เพื่อเป้าประสงค์ของการโต้แย้ง
-
0:01 - 0:04ผมชื่อ แดน โคเฮน ผมเป็นนักวิชาการ
-
0:04 - 0:07และนั่นหมายความว่า ผมโตแย้ง
-
0:08 - 0:09การโต้แย้งเป็นส่วนสำคัญของชีวิตผม
-
0:09 - 0:10และผมก็ชอบการโต้แย้ง
-
0:11 - 0:14ผมไม่ได้เป็นแค่นักวิชาการอย่างเดียว
ผมเป็นนักปรัชญาด้วย -
0:14 - 0:17ดังนั้น ผมชอบที่จะคิดว่า
จริง ๆ แล้วผมโต้แย้งได้ดีทีเดียว -
0:17 - 0:20แต่ผมชอบคิดเรื่องการโต้แย้งด้วยเหมือนกัน
-
0:20 - 0:24และระหว่างที่คิดเรื่องการโต้แย้ง
ผมได้พบกับปริศนาบางอย่าง -
0:24 - 0:26หนึ่งในปริศนานั้น คือ
-
0:26 - 0:28ระหว่างที่ผมคิดเรื่องการโต้แย้งมาเป็นปี ๆ
-
0:28 - 0:30และตอนนี้ก็สิบกว่าปีแล้ว
-
0:30 - 0:31ผมโต้แย้งได้ดีขึ้น
-
0:32 - 0:35แต่ยิ่งผมโต้แย้งมากขึ้นและ
ยิ่งผมโต้แย้งเก่งขึ้น -
0:35 - 0:36ผมยิ่งแพ้มากขึ้น
-
0:37 - 0:38นั่นแหละที่เป็นปริศนา
-
0:38 - 0:42และอีกปริศนาก็คือ
จริง ๆ แล้วผมก็ค่อนข้างชอบ -
0:42 - 0:43ทำไมผมถึงยอมรับกับความพ่ายแพ้
-
0:43 - 0:47และทำไมผมคิดว่า ผู้โต้แย้งที่ดี
จริง ๆ แล้วก็แพ้ได้เก่งกว่าด้วย -
0:47 - 0:49ยังมีปริศนาอื่น ๆ อีก
-
0:49 - 0:51หนึ่งคือ ทำไมเราถึงโต้แย้ง
-
0:51 - 0:52ใครได้ประโยชน์จากการโต้แย้ง
-
0:52 - 0:55เมื่อผมคิดถึงการโต้แย้ง ผมหมายถึง
-
0:55 - 0:58การโต้แย้งเชิงวิชาการ
หรือการโต้แย้งทางความคิด -
0:58 - 1:00ที่ซึ่งเดิมพันกันด้วย องค์ความรู้
-
1:00 - 1:02ข้อเสนอนี้เป็นจริงหรือไม่
ทฤษฎีนี้ดีหรือเปล่า -
1:02 - 1:07สามารถตีความต่อจากข้อมูล
หรือเนื้อหาได้หรือไม่ เป็นต้น -
1:07 - 1:11ผมไม่สนใจการโต้แย้งที่ว่า
รอบนี้ใครจะเป็นคนล้างจาน -
1:11 - 1:12หรือใครจะเป็นคนไปทิ้งขยะ
-
1:12 - 1:15ก็ใช่ เรามีการโต้แย้งแบบนั้น
-
1:15 - 1:17ผมมีแนวโน้มที่จะชนะมากกว่า
เพราะผมรู้เทคนิค -
1:17 - 1:18แต่การโต้แย้งในเรื่องแบบนี้ไม่สำคัญ
-
1:18 - 1:21ผมสนใจการโต้แย้งในเชิงวิชาการ
-
1:21 - 1:22และนี่คือปริศนาของผม
-
1:22 - 1:28อย่างแรก ผู้โต้แย้งที่ดีชนะอะไร
เมื่อเขาชนะการโต้แย้ง -
1:28 - 1:30ผมชนะอะไร ถ้าผมโน้มน้าวคุณว่า
-
1:30 - 1:32อรรถประโยชน์นิยมไม่ใช่กรอบความคิดที่ถูก
-
1:32 - 1:34ในการวิเคราะห์ทฤษฎีทางจริยศาสตร์
-
1:34 - 1:36เราชนะอะไรตอนที่เราโต้แย้งชนะ
-
1:36 - 1:38แม้กระทั่งก่อนหน้านั้น
-
1:38 - 1:39มันสำคัญอะไรกับผม
