< Return to Video

Introduction to interval notation

  • 0:01 - 0:02
    สิ่งที่ผมอยากทำในวิดีโอนี้คือทำความ
  • 0:02 - 0:05
    คุ้นเคยกับสัญลักษณ์ของช่วง
  • 0:05 - 0:07
    และคิดถึงวิธีที่เราแสดงช่วง
  • 0:07 - 0:09
    หรือการเขียนช่วงได้
  • 0:09 - 0:12
    ตรงนี้ ผมมีเส้นจำนวน
  • 0:12 - 0:15
    สมมุติว่าผมอยากพูดถึงช่วงบน
  • 0:15 - 0:20
    เส้นจำนวนที่ไปจากลบ 3 ถึง 2
  • 0:21 - 0:24
    ผมสนใจอันนี้ -- ขอผมใช้อีกสีนะ
  • 0:24 - 0:27
    สมมุติว่าผมสนใจช่วงนี่ตรงนี้
  • 0:27 - 0:32
    ผมสนใจจำนวนทุกตัวจากลบ 3 ถึง 2
  • 0:32 - 0:35
    เพื่อให้ชัดเจนขึ้น ผมต้องบอกให้ชัด
  • 0:35 - 0:38
    ผมรวมลบ 3 กับ 2 ด้วย
  • 0:38 - 0:40
    หรือผมไม่รวมลบ 3 กับ 2
  • 0:40 - 0:43
    หรือผมอาจรวมแค่ตัวใดตัวหนึ่ง
  • 0:43 - 0:46
    ถ้าผมรวมลบ 3 และ 2
  • 0:46 - 0:48
    ผมก็จะเติมลงไป
  • 0:48 - 0:51
    ตรงนี้ ผมจะเติมลบ 3 กับ
  • 0:51 - 0:54
    2 ซึ่งหมายความว่าลบ 3 กับ 2
  • 0:54 - 0:55
    เป็นส่วนหนึ่งของช่วงนี้
  • 0:55 - 0:58
    และเมื่อคุณรวมจุดปลาย
  • 0:58 - 1:00
    นี่เรียกว่าช่วงปิด
  • 1:00 - 1:02
    ช่วงปิด
  • 1:04 - 1:06
    และผมเพิ่งแสดงวิธีวาดมัน
  • 1:06 - 1:10
    บนเส้นจำนวน โดยเติมจุดปลายให้เต็ม
  • 1:10 - 1:12
    และมันมีวิธีพูดถึง
  • 1:12 - 1:14
    ช่วงนี้ในทางคณิตศาสตร์หลายวิธี
  • 1:14 - 1:17
    ผมบอกได้ว่า นี่คือ --
  • 1:17 - 1:19
    สมมุติว่าเส้นจำนวนนี้
  • 1:19 - 1:21
    แสดงค่าต่างๆ ของ x
  • 1:21 - 1:24
    ผมบอกได้ว่า นี่คือค่า x ทั้งหมด
  • 1:24 - 1:29
    ที่อยู่ระหว่างลบ 3 กับ 2
  • 1:31 - 1:36
    และสังเกตว่า ผมมีลบ 3 น้อยกว่าเท่ากับ x
  • 1:36 - 1:39
    มันบอกเราว่า x เท่ากับ
  • 1:39 - 1:42
    x เท่ากับลบ 3 ได้
  • 1:42 - 1:46
    แล้วเรามี x น้อยกว่าเท่ากับบวก 2
  • 1:46 - 1:48
    นั่นหมายความว่า x เท่ากับบวก 2 ได้
  • 1:48 - 1:50
    มันจึงเป็นช่วงปิด
  • 1:50 - 1:53
    อีกวิธีที่เขียนช่วงปิดนี้ได้
  • 1:53 - 1:56
    คือเราบอกว่า โอเค เรากำลังพูดถึงช่วง
  • 1:56 - 1:59
    ระหว่าง เราใช้วงเล็บเหลี่ยม
  • 1:59 - 2:00
    เพราะมันเป็นช่วงปิด
  • 2:00 - 2:04
    ลบ 3 กับ 2 และย้ำอีกครั้ง
  • 2:04 - 2:06
    ผมใช้วงเล็บเหลี่ยมตรงนี้
    วงเล็บเหล่านี้บอกเราว่า
  • 2:06 - 2:09
    ว่าเรารวม วงเล็บเหลี่ยมทางซ้ายบอกว่า
  • 2:09 - 2:12
    เรารวมลบ 3 และวงเล็บเหลี่ยมทางขวา
  • 2:12 - 2:16
