สวัสดี มนุษย์โลก ผมชื่อ แมท และในอีกไม่กี่อึดใจ คุณจะต้องฟังที่ผมพูด ว่ะ ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า ขอโทษครับ ผมล้อเล่นนะ นี่เป็นเสียงปกติของผมครับ คุณเคยปฎิบัติตามคำแนะนำ จากเสียงปริศนาจากคอมพิวเตอร์มาก่อนไหมครับ ไม่เคยหรือ ดีเลยครับ ผมอยากจะทดลองอะไรกับคุณ แต่ผมบอกรายละเอียดของการทดลองไม่ได้ เพราะว่าถ้าบอกไปแล้ว มันจะไม่ได้ผล คุณต้องเชื่อใจผมนะ แล้วมันจะกระจ่างเอง หวังว่านะ ถ้าคุณกำลังนั่งอยู่ ยืนขึ้นจากเก้าอี้ และถอยหลังไปครับ เดี๋ยวผมจะให้คุณหมุนไปมา ดังนั้น หาที่ว่างให้ตัวเองนะครับ ต้องย้ายเครื่องเรือนหรือครับ เอาเลยครับ ผมจะรอ พอผมนับถึงสาม คุณเริ่มกระโดดขาเดียวนะครับ พร้อมหรือยังครับ หนึ่ง สอง สาม โดด โดด โดด โดด โดด เยี่ยมครับ ทีนี้ ระหว่างที่คุณกระโดดอยู่ ผมอยากจะให้คุณเห่าเหมือนสุนัขไปด้วย โฮ่ง โฮ่ง โฮ่ง โฮ่ง โฮ่ง โฮ่ง ว้าว เหมือนใช้ได้เลย อีกหน่อยครับ โฮ่ง โฮ่ง โฮ่ง และสาม สอง หนึ่ง หยุด เชิญทำตัวตามสบายและนั่งลงได้ครับ ทีนี้ ผมอยากให้คุณคิดว่าเวลาผ่านไปเท่าไร ระหว่างที่ผมบอกว่า เริ่ม และคุณเริ่มที่จะกระโดดขาเดียว จนถึงตอนที่ผมบอกว่า หยุด ลองเดาดูครับ ผมอยากได้คำตอบเป็นชัดๆเป็นตัวเลขวินาทีหรือนาที เอาล่ะครับ เอากระดาษปากกามา เขียนเลขลงไป เสร็จหรือยังครับ เวลาที่ถูกต้องคือ 26 วินาที คุณคาดไว้เกินความจริงหรือเปล่าครับ เป็นไปได้ครับว่าจะเป็นเช่นนั้น แล้ว อะไรเป็นสาเหตุของปัญหานี้ล่ะ นี่เป็นเพราะว่า การรับรู้ระยะของเวลา (time perception) ถึงแม้ว่าเราจะสามารถคาดคะเนเวลา ได้อย่างแม่นยำอย่างน่าตกใจ เมื่อเราเจออะไรใหม่ๆ ไม่ปกติ หรือ มีการเคลื่อนไหว เช่นกระโดดขาเดียว ระหว่างที่ทำตามคำแนะนำจากเสียงคอมพิวเตอร์ หรือว่า กระโดดออกจากเครื่องบิน คุณมักจะคำนวณพลาดว่าเวลาผ่านไปเท่าไรแล้ว ซึ่งหมายความว่า ถ้าคุณกระโดดบันจี้เป็นครั้งแรก การการดิ่งสู่เบื้องล่างอาจเหมือนใช้เวลาราวสัก 10 วินาที ทั้งที่เวลาที่บันทึกไว้จริงๆนั้นแสดงให้เห็น ว่าการกระโดดนั้น ใช้เวลาแค่ 5 วินาที สาเหตุสำหรับความแตกต่างนี้ คือ ไม่เหมือนกับร่างกายของคุณที่ตกลงไปยังด้านล่าง การรับรู้เรื่องระยะเวลาของสมองของคุณนั้น ไม่ได้เป็นเส้นตรงลากระหว่างจุดสองจุด นักวิทยาศาสตร์บางคนเชื่อว่า สมองของคุณติดตามรับรู้การเปลี่ยนแปลงเวลาเป็นเส้นโค้ง ซึ่งมันขึ้นอยู่กับปริมาณของข้อมูล ที่คุณรับรู้ระหว่างตกลงไปด้านล่าง