-
1:39 - 1:42คุณจะคิดว่าทฤษฎีของคานต์ใช้ได้
-
1:42 - 1:45หรือจริยศาสตร์ของมิลล์ถูกต้องควรปฎิบัติตาม
-
1:45 - 1:47มันไม่ใช่เรื่องของผม
-
1:47 - 1:50ไม่ว่าคุณจะเห็นว่าแนวคิดกลุ่มหน้าที่ของจิต
เป็นทฤษฎีจิตที่ใช้การได้ -
1:50 - 1:52ฉะนั้น เราจะพยายามโต้แย้งไปเพื่ออะไร
-
1:52 - 1:54ทำไมเราพยายามโน้มน้าวคนอื่น
-
1:54 - 1:56ให้เชื่อในสิ่งที่เขาไม่ต้องการจะเชื่อ
-
1:56 - 1:58และกระทั่งว่า ทำแบบนี้ดีหรือเปล่า
-
1:58 - 2:00มันเป็นวิธีปฎิบัติต่อมนุษย์ที่ดีหรือไม่
-
2:00 - 2:03พยายามทำให้คนอื่นคิดในสิ่งที่
เขาไม่ต้องการจะคิด -
2:04 - 2:08คำตอบของผม จะอ้างอิง
ถึงการโต้แย้ง 3 รูปแบบ -
2:08 - 2:11แบบแรก เรามาเรียกมันว่า วิภาษวิธี
-
2:11 - 2:13คือ เราคิคถึงการโต้แย้ง แบบทำสงคราม
คุณรู้ว่ามันเป็นอย่างไร -
2:13 - 2:17กรีดร้อง ตะโกนใส่กันเยอะ ๆ
และมีแพ้มีชนะ -
2:17 - 2:19มันเป็นรูปแบบที่ไม่มีประโยชน์สักเท่าไรนัก
-
2:19 - 2:22แต่มันเป็นวิธีที่ค่อนข้างธรรมดา
และยึดมันถือกันในการโต้แย้ง -
2:22 - 2:25แต่มีการโต้แย้งแบบที่ 2
การโต้แย้งแบบข้อพิสูจน์ -
2:25 - 2:27ลองนึกถึง การโต้แย้งของนักคณิตศาสตร์
-
2:27 - 2:30นี่คือข้อโต้แย้งของผม
ใช้ได้หรือไม่ ดีหรือเปล่า -
2:30 - 2:34ข้อเสนอถูกรับรองหรือเปล่า
การอนุมานสมเหตุสมผลหรือเปล่า -
2:34 - 2:37ข้อสรุปเป็นไปตามข้อตั้งหลักหรือเปล่า
-
2:37 - 2:39ไม่มีฝ่ายตรงข้าม ไม่มีความขัดแย้ง
-
2:39 - 2:45ไม่จำเป็นต้องโต้แย้งด้วย
ความรู้สึกเป็นศัตรู -
2:45 - 2:47แต่ก็มีรูปแบบที่ 3 ซึ่งโปรดจำไว้
-
2:47 - 2:48เพราะผมคิดว่ามันเป็นประโยชน์อย่างมาก
-
2:48 - 2:54และมันคือ การโต้แย้งเแบบแสดงต่อหน้าผู้ฟัง
-
2:54 - 2:57ลองนึกถึงนักการเมืองที่พยายามเสนอจุดยืน
-
2:57 - 2:59พยายามโน้มน้าวบางอย่างให้ผู้ชม
-
2:59 - 3:03แต่ก็มีจุดหักมุมอีกอย่างในรูปแบบนี้
ที่ผมคิดว่ามันสำคัญมาก -
3:03 - 3:07เมื่อเราโต้แย้งต่อหน้าผู้ฟัง
-
3:07 - 3:11บางครั้ง ผู้ฟังก็มีบทบาทในการมีส่วนร่วม
มากขึ้นในการโต้แย้ง -
3:11 - 3:15มันคือ การโต้แย้งที่แสดง
ต่อหน้าคณะลูกขุน -
3:15 - 3:18ผู้ซึ่งให้คำวินิจฉัยและตัดสินในกรณีนั้น ๆ
-
3:18 - 3:20เรามาเรียกมันว่า รูปแบบวาทศิลป์
-
3:20 - 3:24คุณต้องเสนอข้อโต้แย้งอย่างพิถีพิถัน
ให้ผู้ฟังเข้าใจ -
