< Return to Video

แดน อรายลี่ กับ ศีลธรรมที่บกพร่อง

  • 0:01 - 0:03
    วันนี้ ผมอยากจะพูดถึง
  • 0:03 - 0:06
    ความไร้เหตุผลที่คาดการณ์ได้
  • 0:06 - 0:10
    ความสนใจที่ผมมีต่อความไร้เหตุผลเหล่านี้
  • 0:10 - 0:13
    เริ่มต้นเมื่อหลายปีก่อนในโรงพยาบาล
  • 0:13 - 0:17
    ผมถูกไฟครอกอย่างรุนแรง
  • 0:17 - 0:20
    และถ้าคุณต้องอยู่โรงพยาบาลนานๆ
  • 0:20 - 0:23
    คุณจะเห็นความไร้เหตุผลมากมายหลายอย่าง
  • 0:23 - 0:28
    และสิ่งหนึ่งซึ่งเกิดขึ้นในแผนกแผลไฟไหม้
  • 0:28 - 0:32
    ก็คือวิธีที่พยาบาลดึงผ้าพันแผลออกจากตัวผม
  • 0:33 - 0:35
    ถ้าวันนึงคุณต้องให้ใครดึงผ้าพันแผลออกจากตัวคุณ
  • 0:35 - 0:38
    คุณคงสงสัยว่า วิธีไหนคือวิธีที่ถูกต้อง
  • 0:38 - 0:42
    ดึงออกเร็วๆ -- ช่วงเวลาสั้นๆ แต่ความเจ็บปวดรุนแรง --
  • 0:42 - 0:44
    หรือดึงผ้าพันแผลออกช้าๆ
  • 0:44 - 0:48
    คุณจะเจ็บนาน แต่ไม่รุนแรง
  • 0:48 - 0:51
    แล้ววิธีไหนคือวิธีที่ถูกต้องล่ะ?
  • 0:51 - 0:55
    พยาบาลในแผนกคิดว่าวิธีที่ถูกต้อง
  • 0:55 - 0:58
    คือแบบแรก ดังนั้น เขาจึงใช้วิธีจับแน่นๆ แล้วดึง
  • 0:58 - 1:00
    แล้วเขาก็จับแน่นๆ แล้วก็ดึงอีก
  • 1:00 - 1:04
    และเพราะว่ากว่าร้อยละ 70 ของร่างกายผมถูกไฟครอก มันจึงใช้เวลากว่าชั่วโมง
  • 1:04 - 1:07
    คุณคงนึกภาพออก
  • 1:07 - 1:11
    ผมเกลียดช่วงเวลาที่เต็มไปด้วยความเจ็บปวดแสนสาหัสแบบนี้
  • 1:11 - 1:13
    ผมจึงพยายามใช้เหตุผลบอกพยาบาลว่า
  • 1:13 - 1:14
    "ทำไมเราไม่ลองวิธีอื่นบ้างครับ?
  • 1:14 - 1:16
    ทำไมไม่ลองดึงช้าๆ --
  • 1:16 - 1:21
    อาจจะใช้เวลาสองชั่วโมงแทนที่จะเป็นชั่วโมงเดียว -- ความเจ็บจะได้ลดลง?
  • 1:21 - 1:23
    คุณพยาบาลบอกผมสองอย่าง
  • 1:23 - 1:27
    พวกเขาบอกผมว่า พวกเขารู้วิธีการปฏิบัติต่อคนไข้ที่ถูกต้อง --
  • 1:27 - 1:30
    ว่านี่คือวิธีที่จะทำให้เจ็บน้อยที่สุด --
  • 1:30 - 1:33
    และยังบอกอีกว่า คำว่า patient (คนไข้ / ความอดทน) ไม่ได้แปลว่า
  • 1:33 - 1:35
    ให้คำแนะนำหรือก้าวก่าย...
  • 1:35 - 1:38
    อ้อ นี่ไม่ใช่ในภาษาฮีบรูเท่านั้นนะ
  • 1:38 - 1:41
    มันมีความหมายอย่างนี้ในทุกๆ ภาษา
  • 1:41 - 1:45
    ดังนั้น คุณคงรู้ว่า ผมทำอะไรมากไม่ได้
  • 1:45 - 1:48
    และพวกพยาบาลก็ทำแบบเดิมที่เคยทำต่อไป
  • 1:48 - 1:50
    สามปีต่อมา เมื่อผมออกจากโรงพยาบาล
  • 1:50 - 1:53
    ผมเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย
  • 1:53 - 1:56
    และหนึ่งในบทเรียนที่น่าสนใจที่สุดเท่าที่ผมเคยเรียนมา
  • 1:56 - 1:58
    ก็คือวิธีวิจัยแบบทดลอง
  • 1:58 - 2:02
    ซึ่งถ้าคุณมีคำถาม คุณสามารถสร้างแบบจำลองของคำถามเหล่านี้
  • 2:02 - 2:06
    ในรูปแบบที่เป็นนามธรรมบางอย่าง จากนั้นก็ศึกษาหาคำตอบต่อคำถามนั้น
  • 2:06 - 2:08
    และเราก็จะได้เรียนรู้บางอย่างเกี่ยวกับโลก
  • 2:08 - 2:10
    นั่นล่ะครับคือสิ่งที่ผมทำ
  • 2:10 - 2:11
    ผมยังคงสนใจ
  • 2:11 - 2:13
    ในคำถามเกี่ยวกับการดึงผ้าพันแผลออกจากตัวคนไข้
  • 2:13 - 2:16
    ในช่วงเริ่มต้น ผมไม่ได้มีเงินมากนัก
  • 2:16 - 2:20
    ผมเลยไปที่ร้านขายอุปกรณ์ก่อสร้าง และซื้อคีมของช่างไม้มา
  • 2:20 - 2:24
    จากนั้น ผมก็พาคนมาที่แล็บ และเอาคีมหนีบนิ้วของพวกเขา
  • 2:24 - 2:26
    ขบนิ้วพวกเขาจนเจ็บ
  • 2:26 - 2:28
    (เสียงหัวเราะ)
  • 2:28 - 2:31
    ผมบีบนิ้วผู้ร่วมการทดลองนานบ้าง สั้นบ้าง
  • 2:31 - 2:33
    ลองบีบให้เจ็บน้อยแล้วค่อยเพิ่มขึ้น แบบที่เจ็บมากก่อนแล้วน้อยลง
  • 2:33 - 2:37
    ทั้งมีหยุดพักและไม่หยุด -- มีทุกรูปแบบของความเจ็บ
  • 2:37 - 2:39
    พอทำให้เขาเจ็บตัวกันแล้ว ผมก็จะถามพวกเขาว่า
  • 2:39 - 2:41
    เจ็บไหม เจ็บยังไง
  • 2:41 - 2:43
    หรือถ้าให้เลือกระหว่างความเจ็บสองอย่างหลังสุด
  • 2:43 - 2:45
    คุณจะเลือกแบบไหน?