    บอกเราว่าเรารวมบวก 2 ในช่วงนี้
  • 2:16 - 2:18
    บางครั้ง คุณอาจเห็นสิ่ง
  • 2:18 - 2:19
    ที่เขียนเป็นคณิตศาสตร์มากกว่าหน่อย
  • 2:19 - 2:24
    คุณอาจเห็น x เป็นสมาชิกของจำนวนจริงที่ --
  • 2:26 - 2:28
    และคุณใช้วงเล็บปีกการอบมันแบบนี้
  • 2:28 - 2:29
    วงเล็บปีกกาเหล่านี้บอกว่า
  • 2:29 - 2:32
    เรากำลังพูดถึงเซตจำนวน
  • 2:32 - 2:34
    และเรากำลังบอกว่าเซตของ x ทั้งหมด
  • 2:34 - 2:36
    ที่เป็นสมาชิกของจำนวนจริง
  • 2:36 - 2:38
    นี่ก็แค่สัญลักษณ์คณิตศาสตร์สวยหรู
  • 2:38 - 2:40
    มันเป็นสมาชิกของจำนวนจริง
  • 2:40 - 2:43
    ผมใช้ตัวอักษรกรีก เอบซิลอน ตรงนี้
  • 2:43 - 2:45
    มันเป็นสมาชิกของจำนวนจริงที่
  • 2:45 - 2:49
    เส้นแนวตั้งนี่หมายความว่า "ที่"
  • 2:49 - 2:51
    ลบ 3 น้อยกว่า x น้อยกว่า --
  • 2:51 - 2:53
    ลบ 3 น้อยกว่าเท่ากับ x
  • 2:53 - 2:55
    น้อยกว่าเท่ากับ 2
  • 2:55 - 2:57
    ผมเขียนมันได้แบบนี้
  • 2:57 - 3:00
    ผมเขียน x ได้ว่าเป็นสมาชิกของจำนวนจริง
  • 3:00 - 3:05
    โดยที่ x เป็นสมาชิก โดยที่ x เป็นสมาชิก
  • 3:05 - 3:10
    ของเซตปิดนี่ ผมรวมจุดปลายตรงนี้ดวย
  • 3:11 - 3:14
    พวกนี้คือวิธีเขียน
  • 3:14 - 3:17
    หรือแสดงช่วงเดียวกัน
  • 3:17 - 3:19
    ลองทำตัวอย่างอีกกัน
  • 3:19 - 3:22
    ลอง -- ขอผมวาดเส้นจำนวนอีกที
  • 3:22 - 3:24
    เส้นจำนวน
  • 3:24 - 3:28
    และขอผม -- ขอผมวาดช่วงเปิด
  • 3:28 - 3:29
    ช่วงเปิดที่
  • 3:29 - 3:32
    เราเห็นความแตกต่างชัดเจน
  • 3:33 - 3:35
    สมมุติว่าผมอยากพูดถึง
  • 3:35 - 3:38
    ค่าระหว่างลบ 1 กับ 4
  • 3:38 - 3:40
    ขอผมใช้อีกสีนะ
  • 3:40 - 3:45
    ค่าระหว่างลบ 1 กับ 4
  • 3:45 - 3:48
    แต่ผมไม่อยากรวมลบ 1 กับ 4
  • 3:48 - 3:50
    นี่ก็คือช่วงเปิด
  • 3:50 - 3:51
    ผมจะไม่รวม 4
  • 3:51 - 3:55
    และผมจะไม่รวมลบ 1
  • 3:55 - 3:58
    สังเกตว่าผมมีวงกลมเปิดตรงนี้
  • 3:58 - 4:00
    ตรงนี้มีวงกลมปิด วงกลมปิดบอกเรา
  • 4:00 - 4:02
    ว่าผมรวมลบ 3 กับ 2
  • 4:02 - 4:05
    ตอนนี้ผมมีวงกลมเปิดตรงนี้ มันบอกว่าผมไม่รวม
  • 4:05 - 4:08
    มันคือทุกค่าระหว่างลบ 1 กับ 4
  • 4:09 - 4:12
    ลบ .999999 จะรวมอยู่ด้วย
  • 4:12 - 4:14
    แต่ลบ 1 ไม่รวมอยู่
  • 4:14 - 4:17
    และ 3.9999999 รวมอยู่ด้วย
  • 4:17 - 4:20
    แต่ 4 ไม่รวมอยู่ในเซต
  • 4:20 - 4:21
    แล้วเรา --
  • 4:21 - 4:24
    สัญลักษณ์สำหรับอันนี้คืออะไร?