ตัวอย่างเช่น เดวิด อีเกอร์แมน (David Eagleman) นักประสาทวิทยา จาก Baylor College of Medicine เชื่อว่า การรับรู้ระยะของเวลานั้นได้รับอิทธิพลมาก จากจำนวนความทรงจำและข้อมูล ที่คุณจะจำเอาไว้ในสมอง เมื่อคุณมีประสบการณ์ใหม่ เช่นกระโดดน้ำจากที่สูงเป็นครั้งแรก ประสาทสัมผัสของคุณถูกขยาย คุณจดจำรายละเอียด เกี่ยวกับสิ่งที่เห็น เสียง กลิ่น มากกว่าที่คุณทำตอนปกติ และคุณจดจำข้อมูลเหล่านั้นไว้ในสมอง ในรูปแบบของความทรงจำ ดังนั้น ยิ่งคุณมีข้อมูลในสมองมากเท่าไร เช่นกลิ่นของคลอรีนเมื่อคุณกระโดดลงมา หรือสีของน้ำ คุณยิ่งจะรู้สึกว่าประสบการณ์ยาวนานมากเท่านั้น ซึ่งก็หมายความว่า จำนวนของความทรงจำ และข้อมูลที่คุณบันทึกในสมอง มีอิทธิพลโดยตรงต่อระยะเวลา ที่คุณเชื่อว่าประสบการณ์นั้นดำเนินไป คุณเคยได้ยินไหม ที่คนบรรยาย ว่าอุบัติเหตุในรถยนต์เป็นเช่นไร ถึงแม้ว่าอุบัติเหตุจากยานยนต์ ปกติจะกินเวลาแค่ไม่กี่วินาที คนที่อยู่ในเหตุการณ์มักบอกว่า พวกเขารู้สึกมันกินเวลานานกว่านั้น การรับรู้ถึงระยะของเวลายังเป็นเหตุที่ว่า ทำไมวัยเด็กของคุณเหมือนจะนานแสนนาน เมื่อเป็นผู้ใหญ่ แค่อึดใจเดียวก็ผ่านไปปีหนึ่งแล้ว แต่เด็กๆบันทึกข้อมูลเข้าไปในสมองมากกว่า สิ่งนี้เกิดขึ้นเพราะว่า ประสบการณ์ส่วนใหญ่ ที่เราเจอเมื่อเรายังเป็นเด็ก เป็นประสบการณ์ใหม่และไม่คุ้นเคยสำหรับเรา กองบันทึกความทรงจำในหัวสมองของคุณนั้น มันแน่นมาก ซึ่งการอ่านย้อนกลับไปทำให้คุณเชื่อว่า ประสบการณ์ของคุณต้องกินเวลานานมาก นอกจากนั้น เมื่อคุณอายุ 5 ขวบ หนึ่งปีเป็น 1 ใน 5 ของชีวิตคุณ แต่เมื่อคุณอายุ 25 ปี หนึ่งปีเป็นแค่ 1 ใน 25 เปลี่ยนแปลงการรับรู้ถึงระยะของเวลาของคุณมากไปอีก และ ถ้าคุณเป็นผู้ใหญ่ ลองคิดถึงการเดินทางที่คุณเคยไป ที่ไหนสักแห่งไกลๆเป็นครั้งแรก สองสัปดาห์นั้นที่คุณใช้ไปกับการสำรวจสิ่งรอบๆ มันเหมือนจะยาวนานกว่า 14 วันหรือเปล่า แม้ว่า การรับรู้ถึงระยะของเวลา จะหยั่งราก อยู่ในทั้งหลักวิทยาศาสตร์และทฤษฎี มันได้มอบบทเรียนที่มีค่ากับเรา ว่าเราควรใช้ชีวิตเราอย่างไร ผมมั่นใจว่าคุณคงเคยได้ยิน ว่า คนเราไม่ควรเอาแต่นั่งจับเจ่า และปล่อยเวลาผ่านไป เอาล่ะครับ การรับรู้ถึงระยะของเวลาบอกเราว่าทำไม ถ้าคุณตื่นขึ้นมา และก้าวเข้าหาโลก และสัมผัสประสบการณ์ใหม่ และบางที แม้กระทั่งกระโดดขาเดียวไปรอบๆ และเห่าเหมือนสุนัข คุณจะรับรู้สัมผัสถึงชีวิตของคุณเอง ได้ยาวนานกว่าจริงๆ