  • 2:45 - 2:48
    (เสียงหัวเราะ)
  • 2:48 - 2:51
    ผมทำแบบนี้อยู่พักหนึ่ง
  • 2:51 - 2:53
    (เสียงหัวเราะ)
  • 2:53 - 2:57
    แล้วจากนั้น, ก็เหมือนกับโครงการวิชาการดีๆ ทั่วไป, ผมได้เงินสนับสนุนมากขึ้น
  • 2:57 - 2:59
    ผมเลยเปลี่ยนไปใช้เสียง เครื่องช็อคไฟฟ้า --
  • 2:59 - 3:04
    ผมทำชุดสร้างความเจ็บปวดที่สามารถสร้างความเจ็บปวดให้คนที่สวมใส่ได้มากขึ้นไปอีก
  • 3:04 - 3:08
    หลังจากทำการทดลองพวกนี้เสร็จ
  • 3:08 - 3:11
    สิ่งที่ผมเรียนรู้คือ พวกพยาบาลคิดผิด
  • 3:11 - 3:14
    นี่คือคนที่น่ายกย่องด้วยความตั้งใจที่ดี
  • 3:14 - 3:16
    และมีประสบการณ์หลากหลาย แต่กระนั้น
  • 3:16 - 3:20
    พวกเขาเข้าใจผิดอยู่ตลอดเวลา
  • 3:20 - 3:23
    เพราะเราไม่ได้รับรู้ระยะเวลา
  • 3:23 - 3:25
    แบบเดียวกับที่เรารับรู้ความรุนแรงของความเจ็บปวด
  • 3:25 - 3:29
    ผมจะเจ็บน้อยลง ถ้าช่วงเวลามันนานขึ้น
  • 3:29 - 3:31
    และความเจ็บมันรุนแรงน้อยกว่า
  • 3:31 - 3:34
    เขาควรจะเริ่มดึงผ้าพันแผลที่หน้าของผมก่อน
  • 3:34 - 3:36
    ซึ่งเป็นที่ที่เจ็บมากที่สุด แล้วค่อยไปแกะที่ขา
  • 3:36 - 3:39
    ทำให้ผมรู้สึกว่ามันมีแนวโน้มดีขึ้นเรื่อยๆ
  • 3:39 - 3:40
    ซึ่งมันจะทำให้ผมรู้สึกเจ็บน้อยลงด้วย
  • 3:40 - 3:42
    และมันก็จะดีกว่าด้วย
  • 3:42 - 3:44
    ถ้ามีช่วงพักในช่วงกลางๆ ให้หายเจ็บสักหน่อย
  • 3:44 - 3:46
    ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องที่ควรทำ
  • 3:46 - 3:49
    แต่พยาบาลไม่เคยคิดจะทำ
  • 3:49 - 3:50
    จากจุดนี้ ผมเริ่มคิดว่า
  • 3:50 - 3:53
    พยาบาลเป็นคนกลุ่มเดียวในโลกหรือเปล่า
  • 3:53 - 3:56
    ที่ตัดสินใจอะไรผิดพลาด หรือมันเกิดกับคนทั่วไป?
