< Return to Video

นาทีทองในสังสารวัฏ :: หลวงปู่ปราโมทย์ ปาโมชฺโช 8 มิ.ย. 2568

  • 0:03 - 0:11
    ดูพวกเราที่ตั้งใจภาวนา
    ดูเข้มแข็งขึ้น ค่อยยังชั่ว
  • 0:11 - 0:15
    ภาวนาแล้วป้อแป้ๆ ไม่ได้เรื่อง
  • 0:15 - 0:21
    อันนั้นภาวนาเอาแค่สบายใจว่าได้ภาวนา
  • 0:21 - 0:25
    มันสู้กิเลสไม่ไหว
  • 0:25 - 0:28
    สำนวนครูบาอาจารย์บอก
  • 0:28 - 0:32
    ภาวนาแบบกิเลสหนังไม่ถลอกเลย
  • 0:32 - 0:39
    อย่าว่าแต่จะไปถลกหนังมัน
  • 0:39 - 0:43
    ท่านบอกว่าการปฏิบัติ
  • 0:43 - 0:48
    ไม่ให้หย่อนไป ไม่ให้ตึงไป
  • 0:48 - 0:54
    แค่ไหนพอดี ท่านบอกให้ลำบากนิดๆ
  • 0:54 - 1:02
    ไม่ถึงขนาดว่าทุกข์ทรมาน จะเป็นจะตาย
  • 1:02 - 1:04
    เครียดเกินไป
  • 1:04 - 1:08
    แต่ว่าให้ลำบากนิดหน่อย
  • 1:08 - 1:13
    อย่างเราเคยเดินจงกรมได้
    วันละชั่วโมงอะไรอย่างนี้
  • 1:13 - 1:17
    เราเขยิบไปเป็น 2 ชั่วโมง
  • 1:17 - 1:20
    พอทำไปช่วงหนึ่งจิตมันมีกำลัง
  • 1:20 - 1:26
    มันทำแล้วมีความสุข
    ก็เพิ่มเป็น 3 ชั่วโมง 4 ชั่วโมงได้
  • 1:26 - 1:34
    อายุเยอะเดินไม่ไหวก็เดินสลับกับนั่ง สู้เอา
  • 1:34 - 1:36
    คนที่เขาได้ดี
  • 1:36 - 1:40
    ไม่เคยนั่งๆ นอนๆ แล้วก็ได้ดี
  • 1:40 - 1:47
    ได้ดีขึ้นมาก็เพราะต่อสู้ทั้งนั้น
  • 1:47 - 1:54
    ต้องใจแข็ง อย่ายอมแพ้
  • 1:54 - 1:57
    หลวงพ่อภาวนา ไม่ยอม
  • 1:57 - 1:59
    ไม่เคยยอมเลยเพราะว่า
  • 1:59 - 2:03
    เราภาวนาแล้วเราเห็นจิตเรา
  • 2:03 - 2:08
    มันติดข้องมันถูกขังอยู่
  • 2:08 - 2:12
    คล้ายๆ มันมีเปลือกหุ้มอยู่
  • 2:12 - 2:17
    ดูแล้ว เอ๊ะ นี่มันสภาพเดียวกับคนติดคุก
  • 2:17 - 2:22
    เราเกิดมาในคุก คุกอันนี้คือวัฏฏะ
  • 2:22 - 2:25
    อาสวกิเลสทั้งหลายห่อหุ้มเราอยู่
  • 2:25 - 2:28
    เราเกิดมาในคุก
  • 2:28 - 2:33
    ดำรงชีวิตอยู่ในคุกแล้วเรา
    จะยอมตายไปในคุกอันนี้หรือ
  • 2:33 - 2:38
    พอเห็นจิตมันไม่มีอิสระ มันทนไม่ได้
  • 2:38 - 2:40
    เป็นอย่างไรก็จะทนไม่ได้
  • 2:40 - 2:43
    ตั้งเป้าหมายไว้ว่า
  • 2:43 - 2:47
    อย่างไรชาตินี้ต้องสู้เต็มที่
  • 2:47 - 2:53
    ถ้าแหกคุกนี้ได้ก็ดี ได้เลยก็ดี
  • 2:53 - 2:57
    ทำไม่ได้ก็ต้องสะสมกำลัง
    ไปแหกคุกในชาติต่อไปอีก
  • 2:57 - 3:02
    ไม่ใช่ยอมแพ้ไปตลอด
  • 3:02 - 3:09
    ถ้าเรายอมแพ้
    มันไม่มีวันที่จะเอาตัวรอดได้เลย
  • 3:09 - 3:14
    ต้องเข้มแข็ง อดทน อย่ากลัวลำบาก
  • 3:14 - 3:24
    ลำบากตอนนี้ดีกว่าลำบากไม่รู้จักจบ
  • 3:24 - 3:28
    หลวงพ่อถึงบอกพวกเรามาแต่ไหนแต่ไรว่า
  • 3:28 - 3:32
    เรียนกรรมฐานกับหลวงพ่อ อย่าขี้อ้อน
  • 3:32 - 3:36
    ไม่ต้องมาอ้อน ไม่ชอบ ไม่นิยม
  • 3:36 - 3:40
    เพราะหลวงพ่อไม่เคยอ้อนครูบาอาจารย์
  • 3:40 - 3:45
    เราต้องสู้เอา
  • 3:45 - 3:50
    บางครั้งก็แพ้ ล้มลุกคลุกคลาน
  • 3:50 - 3:52
    แต่ล้มแล้วต้องลุก
  • 3:52 - 3:55
    ลงไปคลุกฝุ่น ลุกไม่ขึ้นก็คลานไป
  • 3:55 - 4:01
    ต้องแบบนั้น
  • 4:01 - 4:04
    สู้กิเลสไม่ใช่ของง่าย
  • 4:04 - 4:08
    ถ้าสู้ง่ายมันไม่ครองโลก
  • 4:08 - 4:14
    เห็นไหมคนในโลกมันมีความทุกข์มากมาย
  • 4:14 - 4:21
    มันไม่รู้จักอิ่ม มันไม่รู้จักเต็ม
    มันถูกกิเลสลากไปเรื่อยๆ
  • 4:21 - 4:26
    มีเงินแค่นี้ก็อยากมีให้เยอะๆ
  • 4:26 - 4:29
    พอมีเงินแล้วก็อยากมีอำนาจ
  • 4:29 - 4:33
    จะได้รักษาผลประโยชน์เอาไว้
  • 4:33 - 4:40
    ก็ต้องเล่นการเมืองต้องอะไร
  • 4:40 - 4:45
    ทำทุกอย่างทำเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว
  • 4:45 - 4:51
    ลืมไปอย่างหนึ่งว่าชีวิตคนไม่ยืนยาว
  • 4:51 - 4:54
    สะสมอะไรต่ออะไรไว้เยอะแยะ
  • 4:54 - 4:59
    หรือมีอำนาจมีอะไรต่ออะไรมากมาย
  • 4:59 - 5:04
    สุดท้ายมันก็ไปเป็นของคนอื่น
  • 5:04 - 5:07
    มันก็ไม่อยู่กับเราตลอด
  • 5:07 - 5:11
    สิ่งที่จะอยู่กับเราติดเนื้อติดตัว
    เราข้ามภพข้ามชาติไป
  • 5:11 - 5:15
    คือบุญกับบาปของเรา
  • 5:15 - 5:24
    โดยเฉพาะทรัพย์สมบัติทางโลก
    มันอยู่ไม่ได้จริง อยู่กับเราชั่วคราว
  • 5:24 - 5:27
    สะสมอริยทรัพย์ไว้
  • 5:27 - 5:34
    ลองไปดู Google อริยทรัพย์มีอยู่หลายอย่าง
  • 5:34 - 5:39
    เรื่องสติเรื่องสะสมอะไรพวกนี้
  • 5:39 - 5:46
    สิ่งเหล่านี้มันจะสร้างความคุ้ยเคยให้แก่จิต
  • 5:46 - 5:50
    มันมีกฎอยู่ข้อหนึ่งก็คือจิตเป็นอนัตตา
  • 5:50 - 5:54
    สั่งไม่ได้บังคับไม่ได้
  • 5:54 - 5:58
    แต่จิตเป็นธรรมชาติที่ฝึกได้
  • 5:58 - 6:04
    แล้วจิตมีธรรมชาติที่จะ
    ไหลไปตามความเคยชิน
  • 6:04 - 6:08
    เราเคยชินที่จะตามใจกิเลส
  • 6:08 - 6:11
    จิตเราก็พร้อมจะตามใจกิเลส
  • 6:11 - 6:15
    แต่ถ้าเราสะสมสติสะสมปัญญาของเราไปเรื่อย
  • 6:15 - 6:19
    ยากลำบากแค่ไหนก็พยายามทำไปเรื่อย
  • 6:19 - 6:25
    จิตมันก็จะค่อยเข้มแข็งขึ้น
  • 6:25 - 6:29
    จากเดิมรักษาศีลยากก็จะรักษาง่าย
  • 6:29 - 6:34
    แต่เดิมเคยคิดแต่จะเอาอย่างเดียว
    ตอนนี้รู้จักให้
  • 6:34 - 6:40
    รักษาศีลไม่เป็น ฝึกไป
    มันก็รักษาศีลได้ง่ายขึ้น
  • 6:40 - 6:43
    ทำสมาธิไม่เป็น ฝึกไปเรื่อย
  • 6:43 - 6:46
    วันหนึ่งมันก็ทำสมาธิง่ายขึ้น
  • 6:46 - 6:50
    เจริญปัญญาเรียนรู้ความจริง
    ของรูป นาม กาย ใจไม่เป็น
  • 6:50 - 6:52
    ฝึกไปเรื่อยๆ
  • 6:52 - 7:00
    ต่อไปปัญญามันก็แก่กล้าขึ้น มันก็ทำง่าย
  • 7:00 - 7:08
    กว่าคนๆ หนึ่งจะถึงพระนิพพานใช้เวลาสะสม
  • 7:08 - 7:13
    แล้วแต่ละคนสะสมมากน้อยไม่เท่ากัน
  • 7:13 - 7:20
    อย่างถ้าเราเป็นระดับสาวกธรรมดา
    เราสะสมไม่มาก
  • 7:20 - 7:23
    สะสมไปเรื่อยๆ
  • 7:23 - 7:29
    แต่ถ้าจะเป็นระดับเอตทัคคะ
    อันนี้ต้องทำเยอะแล้ว
  • 7:29 - 7:33
    เป็นท่านผู้เลิศด้านใดด้านหนึ่ง
  • 7:33 - 7:39
    ในศาสนาหนึ่งจะมี
    ท่านผู้เลิศด้านนี้องค์เดียวเท่านั้น
  • 7:39 - 7:47
    ต้องสะสมบารมีแสนมหากัป
    ระดับนั้น ของเราไม่ถึงหรอก
  • 7:47 - 7:51
    ของเราครูบาอาจารย์เคยบอกหลวงพ่อ
  • 7:51 - 7:57
    ว่าคนเริ่มต้นภาวนา
    ถ้ารักดีจริงๆ ตั้งอกตั้งใจภาวนาจริงๆ
  • 7:57 - 8:00
    ทำไม่เลิก สู้ตาย
  • 8:00 - 8:03
    ไม่เกิน 7 ชาติ ท่านว่าอย่างนี้
  • 8:03 - 8:05
    อันนี้ไม่มีในตำรา
  • 8:05 - 8:11
    แต่เป็นญาณทัสสนะของ
    ครูบาอาจารย์ที่ท่านสังเกตเอา
  • 8:11 - 8:15
    คนที่ภาวนาท่านดูไป
  • 8:15 - 8:19
    ท่านบอกจริงๆ ไม่มาก ไม่เกิน 7 ชาติ
  • 8:19 - 8:23
    สำหรับคนที่หวังความพ้นทุกข์ธรรมดาๆ
  • 8:23 - 8:27
    ถ้าหวังคุณสมบัติพิเศษต้องเยอะ
  • 8:27 - 8:33
    ระดับเอตทัคคะต้องทำแสนมหากัป
  • 8:33 - 8:37
    เอ๊ะ ใช่หรือเปล่า ใช่
  • 8:37 - 8:43
    ถ้าระดับอัครสาวก 1 อสงไขยแสนมหากัป
  • 8:43 - 8:46
    นานมาก
  • 8:46 - 8:56
    อสงไขยก็คือ 148
  • 8:56 - 9:03
    โอ๊ย คิดเลขยากๆ
  • 9:03 - 9:10
    10 ยกกำลัง 148 เท่าไร คูณเอา
  • 9:10 - 9:14
    อันนี้หลวงพ่อไม่ได้คิดเอง จำเขามาอีกที
  • 9:14 - 9:18
    คนเขาคำนวณไว้
  • 9:18 - 9:22
    ถ้าพระปัจเจกพุทธเจ้าสูงกว่านั้นอีก
    สูงกว่าอัครสาวก
  • 9:22 - 9:29
    บำเพ็ญบารมี 2 อสงไขยแสนมหากัป
  • 9:29 - 9:33
    แล้วถ้าเป็นพระพุทธเจ้า
  • 9:33 - 9:40
    มีตั้งแต่ 16 อสงไขยแสนมหากัป
    อย่างพระเมตไตรย
  • 9:40 - 9:46
    สะสมบารมีนานมากเลย ประเภทท็อปเลย
  • 9:46 - 9:49
    ส่วนพระพุทธเจ้าของเราองค์นี้
  • 9:49 - 9:55
    ทำบารมี 4 อสงไขยแสนมหากัป
    บารมีท่านก็เต็มแล้ว
  • 9:55 - 9:58
    เพราะท่านเดินด้วยปัญญา
  • 9:58 - 10:03
    พระเมตไตรยท่านวิริยะเอา พากเพียรทนๆ เอา
  • 10:03 - 10:06
    ก็ใช้เวลาเยอะ
  • 10:06 - 10:11
    พระโคดมของเราปัญญามาก
    เดินด้วยปัญญาเป็นหลัก
  • 10:11 - 10:17
    ใช้เวลาน้อย 4 อสงไขยแสนมหากัป
  • 10:17 - 10:20
    อันนี้หมายถึงที่ได้รับพยากรณ์แล้ว
  • 10:20 - 10:25
    ก่อนได้รับพยากรณ์อีกเยอะแยะเลย
  • 10:25 - 10:28
    สะสมบารมีมานานมากเลย
  • 10:28 - 10:31
    จนพร้อมที่จะบรรลุพระอรหันต์แล้ว
