วิธีที่นักวิทยาศาสตร์คนหนึ่งท้าทายอุตสาหกรรมเคมี - มาร์ค ไลเทิล
-
0:07 - 0:10ในปี ค.ศ. 1958 เรเชล คาร์สัน
ได้รับจดหมายฉบับหนึ่ง -
0:10 - 0:13ซึ่งเขียนถึงนกที่ล่วงหล่นลงมาจาก
กิ่งก้านของต้นไม้ -
0:13 - 0:17นักเขียนได้โทษการตายของนกเหล่านี้
แก่ยาฆ่าแลงที่ชื่อว่า DDT -
0:17 - 0:20ซึ่งพวกบริษัทกำจัดแมลง
ได้ฉีดพ่นที่บึงใกล้ ๆ -
0:20 - 0:24จดหมายนี้เป็นนแรงผลักให้คาร์สัน
สอบสวนเรื่อง DDT -
0:24 - 0:28ก่อนหน้านี้เธอได้ฟังมาจากนักวิทยาศาสตร์
และนักอนุรักษ์ว่ามีความกังวลว่า -
0:28 - 0:32การใช้ยาฆ่าแมลงอย่างมากมาย
จะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อ ปลา นก -
0:32 - 0:34และอาจส่งผลต่อมนุษย์ด้วย
-
0:34 - 0:37เธอได้เริ่มสอบถามผ่านคนรู้จักในรัฐบาล
-
0:37 - 0:40ซึ่งเธอได้รู้จักตอนที่ทำงาน
ในสำนักประมงสหรัฐอเมริกา -
0:40 - 0:46เธอถามว่า "อะไรได้ทำให้ฤดูไบไม้ผลิเงิยบไป"
-
0:46 - 0:51ในปีค.ศ.1962 คาร์สันตีพิมพ์สิ่งที่เธอค้นพบ
ในหนังสือ "ฤดูใบไม้ผลิที่เงียบ" -
0:51 - 0:54หนังสือเธอบันทึกการใช้สารเคมีในทางที่ผิด
-
0:54 - 0:56และผลกระทบต่อธรรมชาติและสุขภาพมนุษย์
-
0:56 - 1:01"ฤดูใบไม้ผลิที่เงียบ" ได้รับทั้งคำชมเชย
และคัดค้านในทันที -
1:01 - 1:04รวมไปถึงการโจมตีนักเขียนอย่างรุนแรง
-
1:04 - 1:10นักชีววิทยาและนักเขียนผู้อ่อนโยนคนนี้ทำให้
เกิดการโต้เถียงอย่างรุนแรงแบบนี้ได้อย่างไร -
1:10 - 1:14คาร์สันได้เริ่มต้นชีวิตการทำงานจากการเป็น
นักศึกษาบัณฑิตศึกษาที่ขยัน -
1:14 - 1:18เธอทำสองอย่าง ทั้งเรียนชีววิทยา
ที่มหาวิทยาลัย จอห์น ฮอปกินส์ -
1:18 - 1:19และทำงานพาร์ทไทม์
-
1:19 - 1:22แต่เธอจำเป็นต้องลาออกจากมหาวิทยาลัย
ก่อนที่จะจบปริญญาเอก -
1:22 - 1:25เพื่อหารายได้เพื่อเลี้ยง
น้องสาวและคุณพ่อที่ป่วย -
1:25 - 1:28คาร์สันทำงานพาร์ทไทม์
ที่สำนักประมงสหรัฐอเมริกา -
1:28 - 1:32โดยเขียนเรื่องเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ทางทะเล
ให้กับรายการวิทยุ -
1:32 - 1:36ความสามารถในการเขียนเนื้อหา
ที่ทำให้ประชาชนทั่วไปสนใจ -
1:36 - 1:39ทำให้เหล่าผู้บังคับบัญชาประทับใจ
และในปี ค.ศ. 1936 -
1:39 - 1:43เธอกลายเป็นผู้หญิงคนที่ 2 ที่ถูกจ้างโดย
สำนักประมงสหรัฐอเมริกาให้ทำงานเต็มเวลา -
1:43 - 1:48ในปี ค.ศ. 1941 เธอตีพิมพ์หนังสือเล่มแรก
จากทั้งหมด 3 เล่มที่เกี่ยวกับมหาสมุทร -
1:48 - 1:52เธอเขียนเนื้อหาวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับ
เรื่องโลกใต้ผิวน้ำอย่างไพเราะ -
1:52 - 1:57หนังสือเหล่านี้ เข้าถึงผู้ชมหลายคน
-
1:57 - 1:59ในหนังสือ "ฤดูใบไม้ผลิที่เงียบ"
คาร์สันให้ความสนใจ -
1:59 - 2:04กับพฤติกรรมของมนุษย์
ที่ทำลายสมดุลของธรรมชาติ -
2:04 - 2:09แต่เดิม DDT ถูกใช้ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