  • 3:56 - 3:58
    ที่จริงแล้ว มันเกิดขึ้นกับคนทั่วไปครับ
  • 3:58 - 4:01
    คนเราตัดสินใจผิดพลาดมากมาย
  • 4:01 - 4:06
    ผมอยากจะยกตัวอย่างหนึ่งของความไร้เหตุผลพวกนี้
  • 4:06 - 4:09
    นั่นก็คือ การทุจริต
  • 4:09 - 4:11
    เหตุผลที่ผมยกเอาเรื่องการทุจริตมาพูดก็เพราะมันน่าสนใจ
  • 4:11 - 4:13
    แต่ผมว่ามันบอกอะไรเราบางอย่าง
  • 4:13 - 4:16
    เกี่ยวกับสถานการณ์ตลาดหลักทรัพย์ในปัจจุบัน
  • 4:16 - 4:19
    ความสนใจเรื่องการทุจริตของผมเริ่มมาจาก
  • 4:19 - 4:21
    กรณีของเอนรอนที่เป็นข่าวอื้อฉาวอย่างรวดเร็ว
  • 4:21 - 4:24
    ผมเริ่มคิดว่า มันเกิดอะไรขึ้น
  • 4:24 - 4:25
    นี่มันเป็นเพียงแค่
  • 4:25 - 4:28
    ปลาเน่าตัวเดียว ที่ทำอะไรแย่ๆ แบบนี้
  • 4:28 - 4:30
    หรือจริงๆ มันเป็นโรคระบาด
  • 4:30 - 4:34
    คนมากมายก็ทำแบบเดียวกันนี้
  • 4:34 - 4:38
    ผมก็เลยออกแบบการทดลองง่ายๆ
  • 4:38 - 4:39
    ผมทำอย่างนี้ครับ
  • 4:39 - 4:42
    ถ้าคุณเข้าร่วมการทดลอง ผมจะให้กระดาษคุณหนึ่งแผ่น
  • 4:42 - 4:46
    กับโจทย์เลขง่ายๆ 20 ข้อที่คุณแก้ได้แน่นอน
  • 4:46 - 4:48
    แต่ผมจะให้เวลาคุณสั้นๆ แบบทำไม่ทัน
  • 4:48 - 4:50
    เมื่อห้านาทีหมดลง ผมจะบอกว่า
  • 4:50 - 4:53
    "คืนกระดาษให้ผม แล้วผมจะจ่ายคุณข้อละหนึ่งดอลลาร์"
  • 4:53 - 4:57
    ทุกคนทำตามนี้ แล้วผมก็จ่ายให้พวกเขาประมาณสี่ดอลลาร์เป็นการตอบแทน
  • 4:57 - 4:59
    เฉลี่ยก็คือพวกเขาทำได้สี่ข้อ
  • 4:59 - 5:02
    กับคนอีกกลุ่มหนึ่ง ผมเปิดโอกาสให้เขาโกง
  • 5:02 - 5:03
    ผมส่งกระดาษให้ผู้ร่วมการทดลองคนละแผ่น
  • 5:03 - 5:05
    เมื่อครบห้านาที ผมจะบอกว่า
  • 5:05 - 5:06
    "ฉีกกระดาษแผ่นนั้น
  • 5:06 - 5:09
    แล้วเก็บมันใส่ในกระเป๋าหรือเป้ของคุณ
  • 5:09 - 5:12
    จากนั้นมาบอกผมว่าคุณทำถูกกี่ข้อ"
  • 5:12 - 5:15
    คราวนี้พวกเขาทำถูกเฉลี่ยเจ็ดข้อแฮะ
  • 5:15 - 5:20
    นี่แสดงว่ามันไม่ใช่แค่ปลาเน่าไม่กี่ตัว --
  • 5:20 - 5:23
    หรือคนแค่ไม่กี่คนโกงมากๆ
  • 5:23 - 5:26
    ในทางกลับกัน มีคนจำนวนมากที่โกงเล็กๆ น้อยๆ ด้วย
  • 5:26 - 5:29
    ในทางเศรษฐศาสตร์แล้ว
  • 5:29 - 5:32
    การโกงคือการวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนแบบง่ายๆ
  • 5:32 - 5:34
    เราจะคิดว่า โอกาสที่จะถูกจับได้มีมากแค่ไหน?
  • 5:34 - 5:37
    จะได้ผลตอบแทนเท่าไหร่จากการโกง?
  • 5:37 - 5:39
    และถ้าโดนจับได้จะถูกลงโทษอย่างไร?
  • 5:39 - 5:41
    จากนั้นก็ชั่งน้ำหนักเอา
  • 5:41 - 5:43
    คุณแค่วิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนแบบง่ายๆ
  • 5:43 - 5:46
    คุณก็ตัดสินใจได้แล้วว่าคุณจะก่ออาชญากรรมหรือไม่
  • 5:46 - 5:48
    ดังนั้น เราพยายามที่จะทดสอบสิ่งเหล่านี้
  • 5:48 - 5:52
    กับผู้ร่วมการทดลองบางกลุ่ม เราเพิ่มลดจำนวนเงินที่เขามีโอกาสโกงได้
  • 5:52 - 5:53
    เพื่อดูว่าเขาจะโกงมากน้อยสักแค่ไหน
  • 5:53 - 5:56
    เราจ่ายตั้งแต่ 10 เซนต์ต่อข้อ, 50 เซนต์,
  • 5:56 - 5:59
    1 ดอลลาร์, 5 ดอลลาร์, 10 ดอลลาร์ต่อข้อที่ทำถูก
  • 5:59 - 6:03
    คุณอาจคิดว่า เมื่อจำนวนเงินมากขึ้น
  • 6:03 - 6:06
    คนก็น่าจะโกงมากขึ้น แต่ความจริงแล้วไม่ใช่แบบนั้นเสมอไป
  • 6:06 - 6:09
    มีคนจำนวนมากที่โกงเฉพาะตอนที่เงินน้อยๆ
  • 6:09 - 6:12
    แล้วเรื่องโอกาสที่จะโดนจับได้ล่ะ?