  • 4:24 - 4:27
    ตรงนี้เราบอกได้ว่า x จะเท่ากับสมาชิก
  • 4:27 - 4:32
    ของจำนวนจริงที่ลบ 1 --
  • 4:32 - 4:33
    ผมจะไม่บอกว่าน้อยกว่าเท่ากับ
  • 4:33 - 4:36
    เพราะ x เท่ากับลบ 1 ไม่ได้
  • 4:36 - 4:39
    ลบ 1 น้อยกว่า x จริงๆ
  • 4:39 - 4:41
    และน้อยกว่า 4 จริงๆ
  • 4:41 - 4:43
    สังเกตว่ามันไม่ใช่ น้อยกว่าเท่ากับ เพราะผม
  • 4:43 - 4:46
    เท่ากับ 4 ไม่ได้, 4 ไม่ได้รวมในนั้น
  • 4:46 - 4:48
    นั่นคือวิธีบอกอย่างหนึ่ง
  • 4:48 - 4:50
    อีกวิธี ผมเขียนมันอย่างนี้ได้
  • 4:50 - 4:54
    x เป็นสมาชิกของจำนวนจริงที่
  • 4:54 - 4:57
    x เป็นสมาชิกของ --
  • 4:57 - 5:01
    ช่วงนี้เริ่มจากลบ 1 ถึง 4
  • 5:01 - 5:02
    แต่ผมจะไม่ใช่วงเล็บเหลี่ยม
  • 5:02 - 5:05
    วงเล็บเหลี่ยมพวกนี้แปลว่า
    "เฮ้ รวมจุดปลายด้วย"
  • 5:05 - 5:06
    แต่ผมไม่รวมพวกมัน
  • 5:06 - 5:08
    ผมจึงใช้วงเล็บโค้งตรงนี้
  • 5:08 - 5:09
    วงเล็บโค้ง
  • 5:09 - 5:12
    นี่บอกเราว่าเรากำลังยุ่งกับช่วงเปิด
  • 5:12 - 5:14
    อันนี้ตรงนี้ ขอผมบอกให้ชัดนะ
  • 5:14 - 5:18
    นี่คือช่วงเปิด
  • 5:18 - 5:21
    ตอนนี้คุณอาจสงสัยว่า โอเค ในกรณีนี้
  • 5:21 - 5:23
    ปลายทั้งสองรวมอยู่ด้วย มันคือช่วงปิด
  • 5:23 - 5:26
    ในกรณีนี้ ปลายทั้งสองไม่นับรวม
  • 5:26 - 5:28
    มันคือช่วงเปิด
  • 5:28 - 5:29
    คุณมีช่วงที่ปลายหนึ่งรวมอยู่
  • 5:29 - 5:33
    แต่ไม่รวมอีกปลายไหม และคำตอบคือ แน่นอน
  • 5:33 - 5:35
    ลองดูตัวอย่างที่
  • 5:35 - 5:38
    ผมมีเส้นจำนวนอีกเส้นตรงนี้
  • 5:38 - 5:41
    เส้นจำนวนอีกเส้น
  • 5:41 - 5:43
    สมมุติว่าเราอยาก
  • 5:43 - 5:44
    ที่จริง ขอผมทำกลับกันดีกว่า
  • 5:44 - 5:47
    ขอผมเขียนช่วงก่อน แล้วผมค่อยวาดกราฟมัน
  • 5:47 - 5:49
    สมมุติว่าเรากำลังคิดถึงค่า x ทุกค่า
