นส่วนสำคัญในการต่อสู้กับ การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ มนุษย์ได้ทราบถึงประโยชน์ของต้นไม้ มาเป็นเวลาหลายศตวรรษแล้ว แต่ต้นไม้ไม่เพียงแต่สำคัญต่อสุขภาพ ของโครงสร้างพื้นฐานของเมือง พวกมันมีบทบาทสำคัญ ต่อสุขภาพของประชาชนเช่นกัน ในปี 1870 เมืองแมนฮัตตันมีต้นไม้เล็กน้อย ด้านนอกสวนสาธารณะของเกาะ เมื่อไม่มีต้นไม้ให้ร่มเงา สิ่งปลูกสร้างก็ได้ดูดซับรังสี ของดวงอาทิตย์ถึงเก้าเท่า ในระหว่างที่มีคลื่นความร้อนในช่วงหน้าร้อน ร่วมกับระบบสาธารณสุขที่ด้อยมาตรฐาน ความร้อนทำให้เมืองเป็นแหล่งเพาะแบคทีเรีย เช่น เชื้ออหิวาตกโรค ฮ่องกงในปัจจุบัน ตึกระฟ้าและโครงสร้าง พื้นฐานใต้ดิน ทำให้เป็นการยากที่ต้นไม้จะเติบโต สิ่งนี้ทำให้เมืองมีคุณภาพอากาศต่ำ อย่างเป็นอันตราย ซึ่งสามารถทำให้เกิดโรคหลอดลมอักเสบและ ลดประสิทธิภาพการทำงานของปอด ต้นไม้ส่งผลกระทบต่อสภาวะจิตใจของเราเช่นกัน การศึกษาระบุว่า การมีสีเขียวของต้นไม้ เพิ่มระยะเวลาการมีสมาธิ และลดระดับความเครียด มีการแสดงว่า ผู้ป่วยของโรงพยาบาล ที่เห็นกำแพงอิฐ จะฟื้นตัวช้ากว่าผู้ป่วยที่มองเห็นต้นไม้ โชคดี หลายเมืองได้เล็งเห็นเรื่องนี้ และไม่มีอุบัติเหตุเกิดขึ้น ในช่วงต้นศตวรรษที่ 18 นักวางผังเมืองเริ่มที่จะยอมรับ ความสำคัญของต้นไม้ในเมือง ในปี 1733 ผู้พันเจมส์ โอเกลโธรป วางผังเมืองซาวันนาห์ รัฐจอร์เจีย เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีบ้านไหนต้องใช้เวลาเดิน ไปที่สวนสาธารณะเกินกว่า 2 นาที หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 เมืองโคเปนเฮเกนส์ กำหนดการพัฒนาใหม่ตามแนว 5 แขนง ในแต่ละส่วนจะถูกขนาบด้วยสวนสาธารณะ การออกแบบนี้เพิ่มความยืดหยุ่นของเมืองในการรับมือ กับมลภาวะและภัยธรรมชาติ และต้นไม้ของเมืองไม่เพียง มีประโยชน์ต่อประชาชน สวนป่าของพอร์ตแลนด์สงวนรักษา ความหลากหลายทางชีวภาพตามธรรมชาติในพื้นที่ ทำให้เมืองเป็นบ้าน ของพืชท้องถิ่นหลายสายพันธุ์ นก 112 สายพันธุ์ และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 62 สายพันธุ์ ไม่มีเมืองใดมีความรับผิดชอบต่อต้นไม้ มากกว่าสิงคโปร์ ตั้งแต่ปี 1967 รัฐบาลสิงคโปร์ได้ปลูกต้นไม้ มากกว่า 1.2 ล้านต้น รวมถึงต้นไม้ในสวนแนวดิ่งที่สูง 50 เมตร ที่เรียกว่าสุดยอดต้นไม้ โครงสร้างนี้สนับสนุนตัวเอง และเรือนกระจกข้างเคียง ด้วยพลังงานแสงอาทิตย์และการกักเก็บน้ำฝน ในปัจจุบัน ต้นไม้และผัก ครอบคลุมพื้นที่ 50% ของประเทศสิงคโปร์ ซึ่งช่วยลดความจำเป็น ของการใช้เครื่องปรับอากาศ และช่วยสนับสนุนการขนส่งที่มีมลพิษต่ำ ภายในปี 2050 มีการคาดการณ์ว่า มากกว่า 65% ของประชากรโลกจะอยู่อาศัยในเมือง นักวางผังเมืองสามารถสร้างรากฐาน ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แต่มันก็ขึ้นอยู่กับประชาชน ที่อาศัยอยู่ในป่าของเมือง ที่จะทำให้มันเป็นบ้าน ของสิ่งที่ไม่ใช่มนุษย์ด้วย