  • 10:31 - 10:37
    แล้วได้เจอพระพุทธเจ้า
    แล้วเกิดตั้งความปรารถนา
  • 10:37 - 10:41
    ขอเป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งในอนาคต
  • 10:41 - 10:48
    พระพุทธเจ้าท่านพิจารณาแล้ว
    เห็นว่าคนนี้ทำได้ ท่านจะพยากรณ์ให้
  • 10:48 - 10:54
    อย่างพระโคดมของเราก็ได้รับพยากรณ์
    เมื่อ 4 อสงไขยแสนมหากัปก่อน
  • 10:54 - 11:00
    สร้างบารมีทั้งหมด 20 อสงไขย นาน
  • 11:00 - 11:05
    เราฟังตรงนี้เราอย่าใจฝ่อ
    เพราะเราไม่ได้เป็นพระพุทธเจ้า
  • 11:05 - 11:09
    มีอีกประเด็นหนึ่ง คนชอบคิดว่า
  • 11:09 - 11:15
    พระเมตไตรยสร้างบารมีนาน
    จะต้องเลิศกว่าพระโคดม
  • 11:15 - 11:24
    พระโคดมท่านเป็นพระพุทธเจ้า
    ชนิดที่เลิศที่สุดอยู่แล้วล่ะ
  • 11:24 - 11:26
    อย่างมากที่สุด
  • 11:26 - 11:31
    พระพุทธเจ้าองค์อื่นอย่างมาก
    ที่สุดก็เสมอกับพระโคดม
  • 11:31 - 11:34
    ท่านสูงสุดอยู่แล้ว
  • 11:34 - 11:40
    ทีนี้พวกเรา โอ้ พระเมตไตรยสร้างบารมีนาน
  • 11:40 - 11:45
    เราขอไปเกิดในยุคพระเมตไตรย
    จะเจออะไรเด็ดๆ บ้าง
  • 11:45 - 11:48
    คิดแต่จะเอา
  • 11:48 - 11:52
    คิดว่าพระเมตไตรยจะอุ้มเราไปนิพพานหรือ
  • 11:52 - 11:57
    ถ้ายุคนี้ธรรมะยังดำรงอยู่
    หลวงปู่ดูลย์ท่านบอก
  • 11:57 - 12:00
    ยุคนี้ธรรมะยังดำรงอยู่
  • 12:00 - 12:06
    แล้วไม่เอา จะรอพระเมตไตรย
    ก็ธรรมะอันเดียวกัน
  • 12:06 - 12:08
    เหลวไหลตั้งแต่ชาตินี้
  • 12:08 - 12:12
    กว่าจะถึงยุคพระเมตไตรย
    ยิ่งเหลวไหลหนักกว่านี้อีก
  • 12:12 - 12:13
    ก็ไม่ได้เรื่องอะไร
  • 12:13 - 12:15
    เคยไม่ได้เรื่องอย่างไร มันก็จะไม่ได้เรื่อง
  • 12:15 - 12:19
    เพราะมันเคยชินจะไม่ได้เรื่อง
  • 12:19 - 12:23
    ฉะนั้นรีบฝึกตัวเองเสียตั้งแต่วันนี้
  • 12:23 - 12:27
    พวกเราสนใจการปฏิบัติอย่างนี้
  • 12:27 - 12:31
    อาจจะไม่ใช่ชาติที่หนึ่งด้วยซ้ำไป
  • 12:31 - 12:35
    อาจจะเป็นชาติที่สาม ที่สี่
  • 12:35 - 12:41
    บางคนบารมีก็จะเต็มก็จะได้ธรรมะในชีวิตนี้
  • 12:41 - 12:45
    มรรคผลนิพพานไม่ใช่ของล้าสมัย
  • 12:45 - 12:48
    ไม่เคยหายไปไหนหรอก
  • 12:48 - 12:52
    ถ้าหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้ายังดำรงอยู่
  • 12:52 - 12:55
    ถ้าเราลงมือปฏิบัติจริงจัง
  • 12:55 - 13:00
    โอกาสจะบรรลุมรรคผลนิพพานก็ยังมีอยู่เสมอ
  • 13:00 - 13:05
    แต่ถ้าไม่มีพระพุทธเจ้า
    เราพยายามหามรรคผลนิพพาน
  • 13:05 - 13:07
    ก็จะลำบากหน่อย
  • 13:07 - 13:12
    อย่างเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า
    ท่านไปได้ด้วยตัวเอง
  • 13:12 - 13:18
    แต่ต้องสร้างบารมีมากกว่า
    พระโมคคัลลานะ พระสารีบุตรเสียอีก
  • 13:18 - 13:20
    ถ้า 7 ชาติยังไม่กล้าสร้าง
  • 13:20 - 13:27
    อย่ามาคุยเรื่องจะสร้างบารมี
    เท่าพระปัจเจกพุทธเจ้าเลย
  • 13:27 - 13:37
    สู้ สังสารวัฏเป็นภัย น่ากลัว
  • 13:37 - 13:45
    พวกเราผ่านความทุกข์มามากมาย แต่ละคน
  • 13:45 - 13:49
    ทุกข์แล้วทุกข์อีก แก่แล้วแก่อีก
  • 13:49 - 13:53
    เจ็บแล้วเจ็บอีก ตายแล้วตายอีก
  • 13:53 - 13:58
    ไม่เข็ด เพราะมันจำไม่ได้
  • 13:58 - 13:59
    อย่างบางท่านท่านสอน
  • 13:59 - 14:04
    ครูบาอาจารย์บางองค์
    ท่านสอนให้ระลึกชาติก็มีข้อดี
  • 14:04 - 14:09
    ระลึกไปแล้วเห็นเกิดทีไรก็มีแต่ทุกข์ทุกที
  • 14:09 - 14:14
    จิตใจท่านก็จะมุ่งมั่นต้องพ้นทุกข์ให้ได้
  • 14:14 - 14:17
    แต่ถ้าระลึกชาติตามแบบกิเลส
  • 14:17 - 14:22
    ก็จะระลึกแล้วกูเคยใหญ่เคยโต
    เคยมีโน่นเคยมีนี่
  • 14:22 - 14:23
    หิวอดีตไป
  • 14:23 - 14:27
    อันนี้ไม่ได้ประโยชน์ เป็นโทษ
  • 14:27 - 14:31
    หลงสังสารวัฏ
  • 14:31 - 14:37
    มีครูบาอาจารย์ของหลวงพ่อองค์หนึ่ง
    ชื่อหลวงพ่อกิม
  • 14:37 - 14:40
    คำว่ากิมนี้ไม่ใช่ภาษาจีน
  • 14:40 - 14:43
    ท่านเป็นคนสุรินทร์
  • 14:43 - 14:46
    หลวงพ่อกิม หลวงพ่อเคยถามท่าน
  • 14:46 - 14:51
    ทำไมท่านภาวนาเด็ดเดี่ยวห้าวหาญอย่างนี้
  • 14:51 - 14:54
    ท่านบอกท่านระลึกได้
  • 14:54 - 15:00
    ว่าท่านเคยเกิดเป็นวัวๆ แล้วก็
  • 15:00 - 15:04
    วันหนึ่งเจ้าของเอาท่านไปผูกไว้
  • 15:04 - 15:08
    เอาไม้หลักไปปักไว้ในท้องนา
  • 15:08 - 15:13
    เอาเชือกผูกคอท่าน
    ให้ท่านเดินกินหญ้าอยู่ในท้องนา
  • 15:13 - 15:15
    เจ้าของกะว่า
  • 15:15 - 15:22
    ไปธุระประเดี๋ยวเดียวจะกลับมา
    พาวัวไปกินน้ำ พาวัวเข้าร่ม
  • 15:22 - 15:26
    ปรากฏเจ้าของมีธุระอื่นติดพัน
  • 15:26 - 15:30
    ไม่กลับมาเลยจนเย็นจนค่ำ
  • 15:30 - 15:33
    ท่านบอกว่าท่านกระหายน้ำอย่างรุนแรง
  • 15:33 - 15:35
    ตากแดดอยู่ทั้งวันแล้วกระหายน้ำ
  • 15:35 - 15:39
    น้ำลายเป็นฟองแห้ง
  • 15:39 - 15:42
    ท่านบอกลำบากมากเลย
  • 15:42 - 15:46
    เห็นคนแปลกหน้าเดินมา
  • 15:46 - 15:49
    ก็นึกว่าเขาจะพาไปกินน้ำ ดีใจ
  • 15:49 - 15:52
    กระโดดโลดเต้นขึ้นมา
  • 15:52 - 15:58
    คนก็บอกวัวตัวนี้เป็นบ้าแล้ว กระโดดใหญ่
  • 15:58 - 16:01
    เขาก็หนีไป ไม่มีใครกล้ามาช่วย
  • 16:01 - 16:07
    จนเย็น เจ้าของถึงพาไปกินน้ำ
  • 16:07 - 16:10
    ท่านบอกว่าท่านเข็ดเลย
  • 16:10 - 16:13
    ท่านภาวนาแล้วท่านระลึกตรงนี้ได้ ท่านเข็ด
  • 16:13 - 16:17
    สังสารวัฏนี่น่ากลัวเหลือเกิน
  • 16:17 - 16:19
    บางองค์ท่านระลึกได้เยอะ
  • 16:19 - 16:24
    ท่านเคยตกนรกอะไรอย่างนี้ ท่านกลัว
  • 16:24 - 16:28
    รู้สึกสังสารวัฏน่ากลัว
  • 16:28 - 16:31
    มีบางองค์ อันนี้ท่านไม่ได้ระลึก
  • 16:31 - 16:35
    แต่ท่านเห็นว่าโลกนี้ไม่มั่นคง
  • 16:35 - 16:39
    ท่านมองทะลุลงไปที่พื้นดิน
  • 16:39 - 16:44
    ตอนที่เห็นเขายังเป็นโยมอยู่ ยังไม่ได้บวช
  • 16:44 - 16:48
    ไม่ใช่หลวงพ่อ คนทางสุรินทร์
  • 16:48 - 16:51
    เขาเดินจะเข้าวัดแล้วเขามองลงไปที่แผ่นดิน
  • 16:51 - 16:56
    เขาเห็นเปลือกโลกมันบางนิดเดียวเอง
  • 16:56 - 17:02
    ข้างล่างมันก็เป็นไฟ ข้างล่างมันร้อน
  • 17:02 - 17:08
    แล้วเปลือกโลกมันบางเหมือนไข่ไก่
    เหมือนเปลือกไข่
  • 17:08 - 17:12
    โลกข้างในเหมือนเนื้อไข่ข้างใน
  • 17:12 - 17:17
    เปลือกโลกที่เราอาศัยอยู่ได้
    บางเหมือนเปลือกไข่
  • 17:17 - 17:19
    มันจะแตกเมื่อไรไม่รู้
  • 17:19 - 17:23
    พอเขาเห็นอย่างนี้ สติปัญญาก็เกิด
  • 17:23 - 17:26
    ชีวิตเป็นของไม่แน่นอน ไม่ยั่งยืน
  • 17:26 - 17:29
    ชีวิตนี้ความตายจะมาถึงเมื่อไรก็ได้
  • 17:29 - 17:32
    โลกนี้ที่ว่าแข็งแรง
  • 17:32 - 17:39
    ที่จริงเป็นแค่เปลือกบางๆ
    ที่เราเกาะอยู่ตามผิวโลกเท่านั้นเอง
  • 17:39 - 17:45
    คนมีสติมีปัญญา เขาเคยสะสมบารมีของเขามา
  • 17:45 - 17:49
    เขาเห็นอะไรก็เข้าใจเป็นธรรมะไปหมดเลย
  • 17:49 - 17:55
    แต่ถ้าคนไม่เคยสะสมมา
    เห็นอะไรมันก็โลภไปหมด
  • 17:55 - 17:59
    มองแผ่นดินแล้ว โอ้ ตรงนี้มีขุมทอง จะขุดทอง
  • 17:59 - 18:02
    ตรงนี้มีสมบัติ ปู่โสมเฝ้าอยู่
  • 18:02 - 18:07
    จะต้องทำอย่างนั้นอย่างนี้เพื่อไล่ปู่โสม
    แล้วไปเอาสมบัติอะไรอย่างนี้
  • 18:07 - 18:13
    ไร้สาระๆ จริงๆ
  • 18:13 - 18:16
    ฉะนั้นถ้าเราตั้งอกตั้งใจ เราจะรู้เลย
  • 18:16 - 18:20
    โลกนี้ไม่มั่นคง โลกนี้ไม่ปลอดภัย
  • 18:20 - 18:22
    สังสารวัฏไว้วางใจไม่ได้
  • 18:22 - 18:25
    ชาตินี้เป็นคน ชาติหน้าอาจจะไม่ได้เป็นคน
  • 18:25 - 18:28
    หรือชาติหน้าเป็นคน
    แต่ชาตินั้นชาติหน้าของเรา
  • 18:28 - 18:32
    ไม่มีศาสนาพุทธแล้ว
  • 18:32 - 18:35
    เราจะเดินต่อไปจะเดินอย่างไร
  • 18:35 - 18:41
    ยกเว้นแต่เราสะสมอริยทรัพย์ของเราไว้มาก
  • 18:41 - 18:45
    จิตใจถึงไม่พบพระพุทธเจ้า ไม่พบพระศาสนาอะไร
  • 18:45 - 18:48
    มันจะกระตุ้นเตือนให้เราภาวนา
  • 18:48 - 18:51
    แต่ใจมันจะรู้สึกว้าเหว่
  • 18:51 - 18:54
    จะรู้สึกวังเวง ว้าเหว่
  • 18:54 - 18:59
    ถ้าระลึกไปแล้วเกิดในชาติที่ไม่มีศาสนาพุทธ
  • 18:59 - 19:05