  • 5:49 - 5:54
    ที่เป็นสมาชิกของจำนวนจริงโดยที่
  • 5:57 - 6:00
    สมมุติว่าไม่รวมลบ 4, น้อยกว่า x
  • 6:00 - 6:03
    น้อยกว่าเท่ากับลบ 1
  • 6:03 - 6:05
    ตอนนี้เรารวมลบ 1
  • 6:05 - 6:07
    เราจะไม่รวมลบ 4
  • 6:07 - 6:08
    ลบ 4 น้อยกว่าอย่างเดียว
  • 6:08 - 6:10
    ไม่ใช่น้อยกว่าเท่ากับ
  • 6:10 - 6:13
    x จึงเท่ากับลบ 4 ไม่ได้ เปิดตรงนี้
  • 6:13 - 6:15
    แต่ x เท่ากับลบ 1 ได้
  • 6:15 - 6:17
    มันต้องน้อยกว่าหรือเท่ากับลบ 1
  • 6:17 - 6:19
    มันเท่ากับลบ 1 ได้
  • 6:19 - 6:21
    ผมจะเติมเต็มมันตรงนี้
  • 6:21 - 6:24
    และมันคือทุกค่าระหว่างนั้น
  • 6:24 - 6:28
    ถ้าผมอยาเขียนมันด้วยสัญลักษณ์นี้ ผมก็เขียน
  • 6:28 - 6:32
    x เป็นสมาชิกของจำนวนจริงที่
  • 6:32 - 6:36
    x เป็นสมาชิกของช่วง
  • 6:36 - 6:40
    และมันจะมีค่าระหว่างลบ 4 กับลบ 1
  • 6:40 - 6:42
    แต่เราไม่รวมลบ 4
  • 6:42 - 6:43
    เรามีวงกลมเปิดตรงนี้
  • 6:43 - 6:46
    และผมจะใส่วงเล็บโค้งด้านนั้น
  • 6:46 - 6:50
    แต่เราจะนับรวมลบ 1
  • 6:50 - 6:52
    เราจะรวมลบ 1
  • 6:52 - 6:56
    เราจึงใช้วงเล็บเหลี่ยมด้านนั้น
  • 6:56 - 7:00
    นั่นคือสัญลักษณ์
  • 7:00 - 7:02
    ทีนี้ สิ่งอื่นที่คุณทำได้
  • 7:02 - 7:03
    กับสัญลักษณ์ช่วง
  • 7:03 - 7:06
    คุณอาจบอกว่า เฮ้ ทุกอย่างยกเว้นบางค่าล่ะ
  • 7:06 - 7:08
    ขอผมยกตัวอย่างนะ
  • 7:08 - 7:11
    ลองดูตัวอย่างอีกอันตรงนี้
  • 7:11 - 7:15
    สมมุติว่าเราอยากพูดถึงจำนวนจริงทั้งหมด
  • 7:15 - 7:17
    ยกเว้น 1
  • 7:17 - 7:22
    เราอยากรวมจำนวนจริงทุกตัว
  • 7:23 - 7:28
    จำนวนจริงทุกตัวยกเว้น 1
  • 7:29 - 7:32
    ยกเว้น 1 เราจะไม่นับ 1 ตรงนี้
  • 7:32 - 7:37
    วงกลมเปิด แต่ผมจำนวนจริงอื่นใดก็ได้
  • 7:37 - 7:41
    แล้วเราจะเขียนอันนี้อย่างไร?