เพื่อปกป้องพืชจากแมลงต่าง ๆ -
2:09 - 2:12และปกป้องทหารจากโรคที่แมลงเป็นพาหะนำโรค
-
2:12 - 2:17หลังสงคราม DDT ถูกพ่นเป็นประจำ
ในวงกว้างเพื่อจัดการกับศัตรูพืช -
2:17 - 2:20โดยบ่อยครั้งเกิดผลลัพธ์ที่คาดไม่ถึง
-
2:20 - 2:23ครั้งหนึ่ง ในการพยายามที่จะกำจัดมดแดง
ในพื้นที่ตอนใต้ของสหรัฐ -
2:23 - 2:29DDT ได้ฆ่าสัตว์ป่า
แต่ไม่สามารถกำจัดมดแดงได้ -
2:29 - 2:33ทั้ง ๆ ที่เกิดเหตุการณ์แบบนี้
กรมวิชาการเกษตรแห่งสหรัฐอเมริกา -
2:33 - 2:37และบริษัทสารเคมี
ต่างยกย่องประโยชน์ของ DDT -
2:37 - 2:41มีข้อบังคับและการรับรู้ของประชาชน
น้อยมากเกี่ยวกับอันตรายของมัน -
2:41 - 2:44แต่คาร์สันแสดงให้เห็นว่าการใช้สารเคมี
เกินความจำเป็น -
2:44 - 2:47ก่อให้เกิดการวิวัฒนาการของ
สิ่งมีชีวิตที่ทนทานต่อ DDT -
2:47 - 2:52ซึ่งก่อให้มีการพัฒนาสารเคมี
ที่อันตรายกว่าเดิม -
2:52 - 2:54เนื่องจาก DDT ไม่ละลายในน้ำ
-
2:54 - 2:59เธอยืนยันว่าเมื่อเวลาผ่านไป
DDT จะสะสมในสิ่งแวดล้อม -
2:59 - 3:03ในร่างกายของแมลง
ในเนื้อเยื้อของสัตว์ที่กินแมลงเหล่านั้น -
3:03 - 3:05และท้ายที่สุดจะสะสมในมนุษย์ด้วย
-
3:05 - 3:10เธอเสนอว่า การสัมผัสกับ DDT
อาจทำให้โครงสร้างพันธุกรรมเปลี่ยนไป -
3:10 - 3:14โดยไม่ทราบผลกระทบที่อาจเกิดต่อรุ่นถัด ๆ ไป
-
3:14 - 3:17การตอบสนองต่อ "ฤดูใบไม้ผลิที่เงียบ"
รุนแรงมาก -
3:17 - 3:21สำหรับหลาย ๆ คน หนังสือเล่มนี้
เป็นการเตือนให้มีการจัดการสารเหล่านี้ -
3:21 - 3:23ซึ่งมีความสามารถในการทำลายล้างสูง
-
3:23 - 3:27คนอื่นค้านว่า คาร์สันไม่ได้เขียนถึง
บทบาทของ DDT -
3:27 - 3:30ซึ่งควบคุมอันตรายจากแมลงที่มีต่อมนุษย์
-
3:30 - 3:35อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร
เอซรา ทาฟ เบนสัน กล่าวว่า -
3:35 - 3:40"ไม่รู้ว่าทำไมสาวแก่ที่ไม่มีลูก
ถึงสนใจเรื่องพันธุกรรมมากขนาดนี้" -
3:40 - 3:45และไม่สนใจคาร์สันโดยทิ้งท้ายว่า
"เธอน่าจะเป็นคอมมิวนิสต์" -
3:45 - 3:50ทนายของบริษัทยาฆ่าแมลงแห่งหนึ่ง
พาดพิงถึงคาร์สัน และผู้สนับสนุนของเธอว่า -
3:50 - 3:56เป็นอิทธิพลที่มุ่งร้าย และมีเจตนา
ที่จะต่อว่าธุรกิจ ว่าทำสิ่งที่ผิดศีลธรรม -
3:56 - 3:59ในความจริงแล้ว คาร์สันได้ตั้งใจเขียนถึง
อันตรายของสารเคมีเหล่านี้ -
3:59 - 4:04เพราะยังเป็นข้อมูลที่ไม่รู้กันทั่วไป
ในขณะที่ประโยชน์ของมันถูกเผยแพร่อย่างมาก -
4:04 - 4:06เธอปฏิเสธความเชื่อที่มีอยู่ทั่วไปว่า
-
4:06 - 4:09มนุษย์ควร และ สามารถที่จะควบคุมธรรมชาติได้
-
4:09 - 4:12เธอท้าทายให้ผู้คนฝึกฝน
-
4:12 - 4:17"การเป็นเจ้าของตนเอง
ไม่ใช้เจ้าของธรรมชาติ" แทน -
4:17 - 4:20คาร์สันเสียชีวิตจากโรคมะเร็ง
ในปี ค.ศ. 1964 -
4:20 - 4:242 ปี หลังจากการตีพิมพ์หนังสือ