    ใจมันว้าเหว่ ไม่รู้ทิศทาง
    ไม่มีที่พึ่งที่อาศัย
  • 19:05 - 19:08
    เหมือนคนหลงในทะเล
  • 19:08 - 19:11
    ไม่รู้ทิศเหนือทิศใต้ ไม่รู้จะไปทางไหน
  • 19:11 - 19:14
    ไม่รู้ว่าฝั่งอยู่ทางไหน ร่อนเร่ไปเรื่อยๆ
  • 19:14 - 19:18
    น่าสงสาร
  • 19:18 - 19:21
    มีโอกาสแล้วอย่าขี้เกียจ
  • 19:21 - 19:27
    เข้มแข็งไว้ ต้องสู้ ต้องเอาตัวรอดให้ได้
  • 19:27 - 19:31
    อย่างน้อยที่สุดต้องได้โสดาบัน
  • 19:31 - 19:37
    พระโสดาบันไม่เหลือวิสัยที่คนรุ่นเราจะทำได้
  • 19:37 - 19:42
    พระสกิทาคามีก็ยังไม่เหลือวิสัย
    พระอนาคามีก็ยังไม่เหลือวิสัย
  • 19:42 - 19:46
    พระอรหันต์ยากมากแล้วยุคนี้
  • 19:46 - 19:49
    ในตำราบอกยุคนี้ไม่มีพระอรหันต์
  • 19:49 - 20:00
    ตำราๆ มันเขียนขึ้นหลังพุทธกาลแล้ว
  • 20:00 - 20:06
    แต่ตำรารับรองไว้แค่ว่า
    ยุคนี้ยังมีพระอนาคามีได้
  • 20:06 - 20:09
    ทีนี้เราไม่ต้องตั้งเป้าสูงขนาดนั้น
  • 20:09 - 20:11
    เอาโสดาบันให้ได้
  • 20:11 - 20:13
    ทำอย่างไรจะได้โสดาบัน
  • 20:13 - 20:16
    ดูคุณสมบัติของพระโสดาบัน
  • 20:16 - 20:22
    แล้วปฏิบัติตามคุณสมบัติของท่านให้ได้
  • 20:22 - 20:26
    พระโสดาบันมีศีล ศีล 5 ข้อ
  • 20:26 - 20:29
    ตั้งใจรักษาเอาไว้ให้ดี
  • 20:29 - 20:34
    นี่เป็นสมบัติสำคัญชิ้นหนึ่งของเราเลย
  • 20:34 - 20:38
    มีเงินแสนล้านก็ยังสู้มีศีลไม่ได้
  • 20:38 - 20:42
    เขามีเงินมากๆ มันก็
    ไม่ได้กินได้ใช้ทั้งหมดหรอก
  • 20:42 - 20:45
    สุดท้ายมันก็เป็นของคนอื่น
  • 20:45 - 20:49
    จิตเคยถือศีลติดเนื้อ
    ติดตัวเราข้ามภพข้ามชาติได้
  • 20:49 - 20:52
    มันเคยชินที่จะถือศีล
  • 20:52 - 20:57
    อย่างบางคนตั้งแต่เด็ก
    เกิดมาไม่อยากทำร้ายสัตว์
  • 20:57 - 21:00
    ไม่ทำร้ายใคร ไม่ทำร้ายสัตว์
  • 21:00 - 21:04
    เป็นมาแต่เด็กเลย ตั้งแต่เล็กๆ
  • 21:04 - 21:10
    เขาเคยชินในการถือศีลข้ามภพข้ามชาติมา
  • 21:10 - 21:12
    บางคนใจบุญ
  • 21:12 - 21:16
    เห็นใครลำบาก ช่วยเหลือได้ก็ช่วย
  • 21:16 - 21:21
    เขาเคยทำทานจนเคยชินที่จะทำ
  • 21:21 - 21:26
    สงเคราะห์ผู้อื่นเท่าที่จะทำได้
  • 21:26 - 21:31
    บางคนตั้งแต่เด็กๆ ชอบภาวนา
  • 21:31 - 21:33
    แต่ละคนไม่เหมือนกัน
  • 21:33 - 21:37
    อย่างหลวงพ่อแต่เด็กหลวงพ่อชอบนั่งสมาธิ
  • 21:37 - 21:39
    ตอนเด็กๆ ก็ไม่รู้เรื่องอะไร
  • 21:39 - 21:41
    พอ 7 ขวบเจอท่านพ่อลี
  • 21:41 - 21:46
    ท่านให้นั่งทำอานาปานสติ ทำทุกวัน
  • 21:46 - 21:49
    ทำแล้วมันชอบ ทำแล้วมีความสุข
  • 21:49 - 21:52
    เวลาว่างๆ ไม่มีอะไรทำ
  • 21:52 - 21:59
    ก็จะนั่งสมาธิทันทีเลย เป็นนิสัย
  • 21:59 - 22:01
    ตอนเรียนหนังสือ
  • 22:01 - 22:07
    มีเวลาว่างปุ๊บไปนั่งสมาธิแล้ว
  • 22:07 - 22:12
    ตอนทำงาน ยังทำงานอยู่
    ว่างเมื่อไรก็นั่งสมาธิ
  • 22:12 - 22:16
    กลางวันกินข้าวเสร็จแล้วเดินไปวัด
  • 22:16 - 22:21
    เป็นการเดินจงกรม เคยชินที่จะปฏิบัติ
  • 22:21 - 22:24
    ไม่รู้สึกว่าการปฏิบัติเป็นเรื่องยาก
  • 22:24 - 22:27
    แต่รู้สึกว่าเป็นของสมควรทำ
  • 22:27 - 22:32
    ทำแล้วเราได้เรียนรู้
    ความชั่วของตัวเองมากขึ้นๆ
  • 22:32 - 22:33
    มันเป็นเรื่องดี
  • 22:33 - 22:37
    เห็นกิเลสตัวเอง เห็นความชั่วของตัวเอง
  • 22:37 - 22:42
    ถ้าภาวนาแล้วเห็นแต่ความดีของตัวเอง
    ลำบากแล้ว
  • 22:42 - 22:44
    กิเลสมันหลอก
  • 22:44 - 22:48
    อย่างเราจะนั่งสมาธินานๆ เดินจงกรมนานๆ
  • 22:48 - 22:51
    กิเลสมันคร่ำครวญ
  • 22:51 - 22:56
    นั่งนานไปเดี๋ยวเป็นง่อย เดี๋ยวจะเดินไม่ไหว
  • 22:56 - 23:02
    เดินนานไปปวดเมื่อย
    โอ๊ย เป็นอัตตกิลมถานุโยค
  • 23:02 - 23:04
    ไม่ใช่ทางสายกลาง
  • 23:04 - 23:08
    แล้วทางสายกลางอยู่ที่ไหน อยู่บนเตียง
  • 23:08 - 23:12
    นอนกลิ้งไปกลิ้งมานี่ทางสายกลาง
  • 23:12 - 23:20
    ฝึกๆ ปรับตัวเองให้มันเข้มแข็งขึ้นมา
  • 23:20 - 23:23
    เราจะข้ามวัฏฏะได้
  • 23:23 - 23:29
    มิฉะนั้นเราจะทุกข์แล้วทุกข์อีก
    ทุกข์น่ากลัว
  • 23:29 - 23:35
    แล้วถ้าไม่เจอศาสนาพุทธ
    เราก็ไม่ชั่วเพราะเราเคยชินที่จะดี
  • 23:35 - 23:40
    แต่ใจมันว้าเหว่ มันไม่มีที่พึ่งที่อาศัย
  • 23:40 - 23:45
    เวลาเจอศาสนาพุทธแล้ว ดีใจ
  • 23:45 - 23:47
    สมัยพุทธกาล
  • 23:47 - 23:51
    ก็มีพระเจ้าแผ่นดินองค์หนึ่ง
    ชื่ออะไรจำไม่ได้แล้ว
  • 23:51 - 23:54
    อ่านมา 40 กว่าปีแล้ว
  • 23:54 - 24:00
    พระเจ้าแผ่นดินองค์นี้เขาชอบสืบข่าว
  • 24:00 - 24:03
    สมัยโบราณไม่มีอินเทอร์เน็ต ไม่มีดาวเทียม
  • 24:03 - 24:08
    ก็สืบข่าวจากพวกพ่อค้า
  • 24:08 - 24:12
    คอยถามพวกพ่อค้าที่เดินทางต่างเมืองมา
  • 24:12 - 24:15
    ว่ามีข่าวสำคัญอะไรบ้าง
  • 24:15 - 24:22
    อย่างข่าวว่าเมืองทางตะวันออกมัน
    เตรียมทหาร 12,000 คนประชิดชายแดน
  • 24:22 - 24:25
    ถามพ่อค้าอะไรอย่างนี้
  • 24:25 - 24:29
    วันหนึ่งพ่อค้ามาบอกว่า
  • 24:29 - 24:35
    “พุทโธ โลเก อุปปันโน”
    พระพุทธเจ้าเกิดขึ้นแล้วในโลก
  • 24:35 - 24:40
    “ธัมโม โลเก อุปปันโน”
    พระธรรมเกิดขึ้นแล้วในโลก
  • 24:40 - 24:46
    “สังโฆ โลเก อุปปันโน”
    พระสงฆ์เกิดขึ้นแล้วในโลก
  • 24:46 - 24:50
    พระเจ้าแผ่นดินฟังแทบช็อกเลย
  • 24:50 - 24:53
    ถามอะไร พูดซ้ำอีกทีสิ
  • 24:53 - 24:58
    พูดซ้ำหลายทีด้วยความปีติ
  • 24:58 - 25:01
    หลวงพ่อได้ยินคำว่า “พุทโธ โลเก อุปปันโน”
  • 25:01 - 25:05
    พูดให้พวกเราฟังนี่ขนลุกเลย
  • 25:05 - 25:11
    พูดถึงวันนี้ผ่านมานานก็ยังขนลุกอยู่
  • 25:11 - 25:16
    นึกถึงเรื่องนี้ทีไรก็ขนลุกเลยด้วยความปีติ
  • 25:16 - 25:21
    พระเจ้าแผ่นดินองค์นั้น
    ท่านก็ปีติอย่างรุนแรง
  • 25:21 - 25:26
    ท่านก็ถามว่าพระพุทธเจ้าอยู่ที่ไหน
    ท่านจะไปหาแล้ว
  • 25:26 - 25:29
    ก็บอกว่าอยู่ที่เมืองอะไรไม่รู้จำไม่ได้
  • 25:29 - 25:35
    ไม่รู้ สาวัตถีล่ะกระมัง หรือราชคฤห์
  • 25:35 - 25:42
    จำไม่ได้ แก่แล้ว อ่านมานานแล้วก็ลืม
  • 25:42 - 25:49
    พระเจ้าแผ่นดินก็เลยบอก
    ว่าให้พ่อค้าเข้าไปในวัง
  • 25:49 - 25:51
    ไปบอกพระมเหสีท่าน
  • 25:51 - 25:54
    ว่าพระเจ้าแผ่นดินหนีออกจากเมืองไปแล้ว
  • 25:54 - 25:56
    จะไปเฝ้าพระพุทธเจ้าแล้ว
  • 25:56 - 26:00
    รีบไป ไม่ประมาท เพราะว่า
  • 26:00 - 26:02
    จะรู้ได้อย่างไรว่าตัวเองจะตายเมื่อไร
  • 26:02 - 26:05
    จะรู้ได้อย่างไรพระพุทธเจ้าจะนิพพานเมื่อไร
  • 26:05 - 26:08
    พอได้ข่าวรีบไปทันทีเลย
  • 26:08 - 26:11
    บอกให้พ่อค้าไปเอารางวัลที่พระมเหสี
  • 26:11 - 26:15
    แล้วตัวท่านขึ้นม้ารีบไปหาพระพุทธเจ้าเลย
  • 26:15 - 26:20
    พ่อค้าเข้าไปในวังก็ไปทูลพระมเหสี
  • 26:20 - 26:23
    บอกพระเจ้าแผ่นดินหนีไปแล้ว
  • 26:23 - 26:28
    ให้มารับรางวัล
    ถามรางวัลอะไร รางวัลที่ให้ข่าว
  • 26:28 - 26:29
    ข่าวว่าอะไร
  • 26:29 - 26:34
    ข่าวว่า “พุทโธ โลเก อุปปันโน”
    พระพุทธเจ้าเกิดแล้วในโลก
  • 26:34 - 26:37
    “ธัมโม โลเก อุปปันโน”
    พระธรรมเกิดขึ้นแล้วในโลก
  • 26:37 - 26:43
    “สังโฆ โลเก อุปปันโน”
    พระสงฆ์เกิดขึ้นแล้วในโลก
  • 26:43 - 26:48
    แล้วบอกว่าพระเจ้าแผ่นดิน
    บอกให้พระมเหสีครองราชย์ต่อไป
  • 26:48 - 26:51
    ตัวท่านไปแล้ว
  • 26:51 - 26:57
    พระมเหสีบอก
    เรื่องอะไรเอาของสกปรกมาให้เรา
  • 26:57 - 27:02
    ท่านก็ยกสมบัติให้ใครก็ไม่รู้จำไม่ได้
  • 27:02 - 27:05
    แล้วท่านก็รีบไปหาพระพุทธเจ้าเหมือนกัน
  • 27:05 - 27:07
    ทั้ง 2 องค์เลย
  • 27:07 - 27:11
    ทั้งพระเจ้าแผ่นดิน
    ทั้งมเหสีออกไปเฝ้าพระพุทธเจ้า
  • 27:11 - 27:15
    ฟังธรรมแล้วก็เป็นพระอรหันต์ทั้งคู่เลย
  • 27:15 - 27:18
    เขาได้ยินประโยคนี้ว่าพระพุทธเจ้าอุบัติแล้ว
  • 27:18 - 27:21
    พระธรรมอุบัติแล้ว พระสงฆ์อุบัติแล้ว
  • 27:21 - 27:26
    เขาเห็นคุณค่า
    เขาทิ้งทุกสิ่งทุกอย่างกระทั่งราชสมบัติ
  • 27:26 - 27:29
    เพื่อจะไปเอาธรรมะ