  • 6:12 - 6:14
    ในบางกลุ่มเราให้ฉีกกระดาษแค่ครึ่งเดียว
  • 6:14 - 6:15
    แปลว่ายังมีโอกาสโดนจับได้
  • 6:15 - 6:17
    บางกลุ่มเราให้ฉีกทั้งแผ่น
  • 6:17 - 6:20
    บางคนฉีกทุกอย่าง เดินออกจากห้อง
  • 6:20 - 6:23
    แล้วไปหยิบเงินเอาเองจากกล่องที่มีเงินอยู่มากกว่า 100 ดอลลาร์
  • 6:23 - 6:26
    คุณคงคิดว่า เมื่อโอกาสที่จะถูกจับได้ลดลง
  • 6:26 - 6:29
    พวกเขาจะโกงมากขึ้น แต่ก็อีกนั่นแหล่ะ มันไม่ได้เป็นแบบนั้น
  • 6:29 - 6:32
    คนจำนวนมากโกงแค่เล็กน้อย
  • 6:32 - 6:35
    ไม่ได้แปรผันไปตามสิ่งจูงใจทางเศรษฐศาสตร์
  • 6:35 - 6:36
    เราเลยมาคิดว่า "ถ้าคนไม่ตอบสนองต่อสิ่งจูงใจ
  • 6:36 - 6:41
    ตามที่หลักเหตุและผลทางเศรษฐศาสตร์ว่าไว้
  • 6:41 - 6:44
    งั้นมันเกิดอะไรขึ้นล่ะ?"
  • 6:44 - 6:47
    เราคิดว่ามันน่าจะมีแรงผลักดันสองอย่าง
  • 6:47 - 6:49
    อย่างแรกคือ เราอยากจะกลับบ้านส่องกระจก
  • 6:49 - 6:52
    แล้วยังรู้สึกดีกับตัวเองได้อยู่ ดังนั้น เราจึงไม่โกง
  • 6:52 - 6:54
    ซึ่งถ้าเราโกงแค่เล็กๆ น้อยๆ
  • 6:54 - 6:56
    เราก็ยังรู้สึกดีกับตัวเองได้อยู่
  • 6:56 - 6:57
    ดังนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือว่า
  • 6:57 - 6:59
    มันมีขอบเขตการโกงระดับหนึ่งที่เราไม่อยากทำเกินไปกว่านี้
  • 6:59 - 7:03
    คือ เรายังคงเก็บเกี่ยวผลประโยชน์เล็กๆ น้อยๆ จากการโกง
  • 7:03 - 7:06
    ตราบใดที่มันไม่ไปเปลี่ยนความรู้สึกที่เรามีต่อตัวเราเอง
  • 7:06 - 7:09
    เราเรียกมันว่าระดับการโกงที่ยอมรับได้ของแต่ละคน
  • 7:10 - 7:14
    แล้วเราจะทดสอบระดับการโกงที่ยอมรับได้นี่อย่างไร?
  • 7:14 - 7:18
    ที่จริงเราตั้งคำถามว่า จะลดระดับการโกงที่ยอมรับได้ลงอย่างไร?
  • 7:18 - 7:20
    เราเลยพาคนมาที่ห้องทดลอง แล้วบอกว่า
  • 7:20 - 7:22
    "วันนี้เรามีงานสองอย่างให้คุณทำ"
  • 7:22 - 7:23
    เราบอกผู้ร่วมการทดลองครึ่งหนึ่งว่า
  • 7:23 - 7:25
    อย่างแรก ให้นึกถึงหนังสือสิบเล่มที่เคยอ่านสมัยมัธยมปลาย
  • 7:25 - 7:28
    อีกครึ่งหนึ่ง เราให้นึกถึงบัญญัติสิบประการ (คล้ายๆ กับศีลห้า -- ผู้แปล)
  • 7:28 - 7:30
    แล้วจากนั้นลองเปิดโอกาสให้เขาโกง
  • 7:30 - 7:33
    ปรากฏว่าคนที่นึกถึงบัญญัติสิบประการ
  • 7:33 - 7:35
    ซึ่งไม่มีผู้ร่วมการทดลองสักคนที่จำได้ครบทุกข้อ
  • 7:36 - 7:40
    แต่เราพบว่า คนที่นึกถึงบัญญัติสิบประการ
  • 7:40 - 7:43
    เมื่อมีโอกาสจะโกงแล้ว ไม่มีใครโกงเลยสักคนเดียว
  • 7:43 - 7:45
    มันไม่ใช่เพราะคนที่เคร่งศาสนามากกว่า --
  • 7:45 - 7:46
    หรือจำบัญญัติสิบประการได้มากกว่า จะโกงน้อยกว่า
  • 7:46 - 7:48
    และคนที่ไม่เคร่งศาสนา --
  • 7:48 - 7:49
    หรือคนที่แทบจะจำบัญญัติสิบประการไม่ได้ --
  • 7:49 - 7:51
    จะโกงมากกว่า
  • 7:51 - 7:55
    แค่พยายามจะนึกถึงบัญญัติสิบประการเท่านั้น
  • 7:55 - 7:56
    เขาก็หยุดโกง
  • 7:56 - 7:58
    ที่จริง แม้แต่คนที่ประกาศตัวว่าไม่ได้นับถือพระเจ้า
  • 7:58 - 8:02
    การให้พวกเขาสาบานต่อพระคัมภีร์ แล้วให้โอกาสที่จะโกง
  • 8:02 - 8:04
    พวกเขาก็จะไม่โกง
  • 8:06 - 8:08
    ทีนี้ บัญญัติสิบประการนั้น
  • 8:08 - 8:10
    ยากที่จะนำไปผนวกกับระบบการศึกษา เราเลยคิดว่า
  • 8:10 - 8:12
    "แล้วทำไมเราไม่ให้พวกเขาเซ็นชื่อในบัญญัติเกียรติภูมิล่ะ?"
