-
-
เป็นเวลากว่า 400 ปี ปัญหาก็ยังคงอยู่
-
อลิซจะออกแบบรหัสอย่างไร ให้ซ่อนลายนิ้วมือ
-
และหยุดการรั่วไหลของข้อมูลได้?
-
คำตอบคือการสุ่ม
-
นึกภาพอลิซทอยลูกเต๋า 26 ด้าน
-
เพื่อสร้างรายการเลขที่ใช้เลื่อนอย่างสุ่มยาวๆ
-
และแบ่งรายการนี้ให้บ๊อบ แทนที่จะเป็นคำรหัส
-
ทีนี้ เวลาเข้ารหัสข้อความ อลิซ
-
ก็ใช้รายการเลขเลื่อนอย่างสุ่มนี้แทน
-
สิ่งสำคัญคือว่ารายการค่าเลื่อน
-
ยาวเท่ากับข้อความ เพื่อป้องกันการใช้ซ้ำ
-
แล้วเธอส่งมันไปให้บ๊อบ ซึ่งถอดรหัสข้อความ
-
โดยใช้รายการค่าเลื่อนเดียวกับที่อลิซให้มา
-
-
ตอนนี้ อีฟมีปัญหาแล้ว เพราะข้อความ
-
เข้ารหัสที่ได้ จะมีสมบัติทรงพลังสองอย่าง
-
หนึ่ง ค่าเลื่อนไม่เคยมีรูปแบบซ้ำ
-
-
และสอง ค่าเลื่อนจะมีการกระจายความถี่
-
สม่ำเสมอ
-
เพราะมันไม่มีความแตกต่างของความถี่ เพราะฉะนั้น
-
จึงไม่มีข้อมูลรั่ว อีฟจึงไม่สามารถ
-
แก้รหัสนี้ได้
-
-
นี่คือวิธีการเข้ารหัสที่แข็งแกร่งที่สุด
-
และมันเกิดขึ้นตอนท้ายคริสต์ศตวรษที่ 19
-
มันรู้จักในชื่อ one-time pad
-
เพื่อให้เห็นภาพความแข็งแกร่งของ one-time pad
-
เราต้องเข้าใช้จำนวนการจัดเรียงมโหฬาร
-
ที่เกิดขึ้น
-
ตัวอย่างเช่น รหัสซีซาร์เลื่อนตัวอักษร
-
ทุกตัวด้วยค่าเลื่อนเดียวกัน ซึ่งก็คือเลข
ระหว่าง 1 กับ 26
-
ถ้าอลิซอยากเข้ารหัสชื่อของเธอ
-
มันจะออกมาเป็นรหัส 1 ใน 26 อย่างที่เป็นไปได้
-
จำนวนความเป็นไปได้มีน้อย เช็คดูทั้งหมดได้ง่าย
-
เรียกว่า การค้นหาแบบ brute force
-
เทียบกับ one-time pad นี้ แต่ละตัว
-
ถูกเลื่อนด้วยเลขต่างๆ กันตั้งแต่ 1 ถึง 26
-
ลองคิดถึงจำนวนรหัสที่เป็นไปได้ดู
-
มันจะเท่ากับ 26 คูณตัวเองห้าครั้ง
-
ซึ่งมีค่าเกือบ 12 ล้าน
-
บางครั้งมันมองภาพยาก
-
ลอกนึกภาพว่าเธอเขียนชื่อบนกระดาษหนึ่งแผ่น
-
และข้างบนก็ซ้อนรหัสที่เป็นไปได้ทั้งหมด
-
คุณคิดว่ามันจะสูงแค่ไหน?
-
ชุดตัวอักษรห้าตัวที่เป็นไปได้เกือบ 12 ล้านชุด
-
ตั้งกระดาษนี้จะใหญ่มาก
-
สูงเกือบ 1 กิโลเมตร
-
เมื่ออลิซเข้ารหัสชื่อของเธอโดยใช้ one-time pad
-
มันก็เหมือนกับการเลือกกระดาษหนึ่งแผ่นอย่างสุ่ม
-
จากมุมมองของอีฟ ผู้พยายามไขรหัส
-
คำที่มีห้าตัวอักษรนั้น
-
มีโอกาสเป็นคำใดในตั้งนี้ก็ได้พอๆ กัน
-
นี่คือความลับสุดยอดที่ใช้ได้จริง
-