  • 27:29 - 27:32
    ของเราทิ้งความสุข ความสบายเล็กน้อย
  • 27:32 - 27:34
    เรายังจะไม่กล้าทิ้ง
  • 27:34 - 27:38
    ใจเรายังไม่คู่ควรกับธรรมะ
  • 27:38 - 27:42
    คนที่เขาผ่านมาใจเขาเข้มแข็งจริง
  • 27:42 - 27:46
    กล้า กล้ามากๆ
  • 27:46 - 27:51
    อย่างพระเวสสันดร อันนั้นระดับพระพุทธเจ้า
  • 27:51 - 27:54
    ท่านกล้า กล้าทิ้งหมดเลย
  • 27:54 - 27:58
    อะไรที่เป็นที่รักที่ผูกพัน
  • 27:58 - 28:01
    ถ้าใครขอยกให้หมด
  • 28:01 - 28:05
    กล้าหาญ ของเราไม่ต้องถึงขนาดนั้นหรอก
  • 28:05 - 28:12
    เพราะเราไม่ได้สร้างบารมีไปเป็นพระพุทธเจ้า
  • 28:12 - 28:15
    อดทน
  • 28:15 - 28:22
    เราไม่รู้ว่าพระพุทธศาสนาจะอยู่นานแค่ไหน
  • 28:22 - 28:24
    ศาสนาพุทธอยู่ไม่นานหรอก
  • 28:24 - 28:28
    เป็นธรรมชาติอย่างนั้น
    เพราะมันเป็นศาสนาที่ทวนกิเลส
  • 28:28 - 28:31
    ศาสนาที่ทวนกระแส
  • 28:31 - 28:35
    ไม่ใช่ศาสนาที่ตามกระแสโลก
  • 28:35 - 28:39
    เอาความสุขเอาความสบายมาหลอกมาล่อ
  • 28:39 - 28:43
    อย่างคิดว่าถ้าเราสรรเสริญพระเจ้าไปเรื่อยๆ
  • 28:43 - 28:47
    เดี๋ยวตายแล้วพระเจ้ารับไปอยู่ด้วย
    เราก็มีความสุขนิรันดร
  • 28:47 - 28:50
    อย่างเขาเอาความสุขมาหลอกล่อเรา
  • 28:50 - 28:52
    มันก็ดีอย่างของเขา
  • 28:52 - 28:56
    อย่างน้อยคนของเขาก็ไม่เกะกะเกเร
  • 28:56 - 29:00
    ทำความดีตามมาตรฐานของเขา
  • 29:00 - 29:04
    แต่ชาวพุทธเราไม่ได้เอาแค่ความสุข
  • 29:04 - 29:08
    เพราะความสุขไม่ใช่ของที่ยั่งยืน
  • 29:08 - 29:12
    ชีวิตเราผ่านความสุขมาตั้งเท่าไรแล้ว
  • 29:12 - 29:16
    สุดท้ายความสุขทุกอย่างในชีวิตเราก็ผ่านไป
  • 29:16 - 29:21
    อย่างตอนเด็กๆ
    เรามีพ่อแม่พี่น้องอะไรเยอะแยะ
  • 29:21 - 29:23
    มีเพื่อนฝูงเยอะแยะ
  • 29:23 - 29:28
    พอโตขึ้นพ่อแม่พี่น้องเราก็ล้มหายตายจากไป
  • 29:28 - 29:31
    เพื่อนก็เหลืออยู่ไม่กี่คน
  • 29:31 - 29:34
    ตอนเด็กๆ มีเพื่อนเป็นร้อยเป็นพัน
  • 29:34 - 29:38
    โตขึ้นแล้วเพื่อนน้อยลงๆๆ
  • 29:38 - 29:44
    บางคนตอนนี้เหลือตัวคนเดียว
    เพื่อนฝูงตายหมดแล้ว
  • 29:44 - 29:48
    ในโลกมันไม่มีอะไรยั่งยืนเลย
    มันได้แค่นั้น
  • 29:48 - 29:51
    จะหลงอะไรกันนักหนา
  • 29:51 - 29:53
    ศาสนาพุทธอยู่ไม่นานหรอก
  • 29:53 - 29:57
    พวกเราก็เห็นอยู่แล้วทุกวันนี้เป็นอย่างไร
  • 29:57 - 30:03
    พุทธบริษัทเป็นอย่างไร
  • 30:03 - 30:08
    ภิกษุบริษัทเป็นอย่างไรก็เห็นอยู่
  • 30:08 - 30:12
    ภิกษุณีบริษัทไม่มีแล้ว
  • 30:12 - 30:17
    อุบาสกอุบาสิกาเป็นอย่างไร
  • 30:17 - 30:25
    ลองดูรอบตัวเราสิ
  • 30:25 - 30:29
    ศาสนาพุทธไม่ได้ดำรงอยู่ที่วัด
  • 30:29 - 30:32
    ไม่ได้ดำรงอยู่ที่ไหนเลย
  • 30:32 - 30:35
    แล้วถ้าจิตใจของเราปิดกั้น
  • 30:35 - 30:40
    รองรับธรรมะไม่ได้ ศาสนาก็สูญไป
  • 30:40 - 30:47
    ตอนนี้มีโอกาส ถือว่าในสังสารวัฏที่ยาวไกล
  • 30:47 - 30:53
    ชาตินี้ของเราเป็นนาทีทองในสังสารวัฏ
  • 30:53 - 30:56
    เพราะพระศาสนายังดำรงอยู่
  • 30:56 - 31:01
    หลักสติปัฏฐานยังดำรงอยู่
  • 31:01 - 31:06
    ตราบใดที่ยังมีสติปัฏฐาน
    มีผู้เดินตามสติปัฏฐาน
  • 31:06 - 31:12
    มีสติรู้กายในกาย มีสติรู้เวทนาในเวทนา
  • 31:12 - 31:16
    มีสติรู้จิตในจิต รู้ธรรมในธรรมอยู่
  • 31:16 - 31:19
    ตราบใดที่ยังมีผู้ปฏิบัติอยู่
  • 31:19 - 31:23
    มรรคผลนิพพานยังไม่ใช่เรื่องเหลือวิสัย
  • 31:23 - 31:28
    น่าสงสารตรงที่ว่าชาวพุทธเรา
  • 31:28 - 31:32
    แทบไม่เคยได้ยินคำว่าสติปัฏฐานเลย
  • 31:32 - 31:35
    สติอาจจะได้ยินบ้าง
  • 31:35 - 31:40
    ติดอยู่ข้างขวดเหล้า
    กินเหล้าแล้วขาดสติอะไรอย่างนี้
  • 31:40 - 31:42
    แล้วมึงทำเหล้ามาขายทำไม
  • 31:42 - 31:51
    รู้อยู่แล้วว่าเขากินเหล้าแล้วขาดสติ
    จะเอาเงิน
  • 31:51 - 31:56
    สติปัฏฐานเป็นทางสายเอกเป็นทางสายเดียว
  • 31:56 - 31:59
    เพื่อความบริสุทธิ์หลุดพ้น
  • 31:59 - 32:04
    ทางสายเอกมีหลายความหมาย
  • 32:04 - 32:07
    อันหนึ่งเป็นทางของท่านผู้เป็นเอก
  • 32:07 - 32:12
    คือเป็นเส้นทางที่พระพุทธเจ้าค้นพบ
  • 32:12 - 32:20
    อีกอันหนึ่งเป็นทางที่เดินคนเดียว
    ไปตามลำพัง
  • 32:20 - 32:23
    เอาตัวรอดตามลำพัง
  • 32:23 - 32:27
    ใครทำคนนั้นได้ ยุติธรรมที่สุดแล้ว
  • 32:27 - 32:33
    ไม่มีขบวนพ่วงไปแบบรถไฟ
    พ่วงกันยาวๆ ไม่ต้องทำ
  • 32:33 - 32:38
    แต่เกาะคนที่เขาทำไปเรื่อยๆ บรรลุ
    ไม่บรรลุหรอก
  • 32:38 - 32:40
    เป็นทางสายเอก เป็นทางสายเดียว
  • 32:40 - 32:43
    คือเป็นวิธีปฏิบัติอย่างเดียว
  • 32:43 - 32:47
    ที่จะพาเราไปพ้นทุกข์
  • 32:47 - 32:48
    เป็นทางสายเดียวหมายถึงว่า
  • 32:48 - 32:52
    เป็นทางที่ไปครั้งเดียว
    แล้วไม่ต้องเดินทางอีก
  • 32:52 - 32:55
    พอเราทำสติปัฏฐานเต็มภูมิแล้ว
  • 32:55 - 32:58
    เราถึงฝั่งแห่งพระนิพพานแล้ว
  • 32:58 - 33:03
    เราก็ไม่ต้องมาฝึกทำสติปัฏฐานใหม่ ไม่ต้อง
  • 33:03 - 33:05
    ไม่เหมือนเรียนวิชาทางโลก
  • 33:05 - 33:09
    เรียนแล้วเดี๋ยวลืม ต้องไปเรียนใหม่
  • 33:09 - 33:11
    หรือความรู้สะสม ชาตินี้เป็นดอกเตอร์
  • 33:11 - 33:17
    ตายไปไปเกิดใหม่ ก็เป็นเด็ก ป.1 ใหม่
  • 33:17 - 33:20
    แต่สติปัฏฐาน ถ้าเราเดินไปแล้ว
  • 33:20 - 33:25
    เป็นทางที่เดินครั้งเดียว
    ไม่ต้องเดินซ้ำทางนี้อีกแล้ว
  • 33:25 - 33:28
    ถ้าผ่านไปได้
  • 33:28 - 33:31
    ฉะนั้นสติปัฏฐานเป็นของวิเศษ
  • 33:31 - 33:35
    เป็นของดีของวิเศษอย่างยิ่งเลย
  • 33:35 - 33:42
    ฉะนั้นพวกเราต้องพยายามศึกษาไว้
  • 33:42 - 33:47
    หลักของสติปัฏฐานอันแรกเลยก็คือมีวิหารธรรม
  • 33:47 - 33:50
    ต้องมีวิหารธรรม
  • 33:50 - 33:53
    บางคนบอกเจริญสติ
    ในชีวิตประจำวันไม่มีวิหารธรรม
  • 33:53 - 33:56
    เก่งเกินไปแล้ว
  • 33:56 - 33:59
    วิหารธรรมแปลว่าเครื่องอยู่ของจิต
  • 33:59 - 34:01
    ให้จิตมันมีเครื่องอยู่
  • 34:01 - 34:04
    ถ้าจิตไม่มีเครื่องอยู่ จิตก็ร่อนเร่
  • 34:04 - 34:06
    เป็นหมาจรจัดวิ่งไป
  • 34:06 - 34:09
    หิวที่โน้นก็วิ่งไป หิวอย่างนี้ก็วิ่งไป
  • 34:09 - 34:13
    คุ้ยถังขยะโน้นคุ้ยถังขยะนี้เรื่อยๆ
  • 34:13 - 34:18
    อย่างพวกเราหิวในกามแล้วก็วิ่งไปคุ้ยหากาม
  • 34:18 - 34:23
    ภาวนาแล้วรู้สึกไม่ได้ต่างกับหมาคุ้ยขยะเลย
  • 34:23 - 34:28
    คุ้ยกองนี้แล้วก็วิ่งไปคุ้ยกองโน้น
  • 34:28 - 34:32
    ถ้าไม่มีวิหารธรรมจิตเราจะร่อนเร่
  • 34:32 - 34:35
    แล้วดูยากเข้าใจยาก
  • 34:35 - 34:41
    เพราะฉะนั้นต้องมีเครื่องรู้ของจิต
    เครื่องระลึกของสติ
  • 34:41 - 34:44
    วิหารธรรม ที่พระพุทธเจ้าทำไว้ให้
  • 34:44 - 34:47
    สอนไว้ให้
  • 34:47 - 34:53
    มีกายในกาย เวทนาในเวทนา
    จิตในจิต ธรรมในธรรม
  • 34:53 - 34:55
    ฟังแล้วงง
  • 34:55 - 34:57
    กายในกายเป็นอย่างไร
  • 34:57 - 35:01
    กายในกายหมายถึงว่าเราเรียนกายบางอย่าง
  • 35:01 - 35:05
    ถ้าเราเข้าใจกายอันนั้นแล้วที่เราเรียน
  • 35:05 - 35:08
    เราจะเข้าใจกายทั้งหมด
  • 35:08 - 35:12
    มันคือการเรียนแบบการทำงานวิจัย
  • 35:12 - 35:20
    เหมือนเราจะวิจัยทัศนคติ
    ของคนไทยต่ออะไรสักอย่างหนึ่ง
  • 35:20 - 35:22
    เราไม่ต้องถามคนทุกคน
  • 35:22 - 35:27
    เราสุ่มตัวอย่างมา
    ถ้าตัวอย่างของเรากำหนดไว้ได้ดี
  • 35:27 - 35:31
    มันจะเป็นภาพสะท้อนที่ใกล้เคียงความจริง
  • 35:31 - 35:33
    ว่าคนทั้งหมดรู้สึกอย่างไร
  • 35:33 - 35:36
    คิดอย่างไร ต้องการอะไร
  • 35:36 - 35:38
    จะเป็นภาพอย่างนี้
  • 35:38 - 35:41
    ถ้าเราอยากรู้กายทั้งหมดของเรา
  • 35:41 - 35:44
    เราไม่ได้เรียนแพทย์ ไม่ต้องเรียนกายวิภาค
  • 35:44 - 35:47
    มีกระดูกเท่านั้น มีกล้ามเนื้อเท่านี้
  • 35:47 - 35:49
    มีเส้นประสาทอย่างนั้นอย่างนี้
  • 35:49 - 35:51
    เราไม่ได้เรียนอย่างนั้น
  • 35:51 - 35:55
    แต่เราจะเรียนเพื่อความพ้นทุกข์