  • 8:12 - 8:14
    เราก็เลยให้คนลงชื่อใต้ประโยคว่า
  • 8:14 - 8:18
    "ฉันเข้าใจว่าการตอบแบบสำรวจนี้จะอยู่ภายใต้เกียรติภูมิของ MIT"
  • 8:18 - 8:21
    เมื่อพวกเขาฉีกกระดาษแล้ว พบว่าไม่มีการโกงใดใดทั้งสิ้น
  • 8:21 - 8:22
    เรื่องนี้น่าสนใจมากเลยครับ
  • 8:22 - 8:24
    เพราะที่จริง MIT ไม่มีบัญญัติเกียรติภูมิ
  • 8:24 - 8:29
    (เสียงหัวเราะ)
  • 8:29 - 8:33
    เอาล่ะ นั่นคือการลดระดับการโกงที่ยอมรับได้
  • 8:33 - 8:36
    แล้วอะไรล่ะที่ทำให้ระดับการโกงที่ยอมรับได้เพิ่มขึ้น?
  • 8:36 - 8:38
    การทดลองแรก -- ผมเดินไปรอบๆ MIT
  • 8:38 - 8:41
    เอาโค้กจำนวนหกแพ็คใส่ไว้ในตู้เย็น --
  • 8:41 - 8:43
    หมายถึงตู้เย็นรวมของนักศึกษาปริญญาตรี
  • 8:43 - 8:46
    แล้วผมก็กลับมาวัดสิ่งที่เรียกว่า
  • 8:46 - 8:50
    ช่วงอายุของโค้ก -- มันอยู่ในตู้เย็นได้นานแค่ไหน?
  • 8:50 - 8:53
    อย่างที่คุณคาด มันอยู่ได้ไม่นานก็มีคนหยิบไป
  • 8:53 - 8:57
    ทีนี้ ผมเอาธนบัตรหกดอลลาร์ใส่จาน
  • 8:57 - 9:00
    แล้วก็ทิ้งจานนั้นไว้ในตู้เย็นแบบเดียวกัน
  • 9:00 - 9:01
    ธนบัตรกลับไม่หายไป
  • 9:01 - 9:04
    นี่อาจไม่ใช่การทดลองทางสังคมศาสตร์ที่ถูกหลักการนัก
  • 9:04 - 9:07
    เพื่อให้ได้ผลที่เชื่อถือได้มากขึ้น ผมเลยทำการทดลองแบบเดิม
  • 9:07 - 9:09
    อย่างที่ผมได้อธิบายไว้ก่อนหน้านี้
  • 9:09 - 9:12
    หนึ่งในสามของผู้ร่วมการทดลอง เราให้เขาส่งกระดาษคำตอบคืนเรา
  • 9:12 - 9:15
    อีกหนึ่งในสามให้ฉีกกระดาษทิ้งไป
  • 9:15 - 9:16
    ให้เขามาหาเราแล้วพูดว่า
  • 9:16 - 9:19
    "คุณนักวิจัยครับ ผมแก้โจทย์ได้ X ข้อ จ่ายผมมา X ดอลลาร์"
  • 9:19 - 9:22
    และอีกหนึ่งในสามของคนที่เราให้ฉีกกระดาษคำตอบทิ้ง
  • 9:22 - 9:24
    ให้เขามาหาเราแล้วบอกว่า
  • 9:24 - 9:30
    "คุณนักวิจัยครับ ผมแก้โจทย์ได้ X ข้อ จ่ายชิปผมมา X อัน"
  • 9:30 - 9:33
    เราไม่ได้จ่ายเป็นเงิน เราจ่ายเป็นอย่างอื่น
  • 9:33 - 9:36
    แล้วเมื่อพวกเขาได้รับอย่างอื่นที่ว่า เขาต้องเดินไปด้านข้างอีกสิบสองฟุต
  • 9:36 - 9:38
    แล้วค่อยแลกเป็นเงิน
  • 9:38 - 9:40
    ลองนึกดูสิครับ
  • 9:40 - 9:43
    คุณจะรู้สึกแย่แค่ไหน ถ้าจิ๊กดินสอจากที่ทำงานกลับบ้าน
  • 9:43 - 9:45
    เปรียบเทียบกับ
  • 9:45 - 9:47
    การหยิบเงินสิบเซนต์จากกล่องใส่เงิน?
  • 9:47 - 9:50
    ความรู้สึกพวกนี้ต่างกันมาก
  • 9:50 - 9:53
    การเพิ่มขั้นตอนที่ทำให้คุณอยู่ห่างจากเงินสดไปอีกไม่กี่วินาที
  • 9:53 - 9:56
    โดยการได้รับชิปแทนนั้นมันมีผลอะไรไหม?