3:24 - 3:26นำเสนอชัดเจน อ้างเหตุผลอย่างดี
-
3:26 - 3:30การเสนอข้อโต้แย้งที่ดีในภาษาอังฤษ
ต่อผู้ฟังที่ช้ภาษาฝรั่งเศส -
3:30 - 3:31มันคงไม่ได้ผล
-
3:32 - 3:35เรามีการโต้แย้ง 3 รูปแบบ
แบบสงคราม แบบข้อพิสูจน์ -
3:35 - 3:38และแบบการแสดง
-
3:38 - 3:42จาก 3 รูปแบบ การโต้แย้งแบบสงคราม
เป็นรูปแบบที่มีอิทธิพลที่สุด -
3:42 - 3:45มันครอบงำวิธีที่เราพูดถึงการโต้แย้ง
-
3:45 - 3:47มันครอบงำวิธีที่เราคิดถึงการโต้แย้ง
-
3:47 - 3:50เพราะฉะนั้น มันขัดเกลา
วิธีที่เราใช้ในการโต้แย้ง -
3:50 - 3:52สิ่งที่เกิดขึ้นจริงๆ เมื่อเราโต้แย้ง
-
3:52 - 3:54ปัจจุบันเมื่อเราพูดถึงการโต้แย้ง
-
3:54 - 3:56เราพูดในแบบภาษาทหาร
-
3:56 - 3:59เราต้องการการโต้แย้งที่แข็งแกร่ง
การโต้แย้งที่มีพลังโจมตีรุนแรง -
3:59 - 4:01การโต้แย้งที่ตรงเข้าเป้าหมาย
-
4:01 - 4:04เราต้องการการป้องกันและ
ยุทธ์ศาสตร์ที่พร้อมใช้ -
4:04 - 4:06เราต้องการ ทำลายข้อโต้แย้ง
-
4:06 - 4:08นั่นคือการโต้แย้งแบบที่เราต้องการ
-
4:09 - 4:11มันเป็นวิธีที่ครอบงำการคิด
เกี่ยวกับการโต้แย้ง -
4:11 - 4:13เมื่อผมพูดถึงการโต้แย้ง
-
4:13 - 4:16บางทีคุณอาจจะนึกถึง
แบบที่มีศัตรูฝ่ายตรงข้าม -
4:16 - 4:19แต่การเปรียบเทียบกับสงคราม
-
4:19 - 4:22กระบวนทัศน์หรือรูปแบบสงคราม
ที่ใช้ในการคิดถึงการโต้แย้ง -
4:22 - 4:25ผมคิดว่ามันส่งผลบิดเบือน
วิธีการโต้แย้งของเรา -
4:25 - 4:28อย่างแรก มันทำให้วิธีการอยู่เหนือสาระสำคัญ
-
4:29 - 4:31คุณเรียนกวิชาตรรกศาสตร์
ว่าด้วยวิธีการให้เหตุผล -
4:31 - 4:33คุณเรียนเล่ห์เหลี่ยมทั้งหมด
-
4:33 - 4:36ที่คนเราเคยใข้ และชนะการโต้แย้ง
แต่มันเป็นวิธีที่ผิดพลาด -
4:36 - 4:39มันขยายมุมมองแบบ
เรา-เขา -
4:39 - 4:42มันทำให้เกิดความขัดแย้ง
สร้างการแบ่งขั้ว -
4:42 - 4:48และผลลัพธ์ที่คาดเดาได้ก็มีแค่
ชัยชนะ ชัยชนะอันสวยหรู -
4:48 - 4:51หรือความน่าสังเวช น่าอับอายจากการพ่ายแพ้
-
4:51 - 4:53ผมคิดว่า นี่คือผลลัพท์ที่บิดเบือน
-
4:53 - 4:57และที่เลวร้ายที่สุด
ดูเหมือนมันขัดขวางไม่ให้เกิดการต่อรอง -
4:57 - 5:02หรือการปรึกษา หรือการประนีประนอม
หรือการร่วมมือ -
5:02 - 5:05ลองคิดถึงสิ่งนี้
คุณเเคยเข้าร่วมการโต้แย้งโดยคิดว่า -
5:05 - 5:09"ไหนเราลอง หาข้อสรุปร่วมกัน
แทนที่จะสู้กัน -
5:09 - 5:11เราทำอะไร เพื่อแก้ปัญหาร่วมกันได้บ้าง?"