    เรียนเพื่อปล่อยวาง
  • 35:55 - 35:57
    เราเรียนกายในกายบางอย่าง เช่น
  • 35:57 - 36:02
    เราเห็นว่าร่างกายหายใจออก ร่างกายหายใจเข้า
  • 36:02 - 36:04
    ถ้าเราเห็นร่างกายที่หายใจออกไม่ใช่เรา
  • 36:04 - 36:07
    ร่างกายหายใจเข้าไม่ใช่เรา
  • 36:07 - 36:09
    ร่างกายทั้งหมดจะไม่ใช่เราแล้วล่ะ
  • 36:09 - 36:13
    เพราะทั้งวันมันก็มีแต่ร่างกาย
    ที่หายใจออกกับหายใจเข้า
  • 36:13 - 36:16
    หรือจะเรียนอีกมุมหนึ่ง
  • 36:16 - 36:21
    ร่างกายที่ยืน ที่เดิน ที่นั่ง ที่นอน
    แต่ละอย่างไม่ใช่ตัวเราของเรา
  • 36:21 - 36:25
    ถ้าเรียนอย่างนี้เราก็จะเห็น
    ร่างกายทั้งหมดไม่ใช่ตัวเรา
  • 36:25 - 36:29
    เรียนบางแง่บางมุมแล้วจะเข้าใจทั้งหมด
  • 36:29 - 36:32
    เรียกว่ากายในกาย สุ่มตัวอย่างมาเรียน
  • 36:32 - 36:37
    หรือเรียนร่างกายที่เคลื่อนไหว
    ร่างกายที่หยุดนิ่ง
  • 36:37 - 36:40
    ร่างกายเคลื่อนไหว รู้สึก
    ร่างกายหยุดนิ่ง รู้สึก
  • 36:40 - 36:44
    ถ้าเห็นว่าร่างกายที่เคลื่อนไหวไม่ใช่เรา
    ร่างกายหยุดนิ่งไม่ใช่เรา
  • 36:44 - 36:50
    สุดท้ายจิตมันจะปิ๊งขึ้นมา
    มันจะรู้เลยร่างกายทั้งหมดไม่ใช่เรา
  • 36:50 - 36:55
    เรียนเวทนา เวทนาก็เหมือนกัน
    หรือเรียนจิตในจิตก็เหมือนกัน
  • 36:55 - 37:00
    เรียนจิตในจิต เช่น เราเป็นคนขี้โมโห
  • 37:00 - 37:02
    อย่างหลวงพ่อเป็นคนใจร้อน
  • 37:02 - 37:07
    พวกใจร้อนรวดเร็ว
  • 37:07 - 37:11
    ทำอะไรอืดๆ อาดๆ ไม่ชอบ
  • 37:11 - 37:13
    ใครจะมาคุยกับหลวงพ่อแล้วคุยยาว
  • 37:13 - 37:16
    ไม่ชอบฟัง เสียเวลา
  • 37:16 - 37:19
    เป็นคนใจร้อน
  • 37:19 - 37:24
    พวกใจร้อน พวกโทสะ ใจร้อน
  • 37:24 - 37:28
    เวลาหลวงพ่อภาวนาแล้วหัดดูจิตดูใจ
  • 37:28 - 37:33
    ตัวที่เด่นที่สุดก็คือจิตโกรธ จิตมีโทสะ
  • 37:33 - 37:38
    เราภาวนาแล้วเห็น
    เดี๋ยวก็ขัดใจ เดี๋ยวก็รำคาญ
  • 37:38 - 37:40
    เดี๋ยวก็หงุดหงิด
  • 37:40 - 37:42
    เห็นมันผุดๆๆ อย่างนี้เรื่อยๆ
  • 37:42 - 37:45
    พอเรารู้มันก็ดับ
  • 37:45 - 37:47
    จิตโกรธ รู้แล้วมันก็ดับ
  • 37:47 - 37:49
    จิตรำคาญ รู้แล้วมันก็ดับ
  • 37:49 - 37:51
    จิตหงุดหงิด รู้แล้วมันก็ดับ
  • 37:51 - 37:55
    จิตเบื่อ รู้แล้วมันก็ดับ
  • 37:55 - 38:00
    เห็นมันเกิดดับๆ เกิดดับๆ ไปเรื่อยๆ
  • 38:00 - 38:05
    ในที่สุดมันก็รู้
    จิตทั้งวันของเรามีอยู่ 2 อย่าง
  • 38:05 - 38:08
    จิตมีโทสะกับจิตไม่มีโทสะ
  • 38:08 - 38:12
    จิตมีโทสะผุดขึ้นมา เราก็เห็น
  • 38:12 - 38:15
    จิตไม่มีโทสะเป็นอย่างไร
  • 38:15 - 38:20
    มีหลายแบบ เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี
  • 38:20 - 38:23
    จิตที่มีเมตตาอย่างนี้เป็นจิตที่ไม่มีโทสะ
  • 38:23 - 38:27
    เป็นจิตที่เป็นกุศล
  • 38:27 - 38:36
    จิตที่มีราคะๆ ขณะที่มีราคะจะไม่มีโทสะ
  • 38:36 - 38:39
    อันนี้จิตราคะเป็นอกุศล
  • 38:39 - 38:42
    มันจะเริ่มเห็นละเอียดๆ ขึ้น
  • 38:42 - 38:44
    จิตมีโทสะตัวหนึ่ง
  • 38:44 - 38:47
    ส่วนจิตไม่มีโทสะ
    แตกออกไปได้อีกเยอะแยะเลย
  • 38:47 - 38:53
    เป็นจิตมีโมหะก็ได้ เป็นจิตมีราคะก็ได้
    เป็นจิตที่เป็นกุศลก็ได้
  • 38:53 - 38:55
    สารพัดจะเป็น
  • 38:55 - 38:58
    แต่พอเรารู้ว่าจิตมีโทสะไม่ใช่เรา
  • 38:58 - 39:03
    จิตไม่มีโทสะไม่ใช่เรา
    จิตทั้งหมดเลยไม่ใช่เรา
  • 39:03 - 39:04
    จะเห็นอย่างนี้
  • 39:04 - 39:07
    นี่เรียกว่าการเรียนแบบสุ่มตัวอย่าง
  • 39:07 - 39:12
    หลวงพ่อยกกายกับจิต
    กายานุปัสสนากับจิตตานุปัสสนา
  • 39:12 - 39:16
    เพราะ 2 อันนี้เป็นกรรมฐานง่าย
  • 39:16 - 39:22
    เวทนานุปัสสนากับธัมมานุปัสสนา
    เป็นกรรมฐานที่ยากขึ้น
  • 39:22 - 39:25
    ต้องมีสติมีปัญญาเข้มแข็งมากขึ้น
  • 39:25 - 39:30
    อย่างถ้าสติ สมาธิ ปัญญาเราไม่เข้มแข็ง
    เราไปดูเวทนา
  • 39:30 - 39:35
    เจอความเจ็บความปวดประเดี๋ยวเดียว
    สติแตกแล้ว สู้ไม่ไหว
  • 39:35 - 39:39
    ดูธัมมานุปัสสนา เดี๋ยวก็ฟุ้งซ่าน
  • 39:39 - 39:42
    กำลังไม่พอมันจะฟุ้งซ่าน
  • 39:42 - 39:45
    ดูของง่าย ดูกายกับจิต
  • 39:45 - 39:49
    กายานุปัสสนา จิตตานุปัสสนา
  • 39:49 - 39:53
    หลวงพ่อใช้จิตเป็นวิหารธรรม
  • 39:53 - 39:56
    วิหารธรรมคือรู้อยู่ประจำ รู้อยู่เนืองๆ
  • 39:56 - 39:59
    ท่านใช้คำว่ารู้เนืองๆ รู้บ่อยๆ
  • 39:59 - 40:03
    รู้มากที่สุดเท่าที่รู้ได้
    ไม่ใช่รู้ตลอดเวลา
  • 40:03 - 40:05
    ถ้ารู้ตลอดเวลาแปลว่าเพ่งเอา ใช้ไม่ได้
  • 40:05 - 40:10
    จิตจะทื่อๆ รู้เนืองๆ
  • 40:10 - 40:14
    ท่านบอก “กาเย กายานุปัสสี วิหรติ”
  • 40:14 - 40:16
    มีกายในกายเป็นวิหารธรรม
  • 40:16 - 40:21
    อาตาปี มีความเพียรแผดเผากิเลสให้เร่าร้อน
  • 40:21 - 40:25
    เราปฏิบัติเพื่อสู้กับกิเลส
  • 40:25 - 40:28
    ไม่ได้ปฏิบัติเอาดี เอาสุข
    เอาสงบอะไรทั้งสิ้น
  • 40:28 - 40:32
    อย่าไปคิดกระทั่งว่าจะเอามรรคผลนิพพาน
  • 40:32 - 40:33
    อย่าโลภ
  • 40:33 - 40:36
    ปฏิบัติเพื่อจะเรียนรู้จิตใจตัวเอง
  • 40:36 - 40:39
    เห็นกิเลสตัวเองไป
  • 40:39 - 40:41
    ปฏิบัติแล้วถ้าเริ่มต้นด้วยความอยาก
  • 40:41 - 40:45
    กิเลสไม่เร่าร้อนแต่ใจเราจะเร่าร้อน
  • 40:45 - 40:49
    อย่างอยากสงบเร็วๆ อย่างนี้ ใจเราเร่าร้อน
  • 40:49 - 40:51
    อยากได้มรรคผลนิพพาน ใจเราเร่าร้อน
  • 40:51 - 40:56
    ฉะนั้นเราภาวนาต้องแผดเผากิเลสให้เร่าร้อน
  • 40:56 - 40:59
    ให้กิเลสมันร้อน ไม่ใช่ให้เราร้อน
  • 40:59 - 41:02
    มีสัมปชัญญะรู้ว่า
  • 41:02 - 41:07
    อย่างตอนนี้เราควรทำสมถะ
    ตอนนี้เราควรทำวิปัสสนา
  • 41:07 - 41:11
    รู้ว่าถ้าจะทำสมถะ เราควรทำสมถะแบบไหน
  • 41:11 - 41:16
    รู้ว่าจะทำวิปัสสนา
    เราจะใช้วิปัสสนาอย่างไหน
  • 41:16 - 41:18
    เรียกว่ามีสัมปชัญญะ
  • 41:18 - 41:21
    แล้วตอนรู้ว่าควรจะทำกรรมฐานอย่างนี้
  • 41:21 - 41:24
    ทําสมถะอย่างนี้ วิปัสสนาอย่างนี้
  • 41:24 - 41:27
    ไม่หลง ไม่ลืม ไม่ละเลย
  • 41:27 - 41:30
    อันนี้เรียกอสัมโมหสัมปชัญญะ
  • 41:30 - 41:33
    สัมปชัญญะ มี 4 ตัว
  • 41:33 - 41:36
    มีสัมปชัญญะ สัมปชัญญะเป็นปัญญา
  • 41:36 - 41:41
    เป็นปัญญาเบื้องต้น
    ที่จะสอนเราว่าเราควรทำอะไร
  • 41:41 - 41:43
    จะทำเมื่อไร ทำอย่างไร
  • 41:43 - 41:47
    ทำแล้วจะได้ผลอย่างไร จะรู้พวกนี้
  • 41:47 - 41:52
    แล้วก็มีสติ
  • 41:52 - 41:57
    มีวิหารธรรม อาตาปี มีความเพียรแผดเผากิเลส
  • 41:57 - 42:00
    สัมปชาโน มีสัมปชัญญะ
  • 42:00 - 42:04
    มีสติ สติเป็นตัวระลึกได้
  • 42:04 - 42:07
    ระลึกได้ถึงรูปธรรมนามธรรมที่มีอยู่
  • 42:07 - 42:11
    ระลึกได้ถึงความเคลื่อนไหว
    เปลี่ยนแปลงของรูปธรรมนามธรรม
  • 42:11 - 42:14
    อย่างระลึกได้ว่าร่างกายมีอยู่
  • 42:14 - 42:16
    ระลึกได้ว่าร่างกายกำลังเคลื่อนไหว
  • 42:16 - 42:17
    กำลังหยุดนิ่งอยู่
  • 42:17 - 42:20
    กำลังหายใจออกหายใจเข้าอยู่
  • 42:20 - 42:23
    พอระลึกตรงนี้จิตก็ไม่หนีไปที่อื่น
  • 42:23 - 42:26
    จิตก็อยู่ เห็นร่างกายหายใจอยู่
  • 42:26 - 42:29
    เห็นร่างกายยืน เดิน
    นั่ง นอน เคลื่อนไหว หยุดนิ่ง
  • 42:29 - 42:31
    แล้วแต่เราจะทำ
  • 42:31 - 42:32
    พอจิตไม่หนีไปที่อื่น
  • 42:32 - 42:36
    ในขณะเดียวกันจิตไม่ถลำลงไปเพ่งไปจ้อง
  • 42:36 - 42:41
    จิตถลำลงไปเพ่งลมก็ใช้ไม่ได้แล้ว
    มันกลายเป็นกสิณไป
  • 42:41 - 42:43
    ไม่ได้เดินปัญญาต่อ
  • 42:43 - 42:47
    เห็นร่างกายที่หายใจออก ร่างกายที่หายใจเข้า
  • 42:47 - 42:49
    ไม่ใช่เห็นลมหายใจ
  • 42:49 - 42:52
    คนละอันกัน คนละแบบ
    แล้วจิตจะเดินไม่เหมือนกัน
  • 42:52 - 42:56
    ถ้าเห็นลม จิตมันจะเดินไปทางกสิณ
  • 42:56 - 43:00
    แค่เราเห็นลมผ่านจมูกอย่างนี้
  • 43:00 - 43:04
    พอเห็นลมมันเคลื่อน เห็นความเคลื่อนคือตัวลม
  • 43:04 - 43:08
    เห็นช่องจมูกนี่คือกสิณช่องว่าง
  • 43:08 - 43:12