  • 9:56 - 9:58
    ปรากฏว่าผู้ร่วมการทดลองของเราโกหกเพิ่มเป็นสองเท่า
  • 9:58 - 10:00
    ผมจะบอกคุณว่าผมคิดยังไง
  • 10:00 - 10:02
    เกี่ยวกับเรื่องนี้และตลาดหุ้นในไม่กี่นาทีข้างหน้า
  • 10:03 - 10:07
    แต่นี่ก็ยังไม่ช่วยอธิบายเรื่องเอนรอนได้อยู่ดี
  • 10:07 - 10:10
    เพราะในเอนรอน มันมีประเด็นทางสังคมด้วย
  • 10:10 - 10:11
    คนเราสังเกตว่าคนอื่นทำอะไร
  • 10:11 - 10:13
    ในความเป็นจริงแล้ว ทุกๆ วันเมื่อเราดูข่าว
  • 10:13 - 10:15
    เราเห็นตัวอย่างของคนที่โกง
  • 10:15 - 10:18
    แล้วมันมีผลอย่างไรกับเรา?
  • 10:18 - 10:19
    เราก็เลยลองทำการทดลองอีกแบบหนึ่ง
  • 10:19 - 10:22
    ให้นักเรียนกลุ่มใหญ่มาร่วมการทดลอง
  • 10:22 - 10:23
    และพวกเราก็จ่ายพวกเขาล่วงหน้า
  • 10:23 - 10:26
    ทุกๆ คนได้รับซองที่มีเงินทั้งหมดที่เขาจะได้จากการทดลอง
  • 10:26 - 10:28
    แล้วเราก็บอกพวกเขาในตอนท้ายว่า
  • 10:28 - 10:32
    ขอให้เขาจ่ายคืนเราเท่าจำนวนข้อที่เขาทำไม่ได้ ตกลงไหม?
  • 10:32 - 10:33
    ผลที่ได้ก็เหมือนเดิม
  • 10:33 - 10:35
    ถ้าเราให้โอกาสเขาโกง เขาก็โกง
  • 10:35 - 10:38
    พวกเขาโกงเล็กๆ น้อยๆ แต่ก็โกงเหมือนกันหมด
  • 10:38 - 10:41
    แต่ว่าในการทดลองนี้ เราจ้างนักศึกษามาเป็นหน้าม้า
  • 10:41 - 10:45
    หน้าม้าของเรายืนขึ้นหลังจากสามสิบวินาที แล้วพูดว่า
  • 10:45 - 10:48
    "ผมทำได้ครบทุกข้อแล้ว ผมต้องทำอะไรต่อ?"
  • 10:48 - 10:52
    ผู้วิจัยก็จะพูดว่า "ถ้าคุณทำเสร็จแล้ว กลับบ้านได้เลย"
  • 10:52 - 10:53
    ก็เท่านั้น จบภารกิจ
  • 10:53 - 10:57
    ดังนั้น คราวนี้เรามีนักศึกษาหน้าม้า
  • 10:57 - 10:59
    เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม
  • 10:59 - 11:01
    ไม่มีใครรู้ว่าเขาคือหน้าม้า
  • 11:01 - 11:05
    และเขาก็โกงกันเห็นๆ แบบที่ไม่น่ายอมรับได้
  • 11:05 - 11:08
    จะเกิดอะไรขึ้นกับคนอื่นๆ ในกลุ่ม?
  • 11:08 - 11:11
    เขาจะโกงเพิ่มขึ้นหรือลดลง?
  • 11:11 - 11:13
    นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้น
  • 11:13 - 11:17
    น่าสนใจมากครับ เพราะมันขึ้นอยู่กับว่า เขาใส่เสื้ออะไร
  • 11:17 - 11:19
    รายละเอียดเป็นอย่างนี้
  • 11:19 - 11:22
    เราทำการทดลองนี้ที่คาร์เนกี้ เมลลอน และพิตต์สเบอร์ก
  • 11:22 - 11:24
    ที่พิตต์สเบอร์กมีมหาวิทยาลัยขนาดใหญ่อยู่สองแห่ง
  • 11:24 - 11:27
    คือคาร์เนกี้ เมลลอน และพิตต์สเบอร์ก
  • 11:27 - 11:29
    เมื่อผู้เข้าร่วมการทดลองทุกคน
  • 11:29 - 11:31
    เป็นนักศึกษาของคาร์เนกี้ เมลลอน
  • 11:31 - 11:35
    ถ้าหน้าม้ายืนที่ขึ้นเป็นนักศึกษาของคาร์เนกี้ เมลลอน --
  • 11:35 - 11:37
    ซึ่งเขาก็เป็นนักศึกษาของคาร์เนกี้ เมลลอนจริงๆ --
  • 11:37 - 11:41
    เขาก็เลยเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม การโกงก็เลยเพิ่มขึ้น
  • 11:41 - 11:45
    แต่ถ้าหน้าม้าใส่เสื้อพิตต์เบอร์ก
  • 11:45 - 11:47
    การโกงจะลดลง
  • 11:47 - 11:50
    (เสียงหัวเราะ)
  • 11:50 - 11:53
    เรื่องนี้สำคัญนะครับ
  • 11:53 - 11:55
    เพราะเมื่อนักศึกษาที่เป็นหน้าม้ายืนขึ้น
  • 11:55 - 11:58
    มันบอกกับทุกคนอย่างชัดเจนเลยว่าคุณสามารถโกงได้
  • 11:58 - 12:00
    เพราะผู้วิจัยบอกว่า
  • 12:00 - 12:02
    "คุณทำทุกอย่างเสร็จแล้ว กลับบ้านได้" และพวกเขาก็กลับไปพร้อมกับเงินที่โกง
  • 12:02 - 12:05
    มันไม่เกี่ยวกับโอกาสที่จะถูกจับได้แล้ว
  • 12:05 - 12:08
    แต่มันเป็นเรื่องบรรทัดฐานของการโกง
  • 12:08 - 12:11
    ถ้าบางคนในกลุ่มของพวกเราโกง และเราเห็นเขาโกง
  • 12:11 - 12:15
    เราจะรู้สึกว่ามันเป็นพฤติกรรมที่กลุ่มเราทำได้
  • 12:15 - 12:17
    แต่ถ้าคนๆ นั้นมาจากกลุ่มอื่น บุคคลที่เลวร้ายพวกนี้ --
  • 12:17 - 12:19
    ผมไม่ได้หมายความว่าเขานิสัยเลวร้าย --
  • 12:19 - 12:21
    แต่หมายถึงบางคนที่เราไม่อยากเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย
  • 12:21 - 12:23
    เพราะเขามาจากมหาวิทยาลัยอื่น จากกลุ่มอื่น
  • 12:23 - 12:26
    คนก็ตระหนักเรื่องความซื่อสัตย์เพิ่มขึ้นทันที
  • 12:26 - 12:28
    คล้ายกับกรณีเรื่องบัญญัติสิบประการ
  • 12:28 - 12:32
    แล้วคนก็โกงน้อยลง
  • 12:32 - 12:36
    เอาล่ะ เราเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับการโกงจากเรื่องนี้?