-
5:11 - 5:13และผมคิดว่า การโต้แย้งแบบทำสงคราม
-
5:13 - 5:18ขัดขวางไม่ให้มีข้อยุติ
การโต้แย้งด้วยรูปแบบอื่น ๆ -
5:18 - 5:20และสุดท้าย นี่คือสิ่งที่แย่ที่สุดจริง ๆ
-
5:20 - 5:23มันไม่ได้นำพาเราไปสู่จุดไหนเลย
มันเป็นทางตัน -
5:23 - 5:29มันเป็นเหมือนวงเวียน การจราจรที่เบียดเสียด
หรือติดอยู่กับที่ในการสนธนา -
5:29 - 5:30เราไม่ได้ไปไหนเลย
-
5:30 - 5:32และอีกสิ่งหนึ่ง
-
5:32 - 5:35ในฐานะที่เป็นผู้ให้การศึกษา
มันเป็นสิ่งที่กวนใจผมมาก -
5:35 - 5:37ถ้าการโต้แย้งคือสงคราม
-
5:37 - 5:42มันก็มีสิ่งที่เรียกว่า
การเรียนรู้จากความพ่ายแพ้แฝงอยู่ -
5:42 - 5:44ผมจะอธิบายความหมายให้ฟัง
-
5:44 - 5:47สมมุติว่าคุณกับผมโต้แย้งกัน
-
5:47 - 5:50คุณเชื่อในข้อเสนอ P แต่ผมไม่
-
5:50 - 5:52ผมถามคุณว่า "ทำไมถึงเชื่อข้อเสนอ P"
-
5:52 - 5:54คุณให้เหตุผลของคุณ
-
5:54 - 5:56ผมไม่เห็นด้วย และตอบกลับ
"แล้ว....หล่ะ" -
5:56 - 5:58แล้วคุณก็ตอบคำถามผม
-
5:58 - 6:00แล้วผมก็ถาม "คุณหมายความว่าอย่างไร
-
6:00 - 6:02มันเอามาใช้อย่างไร ในกรณีนี้"
-
6:02 - 6:04และคุณก็ตอบคำถามผม
-
6:04 - 6:05ตอนนี้ สมมุติว่าการโต้แย้งสิ้นสุดลง
-
6:05 - 6:08ผมได้ค้าน ผมได้ถาม
-
6:08 - 6:10ผมได้ยกข้อพิจารณาแย้งทั้งหมดไปแล้ว
-
6:10 - 6:14และทุกครั้ง คุณได้ตอบสนองจนผมพึงพอใจ
-
6:14 - 6:17และดังนั้น ในท้ายที่สุด
ผมพูดว่า -
6:17 - 6:20" รู้อะไรไหม ผมว่าคุณถูกแล้ว"
-
6:20 - 6:23ดังนั้น ผมได้ความเชื่อใหม่มา
-
6:23 - 6:24มันไม่ใช่ความเชื่อแบบทั่ว ๆ ไป
-
6:24 - 6:31มันถูกอธิบายอย่างชัดเจน ถูกตรวจสอบ
มันเป็นความเชื่อที่ผ่านการประลองมาแล้ว -
6:32 - 6:33เกิดการเรียนรู้ที่ดี
-
6:33 - 6:34โอเค ใครชนะการโต้แย้งนี้
-
6:36 - 6:40การโต้แย้งแบบสงคราม
บังคับให้เราบอกว่าคุณเป็นฝ่ายชนะ -
6:40 - 6:42ถึงแม้ว่า ผมเป็นฝ่ายเดียว
ที่ได้รู้คิด -
6:42 - 6:46คุณได้รับอะไร ในเชิงการรู้คิด
จากการโน้มน้าวผม -
6:46 - 6:49แน่นอน คุณได้ความพึงพอใจ
อัตตาคุณอาจจะพองโต -
6:49 - 6:51บางทีคุณอาจจะถูกยกให้เป็นผู้เชี่ยวชาญ
-
6:51 - 6:54ในสายงานนี้
"คนนี้เป็นนักโต้แย้งที่ดี" -
6:54 - 6:57แต่จากมุมมองการรู้คิด
-
6:57 - 6:58ใครเป็นผู้ชนะ?