    เห็นลมที่เข้ามันเย็น ลมที่ออกมันร้อน
  • 43:12 - 43:14
    นี่กสิณไฟ
  • 43:14 - 43:19
    เห็นมันกระทบแถวนี้ ตัวนี้กสิณดิน
  • 43:19 - 43:25
    แค่หายใจถ้าไปจดจ่ออยู่ มันกลายเป็นกสิณ
  • 43:25 - 43:28
    ทำไปๆ มันกลายเป็นแสง
  • 43:28 - 43:30
    จะไปเพ่งเทียนหรือทำกสิณ 10 ข้อ
  • 43:30 - 43:32
    สุดท้ายมันก็มาเป็นแสงเหมือนกัน
  • 43:32 - 43:36
    ทำอานาปานสติ ทำไปมันก็เป็นแสงเหมือนกัน
  • 43:36 - 43:39
    แล้วก็ออกไปทางฌาน
  • 43:39 - 43:42
    ทางอภิญญา ทางอะไรได้
  • 43:42 - 43:45
    แต่เราไม่ต้องเล่นอย่างนั้น มันอ้อม
  • 43:45 - 43:47
    เวลาเรามีน้อย
  • 43:47 - 43:51
    ไม่ต้องไปเล่นของอ้อม
    เอาของพ้นกิเลสเป็นหลัก
  • 43:51 - 43:53
    เราภาวนาเพื่ออาตาปี เพื่อแผดเผากิเลส
  • 43:53 - 43:57
    ไม่ใช่เพื่อภาวนาเอาฤทธิ์เอาเดชอะไร
  • 43:57 - 43:59
    ฉะนั้นมีสติรู้กายอย่างที่กายเป็น
  • 43:59 - 44:02
    มีสติรู้จิตอย่างจิตที่เป็น
  • 44:02 - 44:05
    พอเรามีสติรู้ทัน
  • 44:05 - 44:08
    จิตเราหลงไปจากกรรมฐาน รู้ทัน
  • 44:08 - 44:12
    จิตเราถลำจมลงไปเพ่งอารมณ์กรรมฐาน รู้ทัน
  • 44:12 - 44:14
    จิตจะดีดตัวขึ้นมา
  • 44:14 - 44:18
    พอสติรู้ทันสภาวะที่กำลังมีกำลังเป็น
  • 44:18 - 44:21
    สัมมาสมาธิจะเกิดร่วมด้วยเสมอ
  • 44:21 - 44:24
    จิตมันจะตั้งมั่นขึ้นมา
  • 44:24 - 44:30
    เมื่อมีจิตที่ตั้งมั่นมากขึ้นๆๆ
    เราจะเดินปัญญาได้
  • 44:30 - 44:33
    สติเมื่อทำให้มาก สัมมาสติเมื่อทำให้มาก
  • 44:33 - 44:35
    จะทำให้สัมมาสมาธิบริบูรณ์
  • 44:35 - 44:37
    สัมมาสมาธิบริบูรณ์
  • 44:37 - 44:42
    จะทำให้สัมมาญาณะ
    การเจริญปัญญามันจะสมบูรณ์ขึ้นมา
  • 44:42 - 44:46
    การทำวิปัสสนาจะทำได้ง่าย
  • 44:46 - 44:52
    ถ้าเราไม่มีสัมมาสติ ไม่มีสัมมาสมาธิ
    ไม่ต้องพูดเรื่องวิปัสสนา แค่คิดเอา
  • 44:52 - 44:56
    อย่างถ้ายกเท้าย่างเท้า กำหนดไปเรื่อยๆ
  • 44:56 - 44:58
    ไม่ใช่วิปัสสนาหรอก
  • 44:58 - 45:03
    ยังไม่มีสติ ยังไม่ได้มีสัมมาสมาธิตัวจริง
  • 45:03 - 45:06
    ที่หลวงพ่อให้พวกเราไปทำในรูปแบบ
  • 45:06 - 45:09
    ไปปฏิบัติในรูปแบบวันละ 3 ชั่วโมง
  • 45:09 - 45:11
    ถ้าเดินไหวเดิน
  • 45:11 - 45:14
    ถ้าเดินไม่ไหว อายุเยอะหรือไม่สบาย
  • 45:14 - 45:16
    เดินบ้างนั่งบ้าง
  • 45:16 - 45:20
    ไม่ไหวจริงๆ จะนั่งหรืออะไรก็เอา
  • 45:20 - 45:22
    แต่อย่าให้ขาดสติก็แล้วกัน
  • 45:22 - 45:26
    นั่งก็เคลื่อนไหว
    รู้สึกร่างกายที่เคลื่อนไหวไป
  • 45:26 - 45:29
    พูดอย่างนี้ เดี๋ยวเหมือนชี้โพรงให้กระรอก
  • 45:29 - 45:33
    เดี๋ยวจะนั่งรู้แล้วเคลื่อนไหว
  • 45:33 - 45:36
    หัวเราตกลงไปแล้ว รู้สึก
  • 45:36 - 45:38
    ห่วยแตก
  • 45:38 - 45:43
    เข้มแข็งหน่อย ยังเดินได้ก็เดินไป
  • 45:43 - 45:45
    อ่อนแอไม่ได้กินหรอก
  • 45:45 - 45:49
    เดินก็เดินอยู่ในหลักของสติปัฏฐาน
  • 45:49 - 45:52
    เห็นกายมันเดิน รูปมันเดิน
  • 45:52 - 45:55
    อันนี้เป็นวิหารธรรม
    เห็นร่างกายที่เดินเป็นวิหารธรรม
  • 45:55 - 45:58
    ไม่ใช่ไปดูยกเท้าย่างเท้า อันนั้นจะไปเพ่ง
  • 45:58 - 46:03
    เห็นร่างกายมันเดิน เห็นร่างกายมันนั่ง
  • 46:03 - 46:06
    มีวิหารธรรม เดินจงกรม
  • 46:06 - 46:10
    เดินเพื่ออะไร เพื่อสู้กับกิเลส
  • 46:10 - 46:13
    เพื่อแผดเผากิเลส ไม่ใช่เดินตามใจกิเลส
  • 46:13 - 46:16
    ไม่ได้เดินเพราะอยากอย่างโน้นอยากอย่างนี้
  • 46:16 - 46:22
    เดินด้วยความรู้เนื้อรู้ตัว
  • 46:22 - 46:25
    รู้เนื้อรู้ตัวตอนนี้เราจะเดิน
    เราจะสนใจเรื่องอื่น
  • 46:25 - 46:28
    เรื่องอื่นวาง นี่สัมปชัญญะ
  • 46:28 - 46:32
    แล้วก็เดินไปด้วยความมีสติ
  • 46:32 - 46:36
    ร่างกายเคลื่อนไหว รู้สึก
    ร่างกายหยุดนิ่ง รู้สึก ทำไป
  • 46:36 - 46:39
    พอเรามีสติชำนิชำนาญ
  • 46:39 - 46:42
    สมาธิเราจะค่อยตั้งมั่นเด่นดวงขึ้นมา
  • 46:42 - 46:46
    ถัดจากนั้นการเดินปัญญา
    จะเกิดขึ้นอย่างง่ายดาย
  • 46:46 - 46:48
    ขันธ์มันจะแตกตัวออก
  • 46:48 - 46:50
    แยกขันธ์ได้อย่างง่ายดายเลย
  • 46:50 - 46:54
    แล้วขันธ์แต่ละขันธ์จะแสดงไตรลักษณ์ให้เราดู
  • 46:54 - 46:57
    มันจะเห็นร่างกายไม่ใช่ตัวเรา
  • 46:57 - 47:01
    เห็นลึกเข้ามา
    เวทนาที่เกิดในกายไม่ใช่ตัวเรา
  • 47:01 - 47:03
    มันของอยู่กับกาย
  • 47:03 - 47:05
    เวทนาที่เกิดอยู่ในใจกับสังขาร
  • 47:05 - 47:08
    ความปรุงดีปรุงชั่วที่เกิดอยู่ในใจ
  • 47:08 - 47:10
    ก็ไม่ใช่จิต
  • 47:10 - 47:12
    เป็นของที่ผ่านมาให้จิตรู้เท่านั้นเอง
  • 47:12 - 47:14
    สุดท้ายมันเข้ามาที่จิต
  • 47:14 - 47:18
    การปฏิบัติสุดท้ายมันจะลงมาที่จิต
  • 47:18 - 47:22
    แล้วมันก็จะเห็นว่า
    จิตที่เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานนี่เอง
  • 47:22 - 47:24
    ก็ยังตกอยู่ใต้ไตรลักษณ์
  • 47:24 - 47:26
    เดี๋ยวก็เป็นผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นผู้คิด
  • 47:26 - 47:29
    เดี๋ยวก็เป็นผู้รู้ เดี๋ยวเป็นผู้ไปดูรูป
  • 47:29 - 47:35
    เดี๋ยว เป็นผู้รู้ เดี๋ยวเป็นผู้ไปฟังเสียง
    ไปดมกลิ่น ไปลิ้มรส ไปรู้สัมผัสทางกาย
  • 47:35 - 47:39
    ไปคิดนึกทางใจ ไปเพ่งอารมณ์ทางใจ
  • 47:39 - 47:42
    หรือไปเพ่งรูปภายนอก
  • 47:42 - 47:44
    เห็นการทำงานของจิต
  • 47:44 - 47:49
    เห็นพฤติกรรมของจิตที่มันวิ่งพล่านๆ
    ทางอายตนะทั้ง 6
  • 47:49 - 47:52
    สุดท้ายมันก็ปิ๊งขึ้นมา กระทั่งจิตเอง
  • 47:52 - 47:55
    ก็ไม่ใช่ตัวเราของเรา
  • 47:55 - 47:59
    ถ้าถึงตรงนี้ได้ เราก็ได้โสดาบันแล้ว
  • 47:59 - 48:03
    ฉะนั้นถือศีล 5 ไว้แล้วลงมือปฏิบัติไป
  • 48:03 - 48:06
    เรียนรู้ไปจนเห็นตัวเราไม่มีหรอก
  • 48:06 - 48:08
    มีแต่ความคิดว่ามีตัวเรา
  • 48:08 - 48:11
    มีแต่ความสำคัญมั่นหมายว่ามีตัวเรา
  • 48:11 - 48:16
    คือมีความหมายรู้ผิดว่าเป็นตัวเรา
  • 48:16 - 48:19
    มีความคิดที่ผิดๆ ว่าเป็นตัวเรา
  • 48:19 - 48:23
    แล้วสุดท้ายก็มีความหลงผิด
    ความเชื่อผิดว่ามีตัวเรา
  • 48:23 - 48:27
    ฉะนั้นตัวเราจริงๆ
    ก็แค่ความเข้าใจผิดเท่านั้นเอง
  • 48:27 - 48:30
    ฝึกแยกธาตุแยกขันธ์
  • 48:30 - 48:33
    ทำสติปัฏฐานไปจนกระทั่งขันธ์มันแตกตัว
  • 48:33 - 48:36
    สติระลึกรู้อะไรด้วยจิตที่ตั้งมั่น เป็นกลาง
  • 48:36 - 48:39
    จะเห็นสิ่งนั้นไม่เที่ยง
    เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
  • 48:39 - 48:45
    จากของหยาบวางเป็นลำดับๆ
    เข้ามาจนถึงจิตถึงใจตัวเอง
  • 48:45 - 48:48
    วางรูป เวทนา สัญญา สังขารไป
  • 48:48 - 48:50
    เข้ามาที่จิตแล้วเห็น
  • 48:50 - 48:53
    จิตเองก็ตกใต้ไตรลักษณ์
    เท่าๆ กับตัวอื่นนั่นล่ะ
  • 48:53 - 48:59
    จิตก็รู้ทันๆ จิตไม่ใช่ตัวเรา
    ขันธ์ 5 ไม่ใช่เรา
  • 48:59 - 49:04
    ไม่มีเราในขันธ์ 5
    ไม่มีเรานอกเหนือจากขันธ์ 5
  • 49:04 - 49:07
    ไปทำ ไม่มีใครช่วยได้แล้ว
  • 49:07 - 49:10
    หลวงพ่อช่วยเราได้แค่นี้ ได้แค่บอกให้ทำ
  • 49:10 - 49:14
    บอกทางให้เดิน กระตุ้นให้เดิน
  • 49:14 - 49:17
    ถ้ามีปัญหาติดขัดมาถาม
  • 49:17 - 49:21
    ถามหลวงพ่อไม่ได้ ถามผู้ช่วยสอนก็ได้
  • 49:21 - 49:27
    มีไว้ให้สำรองไว้ให้หลายคน
  • 49:27 - 49:32
    การแสดงธรรมบอกเรื่องที่ยังไม่รู้ให้รู้
  • 49:32 - 49:37
    บอกวิธีปฏิบัติให้ ชักชวนให้ปฏิบัติ
  • 49:37 - 49:42
    เร่งเร้า กระตุ้น ให้กำลังใจ
  • 49:42 - 49:45
    มีปัญหาช่วยแก้ไข
  • 49:45 - 49:49
    สอนให้ก้าวไปข้างหน้า ไม่หยุดอยู่กับที่
  • 49:49 - 49:52
    ฟังธรรมะมันต้องให้ได้สิ่งเหล่านี้
  • 49:52 - 49:55
    เราถึงจะได้ประโยชน์จริง
  • 49:55 - 49:59
    ถ้าฟังเพลินๆ พระเทศน์จบก็สาธุได้บุญแล้ว
  • 49:59 - 50:04
    โอ๊ย ตาย ห่างไกลกับศาสนาพุทธเหลือเกิน
  • 50:04 - 50:08
    วันนี้เทศน์ให้ฟังเท่านี้ ดุเดือดหน่อย
  • 50:08 - 50:12
    เพราะหมู่นี้คึกคัก กำลังคึกคัก