  • 7:42 - 7:47
    เราเขียน x ได้ว่าเป็นสมาชิกของจำนวนจริง
  • 7:48 - 7:53
    โดยที่ x ไม่เท่ากับ 1
  • 7:55 - 7:57
    ตรงนี้ผมบอกว่า x เป็นสมาชิก
    ของจำนวนจริงใดก็ได้
  • 7:57 - 7:59
    แต่ x เท่ากับ 1 ไม่ได้
  • 7:59 - 8:02
    มันเป็นอย่างอื่นได้หมด แต่มันเท่ากับ 1 ไม่ได้
  • 8:02 - 8:05
    และมีวิธีเขียนช่วงเดียวกันนี้ได้
  • 8:05 - 8:10
    เราบอกว่า x เป็นสมาชิกของจำนวนจริง
  • 8:11 - 8:16
    โดยที่ x น้อยกว่า 1
  • 8:17 - 8:21
    หรือ x มากกว่า 1
  • 8:21 - 8:24
    คุณก็เขียนมันอย่างนั้นได้
  • 8:24 - 8:26
    หรือคุณทำสิ่งที่น่าสนใจได้
  • 8:26 - 8:28
    นี่คืออันที่ผมจะใช้ นี่คืออันที่สั้นที่สุด
  • 8:28 - 8:29
    และบอกชัดเจน
  • 8:29 - 8:31
    คุณบอกว่า เฮ้ ทุกอย่างยกเว้น 1
  • 8:31 - 8:33
    แต่คุณทำแบบหรูหรา อย่างเช่นคุณบอกว่า
  • 8:33 - 8:37
    x เป็นสมาชิกของจำนวนจริงโดยที่
    x เป็นสมาชิก
  • 8:37 - 8:42
    ของเซตจากลบอนันต์ถึง 1
  • 8:42 - 8:47
    ไม่รวมหนึ่ง หรือ x เป็นสมาชิกของเซตจาก --
  • 8:48 - 8:51
    หรือสมาชิกจของช่วงจาก 1
  • 8:51 - 8:54
    ไม่รวม 1 ไปจนถึงอนันต์
  • 8:54 - 8:56
    ไปจนถึงบวกอนันต์
  • 8:56 - 8:59
    และเวลาเราพูดถึงลบอนันต์
  • 8:59 - 9:02
    หรือบวกอนันต์ คุณจะใช้วงเล็บโค้งเสมอ
  • 9:02 - 9:06
    และวิธีมองคือว่า คุณไม่สามารถรวมทุกอย่าง
  • 9:06 - 9:07
    จนถึงอนันต์ได้
  • 9:07 - 9:09
    มันจึงต้องเปิดที่จุดปลาย
  • 9:09 - 9:12
    เพระาอนันต์ยาวต่อไปเรื่อยๆ
  • 9:12 - 9:14
    คุณจึงอยากใส่วงเล็บโค้งถ้าคุณ
  • 9:14 - 9:16
    พูดถึงอนันต์ หรือลบอนันต์
  • 9:16 - 9:16
    มันไม่ใช่จุดปลายจริงๆ
  • 9:16 - 9:18
    มันยาวเรื่อยๆ ตลอดไป
  • 9:18 - 9:20
    คุณจึงใช้สัญลักษณ์สำหรับช่วงเปิด
  • 9:20 - 9:23
    อย่างน้อยที่ปลายนั้น และสังเกตว่าเราไม่ได้รวม
  • 9:23 - 9:26
    เราไม่รวมอันนี้ ถ้า x เป็นสมาชิก
  • 9:26 - 9:28
    ของช่วงนี้หรือช่วงนั้น
  • 9:28 - 9:30
    มันเป็นอะไรก็ตามนอกจาก 1
  • 9:30 - 9:32
    แต่อันนี้คือสัญลักษณ์ที่ง่ายที่สุด
  • 9:32 - 9:34
    ที่บรรยายเซตนั้น
Title:
Introduction to interval notation
Description:

more » « less
Video Language:
English
Team:
Khan Academy
Duration:
09:36

Thai subtitles

Revisions