  • 12:36 - 12:39
    เราเรียนรู้ว่าคนจำนวนมากโกง
  • 12:39 - 12:42
    โดยโกงเล็กๆ น้อยๆ
  • 12:42 - 12:46
    เมื่อพวกเราเตือนเขาเรื่องคุณธรรม เขาจะโกงน้อยลง
  • 12:46 - 12:49
    เมื่อการโกงนั้นทำกับวัตถุอื่นที่ไม่ใช่เงินโดยตรง
  • 12:49 - 12:53
    เช่น วัตถุที่ใช้แทนเงิน คนก็จะโกงมากขึ้นไปอีก
  • 12:53 - 12:55
    และเมื่อพวกเราเห็นการโกงรอบๆ ตัวเรา
  • 12:55 - 12:59
    โดยเฉพาะถ้าเป็นคนกลุ่มเดียวกับเรา การโกงก็จะมากขึ้น
  • 12:59 - 13:02
    ทีนี้ลองมาดูกรณีของตลาดหลักทรัพย์บ้าง
  • 13:02 - 13:03
    นึกถึงสิ่งที่เกิดขึ้น
  • 13:03 - 13:06
    จะเกิดอะไรขึ้นถ้าเราสร้างสถานการณ์ที่
  • 13:06 - 13:08
    คุณจ่ายเงินจำนวนมากให้ผู้คน
  • 13:08 - 13:11
    เพื่อให้เขามองเห็นความจริงในมุมที่บิดเบือนไป?
  • 13:11 - 13:14
    พวกเขาจะไม่รู้ไต๋คุณเหรอ?
  • 13:14 - 13:15
    แน่นอน เขาต้องรู้แน่
  • 13:15 - 13:16
    จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าเราลองทำอีกแบบหนึ่ง
  • 13:16 - 13:18
    โดยไม่เอาสิ่งนั้นไปผูกกับเงิน?
  • 13:18 - 13:21
    คุณอาจเรียกมันว่าหุ้น ออพชั่น อนุพันธ์
  • 13:21 - 13:22
    หลักทรัพย์ที่มีทรัพย์สินจำนองหนุนหลัง
  • 13:22 - 13:25
    ถ้าเป็นอะไรที่ดูห่างไกลจากเงินออกไป
  • 13:25 - 13:27
    มันไม่ใช่ชิปที่แลกเป็นเงินได้ในหนึ่งวินาที
  • 13:27 - 13:29
    แต่เป็นสิ่งที่มีขั้นตอนจำนวนมากกว่าจะแปลงเป็นเงินได้
  • 13:29 - 13:33
    และใช้เวลานานด้วย -- คนจะโกงมากขึ้นไหม?
  • 13:33 - 13:35
    แล้วอะไรจะเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อมทางสังคม
  • 13:35 - 13:38
    เมื่อเราเห็นคนอื่นๆ ทำแบบนั้น?
  • 13:38 - 13:42
    ผมคิดว่าสิ่งเหล่านี้เป็นแรงผลักดันที่เลวร้าย
  • 13:42 - 13:44
    ในตลาดหลักทรัพย์
  • 13:44 - 13:47
    ในภาพกว้างกว่านั้น ผมอยากจะบอกคุณบางอย่าง
  • 13:47 - 13:50
    เกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม
  • 13:50 - 13:54
    เรามีความเชื่อลึกๆ มากมายที่มาจากสัญชาตญาณ
  • 13:54 - 13:57
    ประเด็นก็คือ ความเชื่อพวกนี้จำนวนมากมันผิด
  • 13:57 - 14:00
    คำถามก็คือ แล้วเราจะทดสอบความเชื่อนี้กันหรือไม่?