  • 50:12 - 50:15
    เห็นพวกเราภาวนาดีขึ้น
  • 50:15 - 50:20
    เมื่อก่อนเห็นแล้วจะเทศน์ให้ฟังดีหรือเปล่า
  • 50:20 - 50:24
    เทศน์ไปเหมือนตักน้ำใส่หลังหมา
  • 50:24 - 50:27
    สำนวนหลวงปู่แหวนอันนี้ ไม่ใช่ของหลวงพ่อ
  • 50:27 - 50:29
    เอาน้ำไปราดลงหนังหมาๆ
  • 50:29 - 50:34
    หมาก็สะบัดปุ๊บๆๆๆ น้ำแห้งแล้ว
  • 50:34 - 50:37
    เอาธรรมะไปให้ หมาก็สะบัดปุ๊บๆๆ
  • 50:37 - 50:40
    ใจก็เหมือนเดิม
  • 50:40 - 50:46
    ฉะนั้นพวกเราไม่ใช่หมา อย่าสวมหัวใจหมา
  • 50:46 - 50:50
    เป็นมนุษย์ มนุษย์ผู้มีใจสูง
  • 50:50 - 50:55
    มนุษย์ผู้สามารถพัฒนาจิตใจตัวเองได้
  • 50:55 - 51:03
    เทศน์ให้ฟังเท่านี้
  • 51:07 - 51:12
    เบอร์ 1: ในรูปแบบ สวดมนต์พร้อมรู้กาย
  • 51:12 - 51:15
    ทำสมาธิ รู้กายทั้งตัวก่อน
  • 51:15 - 51:18
    แล้วรู้ลมกระทบเบาๆ
  • 51:18 - 51:21
    บริกรรมบ้าง ไม่บริกรรมบ้าง
  • 51:21 - 51:25
    เดินจงกรมแบบรู้ทั้งกาย ไม่บริกรรม
  • 51:25 - 51:27
    ในชีวิตประจำวัน
  • 51:27 - 51:33
    ทำความรู้สึกที่กายทั้งตัวสลับกับรู้ลมบ้าง
  • 51:33 - 51:37
    จะตั้งต้นจากการรู้กายทั้งตัวเบาๆ ก่อน
  • 51:37 - 51:38
    ทำถูกต้องไหมครับ
  • 51:38 - 51:41
    ทำถูกแล้ว ไปทำอีก
  • 51:41 - 51:46
    ขยันทำ ไม่ทำบ้างเลิก ทำแล้วหยุดๆ ไม่ดี
  • 51:46 - 51:51
    เบอร์ 1 เห็นตัวเองไหม จิตมันเปลี่ยนแปลงไป
  • 51:51 - 51:53
    จิตมันพัฒนา
  • 51:53 - 51:57
    ขันธ์มันแยกได้ด้วย ดี ไปทำอีก
  • 51:57 - 52:02
    เบอร์ 2 อาวุโสมากแล้ว
  • 52:02 - 52:06
    เบอร์ 2: เดินจงกรมเป็นกรรมฐานหลัก
  • 52:06 - 52:11
    เฉลี่ยวันละ 3 - 5 ชั่วโมงหรือมากกว่า
  • 52:11 - 52:16
    เห็นร่างกายสะเทือน
    สลับกับเห็นจิตกระเพื่อมไหว
  • 52:16 - 52:21
    การเห็นกายกับการเห็นจิต
    จะสลับเองโดยไม่ได้ตั้งใจ
  • 52:21 - 52:29
    การดูจิตในอิริยาบถนั่ง
    มักจะเคลิ้ม ซึม ง่วง ร่วมด้วย
  • 52:29 - 52:31
    ปฏิบัติถูกทางไหมคะ
  • 52:31 - 52:34
    ถูก ดีมากๆ เลย เข้มแข็ง
  • 52:34 - 52:40
    สมเป็นครูบาอาจารย์ ดี
  • 52:40 - 52:43
    ภาวนาใช้ได้ ภาวนาดี
  • 52:43 - 52:47
    ทำดีแล้วล่ะ ทำถูกแล้ว
  • 52:47 - 52:52
    ตอนนี้จิตออกนอกนิดหนึ่งเห็นไหม
  • 52:52 - 52:55
    เก่งจริง
  • 52:55 - 53:00
    จิตไหลออกไปก็รู้ รู้สึกเรื่อยๆ
  • 53:00 - 53:06
    พอเราอายุเยอะขึ้น
    ไปนั่งสมาธิมันจะเคลิ้มง่าย
  • 53:06 - 53:10
    ฉะนั้นต้องเคลื่อนไหว พยายามกระดุกกระดิกไว้
  • 53:10 - 53:15
    ถ้าเดินไม่ไหว เคลื่อนไหว
  • 53:15 - 53:21
    บางคนก็นั่งถักไหมพรม ถัก
  • 53:21 - 53:24
    เห็นร่างกายมันถักไหมพรม
    ใจเป็นคนรู้อะไรอย่างนี้
  • 53:24 - 53:26
    ถักผิดแล้วโมโห
  • 53:26 - 53:30
    ถักไปเรื่อยๆ พอขาดสติ อ้าว ถักผิดแล้ว
  • 53:30 - 53:32
    มันจะค่อยรู้สึกๆ
  • 53:32 - 53:38
    แต่ถ้าถักแล้วใจไปอยู่ที่ไหมพรม
    ไม่ดี อันนั้นหลง
  • 53:38 - 53:40
    ถักแล้วก็รู้ทันใจตัวเอง
  • 53:40 - 53:44
    ไม่นั่งเฉยๆ นั่งเฉยๆ เดี๋ยวหลับ
  • 53:44 - 53:47
    หรือนั่งแล้วขยับ
  • 53:47 - 53:49
    เมื่อก่อนหลวงพ่อมี
  • 53:49 - 53:53
    เดี๋ยวนี้เขาก็ยังตั้งไว้ให้ มี
  • 53:53 - 53:56
    เราไปเดินเมื่อยแล้ว เหนื่อยเต็มที
  • 53:56 - 54:01
    นั่ง ไม่นั่งเฉยๆ นั่งเฉยๆ
    เดี๋ยวหลับเพราะอายุเยอะแล้ว
  • 54:01 - 54:06
    ก็นั่งพัด เห็นร่างกายเคลื่อนไหว
    ใจเป็นคนรู้สึก
  • 54:06 - 54:11
    เห็นลมมากระทบร่างกาย ใจเป็นคนรู้สึก
  • 54:11 - 54:13
    อากาศร้อน พอลมมากระทบ
  • 54:13 - 54:15
    จิตจะเกิดความยินดี
  • 54:15 - 54:20
    จิตใจเราเป็นคนรู้สึก มันรู้ลงไปได้
  • 54:20 - 54:22
    รู้ได้ตั้งแต่ร่างกายเคลื่อนไหว
  • 54:22 - 54:26
    รู้ถึงร่างกายที่มีลมมากระทบ
  • 54:26 - 54:29
    รู้ถึงความเปลี่ยนแปลงที่จิตใจ เห็นไหม
  • 54:29 - 54:33
    แค่โบกพัดทีเดียวทำกรรมฐาน
    ได้ตั้งเยอะตั้งเยอะแล้ว
  • 54:33 - 54:38
    โบกแล้วไม่อยากเลิกเลย สบาย
  • 54:38 - 54:41
    ไปทำ เบอร์ 2 ใช้ได้
  • 54:41 - 54:47
    ไม่เสีย ไม่เสียชาติเกิด ดี ชีวิตมีประโยชน์
  • 54:47 - 54:53
    เบอร์ 3
  • 54:53 - 54:59
    ทำรูปแบบโดยดูเวทนา
    เกิดดับของกายเป็นสัมปชัญญะ
  • 54:59 - 55:03
    เห็นจิตวิ่งไปตามจุดต่างๆ ของกาย
  • 55:03 - 55:08
    ไหลตามกระแสความคิด
    สลับกับนิ่งว่างอยู่ภายใน
  • 55:08 - 55:13
    ระหว่างวันรู้สึกตัวเบาๆ สลับกับหลง
  • 55:13 - 55:18
    เคยติดเพ่งในกายและไปสว่างว่างอยู่ข้างนอก
  • 55:18 - 55:24
    จิตเข้าฐาน ตั้งมั่น
    มีกำลังพอที่จะเห็นไตรลักษณ์เองไหมคะ
  • 55:24 - 55:28
    มี แต่ตอนนี้น้อมจิตให้ซึม ไม่ดี
  • 55:28 - 55:32
    ตรงนี้ยังเคยชินอยู่ น้อมไปให้มันนิ่งๆ
  • 55:32 - 55:35
    จิตเป็นอย่างไร รู้ว่าเป็นอย่างนั้น
  • 55:35 - 55:37
    เว้นแต่ต้องการทำสมถะ
  • 55:37 - 55:41
    ต้องการสมถะเราก็น้อมจิตไปอยู่
    ในอารมณ์อันเดียวที่มีความสุข
  • 55:41 - 55:45
    แต่ไม่ได้น้อมให้เคลิ้มๆ มีสติ
  • 55:45 - 55:48
    แต่อยู่ในอารมณ์อันเดียวแล้วจิตมันรวมเอง
  • 55:48 - 55:51
    มันจะรวมแบบมีสติ ไม่ใช่รวมขาดสติ
  • 55:51 - 55:53
    ของเบอร์ 3 มันยังมี
  • 55:53 - 55:56
    ความชินที่จะน้อมจิตให้เคลิ้มอยู่นิดหนึ่ง
  • 55:56 - 55:59
    ยังเหลืออยู่หน่อยหนึ่ง อย่าทำจิตให้เคลิ้ม
  • 55:59 - 56:01
    มันเคลิ้มเองยังพอไหว
  • 56:01 - 56:05
    แต่ถ้าไปน้อมให้มันเคลิ้มไม่ดีเลย เคยตัว
  • 56:05 - 56:08
    ที่ทำอยู่ดี
  • 56:08 - 56:11
    แต่ตอนนี้จิตไม่เข้าฐานเห็นไหม
  • 56:11 - 56:15
    จิตยังอยู่ข้างนอก
  • 56:15 - 56:18
    ไม่ต้องดึง รู้สึกเข้ามาที่กายก่อน
  • 56:18 - 56:21
    รู้สึกในร่างกาย
  • 56:21 - 56:24
    เห็นไหมจิตมันเริ่มเข้ามาแล้ว
  • 56:24 - 56:27
    มันจะไม่เหมือนอย่างเมื่อกี้นี้
    มันอยู่ข้างนอก
  • 56:27 - 56:30
    ฉะนั้นรู้สึกกายไปเรื่อยๆ ดีแล้วล่ะ
  • 56:30 - 56:34
    มีกายเป็นวิหารธรรมแล้วจิตก็ไม่ออกนอก
  • 56:34 - 56:38
    แต่อย่าไปเพ่งร่างกาย
    ถ้าเพ่งร่างกายแล้วจิตออกนอก
  • 56:38 - 56:44
    เบอร์ 4
  • 56:44 - 56:47
    รูปแบบเดินจงกรม
  • 56:47 - 56:50
    ร่างกายเคลื่อนไหว ใจเป็นคนดู
  • 56:50 - 56:55
    เพิ่มเวลาเป็นอย่างน้อย 3 ชั่วโมง
    แต่แบ่งเป็นช่วงๆ
  • 56:55 - 57:00
    และนั่งดูร่างกายเคลื่อนไหว 30 – 40 นาที
  • 57:00 - 57:03
    รู้สึกว่าจิตมีกำลังขึ้น
  • 57:03 - 57:03
    ถูก
  • 57:03 - 57:06
    และอุดรอยตุ่มรั่วได้หลายส่วน
  • 57:06 - 57:11
    แต่จิตยังมีความยินดียินร้ายต่อสภาวะ
  • 57:11 - 57:15
    ระหว่างวันเห็นจิตไหลไปคิดได้บ่อยขึ้น
  • 57:15 - 57:18
    ขอคำแนะนำไปปฏิบัติต่อครับ
  • 57:18 - 57:20
    ทำถูกแล้ว
  • 57:20 - 57:23
    ส่วนจิตยินดียินร้ายเราไม่ห้าม
  • 57:23 - 57:26
    แค่ยินดีก็รู้ทัน ยินร้ายก็รู้ทันไป
  • 57:26 - 57:31
    ถ้าไปห้ามยินดียินร้ายจะเพ่ง ผิดแล้ว
  • 57:31 - 57:35
    ที่ทำอยู่ดี ทำไป
  • 57:35 - 57:39
    ตอนนี้จิตออกนอกนิดหนึ่งเห็นไหม
  • 57:39 - 57:42
    เออ ต้องอย่างนี้ สิ
  • 57:42 - 57:46
    เบอร์ 3 ยังชินจะไปข้างนอก
  • 57:46 - 57:49
    เคลิ้มๆ เผลอๆ ไป
  • 57:49 - 57:52
    รู้สึกร่างกายให้เยอะๆ เบอร์ 3
  • 57:52 - 57:55
    ร่างกายขยับ รู้สึกไปเรื่อยๆ
  • 57:55 - 57:57
    มันเคลื่อนไหวอยู่แล้วล่ะ
  • 57:57 - 58:02
    ตื่นเต้นไหม เบอร์ 5
  • 58:02 - 58:06
    ไม่ต้องตื่นเต้นหรอก ภาวนาดี
  • 58:06 - 58:12
    เบอร์ 5: ในรูปแบบ นั่งหลับตา
    ดูร่างกายหายใจ
  • 58:12 - 58:17
    เป็นโทสจริต มีความคิดเยอะ ชอบคิดวางแผน
  • 58:17 - 58:22
    บางครั้งคิดวน กังวลมากเป็นนิสัย
  • 58:22 - 58:33
    เวลาภาวนาจิตไม่ค่อยเข้าฐาน ฟุ้งง่ายมาก
  • 58:33 - 58:37
    บางครั้งเกิดปัญญาแต่ไม่แน่ใจว่า
  • 58:37 - 58:41
    เกิดด้วยการเห็นหรือการคิดเอา
  • 58:41 - 58:45
    ในชีวิตประจำวัน ดูอารมณ์บ่อยๆ
  • 58:45 - 58:51
    เห็นได้เร็วขึ้น เวลาที่ใจสั่น
    กังวล หรือรำคาญใจ