"ฤดูใบไม้ผลิที่เงียบ" -
4:24 - 4:29งานของเธอได้ปลุกเร้า
นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในรุ่นถัด ๆ ไป -
4:29 - 4:32ในปี ค.ศ. 1969 ภายใต้ความกดดันจาก
นักสิ่งแวดล้อม -
4:32 - 4:36รัฐสภาได้ผ่าน
กฎหมายนโบยสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ -
4:36 - 4:42ซึ่งบังคับให้หน่วยงานรัฐบาลกลางต้อง
ประเมินผลกระทบของการกระทำต่อสิ่งแวดล้อม -
4:42 - 4:43เพื่อบังคับใช้กฎหมายนี้
-
4:43 - 4:47ประธานาธิบดี ริชาร์ด นิกสัน ได้สร้าง
สำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมสหรัฐ (EPA) -
4:47 - 4:54และในปี ค.ศ. 1972 EPA ได้ออกคำสั่ง
ห้ามใช้ DDT -
4:54 - 4:58นานหลังจากที่เธอเสียชีวิต เรเชล คาร์สัน
ยังคงสนับสนุนเรื่องธรรมชาติ -
4:58 - 5:01ผ่านอิทธิผลของหนังสือที่เธอเขียนไว้
- Title:
- วิธีที่นักวิทยาศาสตร์คนหนึ่งท้าทายอุตสาหกรรมเคมี - มาร์ค ไลเทิล
- Speaker:
- มาร์ค ไลเทิล
- Description:
-
สามารถชมบทเรียนเต็มรูปแบได้ที่://ed.ted.com/lessons/how-one-scientist-took-on-the-chemical-industry-mark-lytle
ในปี ค.ศ. 1958 หลังจากที่ได้รับจดหมายฉบับหนึ่งซึ่งเขียนไว้ว่ามีนกร่วงมาจากกิ่งต้นไม้เนื่องจากยาฆ่าแมลงที่มีชื่อว่า DDT เรเชล คาร์สัน เริ่มสอบสวนเรื่องการใช้สารเคมีและผลกระทบที่มีต่อธรรมชาติ ในปี ค.ศ. 1962 เธอได้ตีพิมพ์สิ่งที่เธอค้นพบในหนังสือ "ฤดูใบไม้ผลิที่เงียบ" ซึ่งได้รับทั้งคำชมเชยและคำคัดค้าน นักชีววิทยาและนักเขียนคนนี้ทำให้เกิดการโต้เถียงอย่างรุนแรงแบบนี้ได้อย่างไร? มาร์ค ไลเทิล ได้สืบสวนมา
บทเรียน โดย มาร์ค ไลเทิล
กำกับโดย เฮลอยส์ ดอร์ซาน ราเชต์ - Video Language:
- English
- Team:
closed TED
- Project:
- TED-Ed
- Duration:
- 05:03
![]() |
Sakunphat Jirawuthitanant edited Thai subtitles for How one scientist took on the chemical industry | |
![]() |
Sakunphat Jirawuthitanant approved Thai subtitles for How one scientist took on the chemical industry | |
![]() |
Sakunphat Jirawuthitanant accepted Thai subtitles for How one scientist took on the chemical industry | |
![]() |
Sakunphat Jirawuthitanant edited Thai subtitles for How one scientist took on the chemical industry | |
![]() |
Ayumi Kokubo edited Thai subtitles for How one scientist took on the chemical industry | |
![]() |
Ayumi Kokubo edited Thai subtitles for How one scientist took on the chemical industry | |
![]() |
Ayumi Kokubo edited Thai subtitles for How one scientist took on the chemical industry | |
![]() |
Ayumi Kokubo edited Thai subtitles for How one scientist took on the chemical industry |