  • 14:00 - 14:02
    เราสามารถหาวิธีว่าจะทดสอบความเชื่อพวกนี้ได้อย่างไร
  • 14:02 - 14:04
    ในชีวิตส่วนตัว ในหน้าที่การงาน
  • 14:04 - 14:07
    และที่สำคัญที่สุด เมื่อมันกลายเป็นนโยบาย
  • 14:07 - 14:10
    อย่างนโนบาย "No Child Left Behind" (นโยบายการศึกษาของสหรัฐ)
  • 14:10 - 14:13
    เวลาคุณสร้างตลาดหลักทรัพย์ใหม่ สร้างนโยบายใหม่
  • 14:13 - 14:16
    ไม่ว่าจะเป็นด้านภาษี สุขภาพ และอื่นๆ
  • 14:16 - 14:18
    การทดสอบความเชื่อของตัวเองนั้นมันยากมาก
  • 14:18 - 14:20
    นั่นเป็นบทเรียนสำคัญที่ผมได้เรียนรู้
  • 14:20 - 14:22
    เมื่อผมกลับไปหาพยาบาลทั้งหลายที่เคยดูแลผม
  • 14:22 - 14:24
    ผมกลับไปเพื่อบอกเขา
  • 14:24 - 14:27
    ว่าผมมีข้อค้นพบบางอย่างเกี่ยวกับการดึงผ้าพันแผลออก
  • 14:27 - 14:29
    แล้วผมก็ได้เรียนรู้สิ่งที่น่าสนใจอยู่สองอย่าง
  • 14:29 - 14:31
    หนึ่งคือ พยาบาลที่น่ารักของผม เอตตี้
  • 14:31 - 14:35
    บอกผมว่า ผมไม่ได้เอาความเจ็บปวดของเธอเข้าไปวิเคราะห์ด้วย
  • 14:35 - 14:37
    เธอบอกว่า "แน่นอน อย่างที่คุณรู้ มันเจ็บสำหรับคุณ
  • 14:37 - 14:39
    แต่ลองมาเป็นพยาบาลสิ
  • 14:39 - 14:41
    ต้องพันแผลและดึงผ้าพันแผลออกให้คนมากมาย
  • 14:41 - 14:44
    แล้วก็ทำแต่แบบนี้ซ้ำๆ เป็นเวลานาน
  • 14:44 - 14:47
    การทำให้คนอื่นเจ็บปวดทรมานก็ไม่ใช่เรื่องที่ดีสำหรับฉันเหมือนกัน"
  • 14:47 - 14:52
    เธอบอกว่า บางทีส่วนหนึ่งก็เพราะมันยากเกินไปสำหรับเธอ
  • 14:52 - 14:55
    แต่มันน่าสนใจมากกว่า ตอนที่เธอบอกว่า
  • 14:55 - 15:00
    "ฉันคิดว่าความเชื่อของคุณไม่ถูก
  • 15:00 - 15:01
    ฉันรู้สึกว่าความเชื่อของฉันถูกแล้ว"
  • 15:01 - 15:03
    ดังนั้น ถ้าคุณลองนึกถึงความเชื่อทั้งหลายของคุณเอง
  • 15:03 - 15:07
    มันยากนะครับที่คุณจะเชื่อว่าความเชื่อของคุณผิด
  • 15:07 - 15:10
    แล้วเธอก็พูดว่า "และเพราะฉันเชื่อว่าความเชื่อของฉันถูก ..." --
  • 15:10 - 15:12
    คือ เธอคิดว่าเธอถูกนะครับ --
  • 15:12 - 15:17
    มันก็เลยยากมากสำหรับเธอที่จะยอมรับการทดลองที่โหดร้าย
  • 15:17 - 15:19
    เพื่อลองตรวจสอบว่าเธอผิดหรือเปล่า
  • 15:19 - 15:23
    ที่จริง เราทุกคนล้วนอยู่ในสถานการณ์เช่นนี้ตลอดเวลา
  • 15:23 - 15:26
    เรามีความเชื่อที่มั่นคงในทุกเรื่อง --
  • 15:26 - 15:29
    ความสามารถของเรา กลไกการทำงานของเศรษฐกิจ
  • 15:29 - 15:31
    เราควรจะจ่ายเงินเดือนครูอย่างไร
  • 15:31 - 15:34
    แต่ถ้าเราไม่ได้เริ่มทดสอบความเชื่อเหล่านั้น
  • 15:34 - 15:36
    เราก็จะไม่มีวันทำให้อะไรมันดีขึ้นได้
  • 15:36 - 15:38
    ลองนึกดูสิครับว่าชีวิตผมจะดีขึ้นขนาดไหน
  • 15:38 - 15:40
    ถ้าพยาบาลเหล่านี้ยอมตรวจสอบสิ่งที่เขาเชื่ออยู่
  • 15:40 - 15:41
    และทุกสิ่งจะดีขึ้นขนาดไหน
  • 15:41 - 15:46
    ถ้าเราเริ่มทำการทดลองอย่างเป็นระบบเพื่อตรวจสอบความเชื่อทั้งหลายของเรา
  • 15:46 - 15:48
    ขอบคุณมากครับ
Title:
แดน อรายลี่ กับ ศีลธรรมที่บกพร่อง
Speaker:
Dan Ariely
Description:

นักเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม แดน อรายลี่ ศึกษาความบกพร่องในการปฏิบัติตามหลักศีลธรรมของเรา: เขาศึกษาเหตุผลที่อยู่เบื้องหลังการที่เราคิดว่าการโกงหรือขโมยของเล็กๆ น้อยๆ เป็นเรื่องที่ไม่เป็นไร งานศึกษาที่ยอดเยี่ยมเหล่านี้ชี้ว่าคนเราไร้เหตุผลอย่างมีแบบแผนที่คาดเดาได้ -- และเราก็ถูกครอบงำด้วยความไร้เหตุผลเหล่านี้อย่างที่เรานึกไม่ถึง

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
16:03
Thanee Chaiwat added a translation

Thai subtitles

Revisions