  • 58:51 - 58:54
    ขอหลวงพ่อชี้แนะครับ
  • 58:54 - 58:57
    มันห้ามไม่ได้หรอก
  • 58:57 - 58:59
    อย่างเรามีงานต้องคิดต้องทำอะไรนี่
  • 58:59 - 59:04
    อย่างไรใจมันก็จะคอยวกไปเรื่อยๆ
    ไปคิดเรื่อยๆ
  • 59:04 - 59:07
    ก็ภาวนา
  • 59:07 - 59:11
    ห้ามมันไม่ได้หรอก จิตมันเป็นอนัตตา
  • 59:11 - 59:14
    มีงานก็ทำๆ ไป
  • 59:14 - 59:17
    หมดเวลาทำงานก็ฝึกตัวเอง
  • 59:17 - 59:21
    หมดเวลาแล้วตอนนี้ คิดไปก็ไร้ประโยชน์
  • 59:21 - 59:24
    แต่แนะนำอย่างหนึ่ง
  • 59:24 - 59:28
    ต้องมีสมุดโน้ตไว้ข้างๆ ตัว
  • 59:28 - 59:31
    อะไรที่คิดได้แล้วจดไว้
  • 59:31 - 59:35
    ถ้าไม่จดไว้ มันจะคิดวนไม่เลิกหรอก
    มันกลัวลืม
  • 59:35 - 59:41
    แล้วมันจะได้ไม่ต้องคิดซ้ำไปซ้ำมา เสียเวลา
  • 59:41 - 59:46
    เอามาภาวนา เอาเวลาไปภาวนา
  • 59:46 - 59:50
    ฉะนั้นตอนไหนที่คิดวนๆ จดเอาไว้เลย
  • 59:50 - 59:52
    เมื่อก่อนหลวงพ่อก็ทำ
  • 59:52 - 59:56
    เพราะหลวงพ่อก็เป็นอะไร เขาเรียกอะไร
  • 59:56 - 59:58
    จริตเดียวกับเบอร์ 5 นั่นล่ะ
  • 59:58 - 60:00
    ใจร้อน
  • 60:00 - 60:04
    มีงานยังไม่เสร็จเราก็ลุยอะไรอย่างนี้
  • 60:04 - 60:06
    แต่หลวงพ่อแบ่งเวลาเลย
  • 60:06 - 60:10
    หมดเวลางานแล้ว ไม่ใช่เวลางานแล้ว
  • 60:10 - 60:13
    เวลางานคือเวลาชาวโลก
  • 60:13 - 60:17
    ต่อไปนี้เป็นเวลาเพื่อตัวเราเองแล้ว
  • 60:17 - 60:22
    ถ้าระหว่างภาวนาแล้วมันนึกถึงงานได้
    จดเอาไว้
  • 60:22 - 60:26
    มิฉะนั้นจะคิดอีก เดี๋ยวจะกลัวลืม คิดซ้ำ
  • 60:26 - 60:32
    ไปทำ ทำไปเบอร์ 5 ภาวนาได้ดีขึ้นเยอะแล้ว
  • 60:32 - 60:34
    เบอร์ 6 ก็ภาวนาดี ไม่ต้องกังวล
  • 60:34 - 60:38
    เบอร์ 6: เดือนที่แล้ว
  • 60:38 - 60:44
    เปลี่ยนกรรมฐานมาท่อง
    “พุทโธใจรู้ พุทโธรู้ใจ”
  • 60:44 - 60:47
    ในอกเกิดสั่นไหว
  • 60:47 - 60:50
    คิดเอาเองว่าเป็นความอยาก
  • 60:50 - 60:55
    คิดว่าความอยากก็ไม่เที่ยง
    แล้วใช้กรรมฐานเดิมต่อ
  • 60:55 - 60:58
    ใจรู้สึกสั่นก็ทน
  • 60:58 - 61:02
    ภาวนาจนวันหนึ่งรู้สึกว่าใจสั่น
  • 61:02 - 61:06
    ผุดขึ้นแรงเหมือนน้ำเดือด เกิดกลัว
  • 61:06 - 61:09
    ยังไม่เห็นกายแยกธาตุแยกขันธ์
  • 61:09 - 61:12
    ที่ปฏิบัติอยู่ถูกต้องไหมคะ
  • 61:12 - 61:16
    ถูก แล้วมันก็แยกธาตุแยกขันธ์แล้วด้วย
  • 61:16 - 61:18
    แยกธาตุแยกขันธ์ไม่ใช่
  • 61:18 - 61:21
    ถอดจิตออกจากร่างไปไว้ที่หนึ่ง
  • 61:21 - 61:23
    อยู่กับตัวนี่ล่ะ
  • 61:23 - 61:26
    แต่มันรู้ว่าขันธ์ 5 เป็นคนละส่วนกัน
  • 61:26 - 61:29
    ร่างกายกับจิตมันคนละอัน
  • 61:29 - 61:33
    เวทนากับร่างกาย เวทนากับจิตคนละอัน
  • 61:33 - 61:37
    สังขารกับร่างกาย กับเวทนา
    กับจิตก็เป็นคนละอันกัน
  • 61:37 - 61:39
    มันแยกอย่างนี้
  • 61:39 - 61:41
    รู้สึกว่ามันเป็นส่วนๆ
  • 61:41 - 61:43
    คำว่าขันธ์ก็คือคำว่าส่วนนั่นล่ะ
  • 61:43 - 61:46
    ขันธ์ 5 ก็คือ 5 ส่วน
  • 61:46 - 61:49
    แยกสิ่งที่เรียกว่าเราเป็นส่วนๆ
  • 61:49 - 61:52
    แล้วจะพบว่าแต่ละส่วนไม่มีเรา
  • 61:52 - 61:55
    อันนี้เรียกว่าวิภัชวิธี
  • 61:55 - 62:02
    เป็นวิธีการของพระพุทธเจ้า วิภัชวิธี
  • 62:02 - 62:07
    เรียนรู้ความจริงด้วยการแยกส่วน
    อย่างเราคิดว่านี่คือตัวเรา
  • 62:07 - 62:10
    แต่พอเราสามารถแยกได้ว่า
  • 62:10 - 62:12
    สิ่งที่เรียกว่าเรามีตั้ง 5 ส่วน
  • 62:12 - 62:14
    รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
  • 62:14 - 62:17
    แล้วเห็นแต่ละส่วนไม่ใช่เรา
  • 62:17 - 62:19
    ของไม่ใช่เรา 5 อันมารวมกัน
  • 62:19 - 62:22
    แล้วมันจะมาเป็นเรา มันเป็นไปไม่ได้แล้ว
  • 62:22 - 62:27
    ฉะนั้นที่ทำอยู่ขันธ์มันแยกแล้ว
    แล้วภาวนาได้ดีด้วย
  • 62:27 - 62:32
    จิตก็มีกำลังมากพอสมควรแล้วล่ะ
  • 62:32 - 62:35
    รู้สึกไป
  • 62:35 - 62:40
    สติระลึกรู้กาย ก็รู้กาย
    สติระลึกรู้จิตก็รู้จิตไป
  • 62:40 - 62:43
    สติระลึกรู้กายหรือรู้จิต
  • 62:43 - 62:47
    ก็เห็นมีแต่ไตรลักษณ์ ไม่มีเรา
  • 62:47 - 62:49
    ทำเรื่อยๆ อย่าคิดเยอะ
  • 62:49 - 62:52
    ไม่ต้องคิดเยอะ รู้ๆ ไป
  • 62:52 - 62:57
    เบอร์ 7
  • 62:57 - 63:04
    เบอร์ 6 ภาวนาดี ภาวนาได้ดี เบอร์ 6
  • 63:04 - 63:07
    เบอร์ 7: ภาวนาโดยดูจิตเป็นหลัก
  • 63:07 - 63:11
    ดูกระบวนการทำงานของขันธ์ 5
  • 63:11 - 63:16
    เห็นจิตโดนบีบคั้นแสวงหาอารมณ์ตลอดเวลา
  • 63:16 - 63:21
    แต่ไม่แน่ใจว่าฟุ้งซ่าน
    หรือหลงไปหรือเปล่าครับ
  • 63:21 - 63:23
    เห็นจริงๆ มันเห็นได้แล้วล่ะ
  • 63:23 - 63:25
    ไม่ต้องไปคิดนำ
  • 63:25 - 63:28
    เห็นอย่างที่มันเป็นๆ นี่ล่ะ
  • 63:28 - 63:37
    เห็นถูกแล้ว ดูบ่อยๆ
  • 63:37 - 63:44
    ตอนนี้จิตออกนอกเห็นไหม
  • 63:44 - 63:48
    ตอนนี้เพ่งเข้าข้างในเห็นไหม
  • 63:48 - 63:51
    เออ ต้องอย่างนี้ รู้อย่างที่มันเป็น
  • 63:51 - 63:54
    จิตไหลไปข้างนอกก็รู้ จิตวกเข้ามาเพ่งก็รู้
  • 63:54 - 63:57
    รู้เรื่อยๆ
  • 63:57 - 63:59
    สติระลึกอะไรก็เห็นแต่ไตรลักษณ์นั่นล่ะ
  • 63:59 - 64:03
    ระลึกไป
  • 64:03 - 64:06
    เห็นไหม จิตมันเข้ามา
  • 64:06 - 64:12
    เดี๋ยวมันก็ออกไป เดี๋ยวมันก็เข้ามา
    มันไม่เที่ยง
  • 64:12 - 64:17
    เบอร์ 8
  • 64:17 - 64:22
    เป็นคนโทสจริต ทิฏฐิมานะสูง
  • 64:22 - 64:28
    ถูกปฏิบัติในรูปแบบด้วยการสวดมนต์
    แล้วนั่งเจริญเมตตา
  • 64:28 - 64:33
    ชีวิตประจำวันดูกาย เวทนา จิต ธรรม
  • 64:33 - 64:36
    แล้วแต่ว่าเห็นอะไร
  • 64:36 - 64:38
    แต่พอเห็นว่าหลงฟุ้งซ่าน
  • 64:38 - 64:42
    จะวนกลับมาที่กายเป็นประจำ
  • 64:42 - 64:44
    จิตฟุ้งซ่านเก่งมาก
  • 64:44 - 64:49
    เลยลงเรียนอภิธรรม
    ให้จิตมีทิศทางในความฟุ้งซ่าน
  • 64:49 - 64:53
    ซึ่งเป็นที่พอใจของจิตเป็นอย่างมาก
  • 64:53 - 64:57
    ปฏิบัติได้ถูกทิศทางหรือไม่คะ
  • 64:57 - 65:02
    เวลาปฏิบัติจริง ลืมตำราเสีย
  • 65:02 - 65:06
    เวลาปฏิบัติจริง ต้องเห็นเอา เห็นสภาวะเอา
  • 65:06 - 65:10
    กางตำราอยู่มันจะไม่เห็นสภาวะหรอก
  • 65:10 - 65:13
    มันจะคิดนำ ตัวนี้มาอย่างนี้
  • 65:13 - 65:16
    ตัวนี้มีอันนี้เป็นเหตุใกล้
  • 65:16 - 65:20
    เมื่อเกิดแล้วมันมีกิจอย่างนี้
    มันมีรสอย่างนี้
  • 65:20 - 65:24
    ไม่ได้กินหรอก มันฟุ้งซ่าน
  • 65:24 - 65:30
    ฉะนั้นเรียนก็เรียนไปเถอะ ทรงจำหลักวิชาไว้
  • 65:30 - 65:35
    เป็นประโยชน์กับโลกกับคนอื่นต่อไปภายหน้า
  • 65:35 - 65:38
    แต่เวลาที่เราลงมือปฏิบัติจริง
    ลืมมันให้หมดเลย
  • 65:38 - 65:44
    ดูของจริงที่กำลังมีกำลังเป็น
    ดูสภาวะที่กำลังมีกำลังเป็น
  • 65:44 - 65:47
    มิฉะนั้นฟุ้ง
  • 65:47 - 65:50
    เก่งอยู่อันหนึ่งที่หลวงพ่อ
    ฟังส่งการบ้านแล้วชอบ
  • 65:50 - 65:55
    นั่นคือเห็นมานะอัตตา ของเราเยอะ แรง
  • 65:55 - 66:01
    เราสังเกตอย่าง
    อันนี้ไม่ได้ปรามาสล่วงเกิน ขออภัยเลย
  • 66:01 - 66:07
    พวกที่เรียนอภิธรรม มานะอัตตาแรง
  • 66:07 - 66:11
    นี่กูก็รู้ๆ นี่ไม่ถูก พูดไม่ถูก
  • 66:11 - 66:15
    เห็นคนโน้นไม่ถูก คนนี้ไม่ถูก เก่งเหลือเกิน
  • 66:15 - 66:19
    ไม่เห็นว่ากูกำลังเก่งอยู่
  • 66:19 - 66:24
    กำลังพอง รู้จักปลาปักเป้าไหม
  • 66:24 - 66:26
    ปลาปักเป้าพอง
  • 66:26 - 66:30
    มีหนามแหลมคม ตัวพองๆ
  • 66:30 - 66:34
    ไปดู กำราบหนามของเรา
  • 66:34 - 66:39
    เบอร์ 5 จิตยังฟุ้งเยอะ ต้องทำในรูปแบบด้วย
  • 66:39 - 66:41
    ทำเยอะๆ ในรูปแบบ
  • 66:41 - 66:47
    อย่างเดินจงกรม เห็นร่างกายมันทำงาน
    ใจเป็นคนรู้สึกไป
  • 66:47 - 66:49
    วันนี้เทศน์ให้ฟังเท่านี้
  • 66:49 - 66:55
    ลงท้ายที่ปลาปักเป้านี่เอง
Title:
นาทีทองในสังสารวัฏ :: หลวงปู่ปราโมทย์ ปาโมชฺโช 8 มิ.ย. 2568
Description:

more » « less
Video Language:
Thai
Duration:
01:09:17

Thai subtitles

Incomplete

Revisions Compare revisions