-
6:58 - 7:03การเปรียบเทียบกับสงคราม บังคับให้เราคิดว่า
คุณคือผู้ชนะ และผมแพ้ -
7:03 - 7:05ถึงแม้ว่า ผมจะเป็นฝ่ายได้
-
7:05 - 7:07มีบางอย่างไม่ถูกต้องในภาพนี้
-
7:07 - 7:10และนั่นคือสิ่งที่ผมอยากจะเปลี่ยน
ถ้าเราทำได้ -
7:10 - 7:14ฉะนั้น เราจะหาวิธีทำให้
-
7:14 - 7:17การโต้แย้งได้ผลลัพท์ในเชิงบวกได้อย่างไร
-
7:18 - 7:21สิ่งที่เราต้องการคือ
ยุทธวิธีทางออกแบบใหม่สำหรับการโต้แย้ง -
7:21 - 7:24แต่ เราจะไม่ได้ยุทธวิธีทางออกแบบใหม่
สำหรับการโต้แย้ง -
7:24 - 7:28จนกว่าเราจะมี
วิธีการเข้าสู่การโต้แย้งแบบใหม่ -
7:28 - 7:31เราจำเป็นต้องคิดถึง
การโต้แย้งรูปแบบใหม่ ๆ -
7:31 - 7:34เพื่อที่จะทำอย่างนั้น คือ
-
7:34 - 7:36ผมไม่รู้ว่าจะต้องทำอย่างไร
-
7:36 - 7:37นั่นเป็นข่าวร้าย
-
7:37 - 7:40การโต้แย้งแบบสงคราม มันคือปีศาจ
-
7:40 - 7:43มันเข้ามายึดครองจิตใจของเรา
-
7:43 - 7:45และไม่มีกระสุนวิเศษ ที่จะฆ่ามันได้
-
7:45 - 7:48ไม่มีไม้วิเศษ ที่จะทำให้มันหายไป
-
7:48 - 7:49ผมไม่มีคำตอบ
-
7:49 - 7:51แต่ผมมีคำแนะนำ
-
7:51 - 7:53นี่คือคำแนะนำของผม
-
7:54 - 7:56ถ้าเราอยากจะคิดถึงการโต้แย้งแบบใหม่
-
7:56 - 8:00สิ่งที่เราต้องทำก็คือ
คิดถึงผู้โต้แย้งแบบใหม่ -
8:00 - 8:02ดังนั้น ลองนี่ดู
-
8:03 - 8:07คิดถึงบทบาททั้งหมด ที่คนเราใช้ในการโต้แย้ง
-
8:07 - 8:10มีผู้เสนอและฝ่ายตรงข้าม
-
8:10 - 8:12ที่เป็นศัตรู ในการโต้แย้งแบบวิภาษวิธี
-
8:12 - 8:15มีผู้ชม ในการโต้แย้งแบบวาทศิลป์
-
8:15 - 8:17มีผู้มีเหตุผล
ในการโต้แย้งแบบเพื่อพิสูจน์ -
8:19 - 8:20บทบาทที่แตกต่างกันทั้งหมด
-
8:20 - 8:24ทีนี้ คุณลองจินตนาการถึงการโต้แย้ง
ที่คุณเป็นผู้โต้แย้ง -
8:24 - 8:27แต่คุณก็เป็นผู้ชมด้วย
มองดูตัวเองโต้แย้ง -
8:28 - 8:31คุณจินตนาการถึงตัวคุณ
ที่กำลังมองดูตัวเองโต้แย้ง -
8:31 - 8:36คุณแพ้ แต่ถึงอย่างนั้นในตอนท้าย
คุณยังคงพูดว่า -
8:36 - 8:38"ว๊าว! นั่นเป็นการโต้แย้งที่ดีมากเลย"
-
8:39 - 8:40คุณทำได้ไหม
-
8:40 - 8:44ผมคิดว่า คุณทำได้ และผมคิดว่า
ถ้าคุณสามารถจิตนาการถึงการโต้แย้งแบบที่ -
8:44 - 8:48ผู้แพ้บอกกับผู้ชนะ
และผู้ชมและผู้ตัดสิน สามารถพูดได้ว่า -
8:48 - 8:50"ใช่ นั่นเป็นการโต้แย้งที่ดีจริงๆ"
-
8:50 - 8:51เช่นนั้น คุณก็จะมีภาพของการโต้แย้งที่ดี
-
8:51 - 8:52และมากกว่านั้น
-
8:52 - 8:55ผมคิดว่า คุณมีภาพของนักโต้แย้งที่ดี
-
8:55 - 8:59นักโต้แย้งแบบที่มีคุณค่าพอ
ที่คุณควรจะลองเป็น -
9:00 - 9:02ตอนนี้ ผมโต้แย้งแพ้ซะเยอะ
-
9:02 - 9:05มันต้องฝึก เพื่อที่จะเป็นนักโต้แย้งที่ดี
-
9:05 - 9:08เพื่อที่จะได้ประโยชน์จากการแพ้
แต่โชคดีที่ -
9:08 - 9:11ผมมีเพื่อนร่วมงานหลายๆ คน
ที่เต็มใจจะก้าวเข้ามา -
9:11 - 9:13และให้ความช่วยเหลือการฝึกฝนแก่ผม
-
9:13 - 9:14ขอบคุณครับ
-
9:14 - 9:18(เสียงปรบมือ)
- Title:
- เพื่อเป้าประสงค์ของการโต้แย้ง
- Speaker:
- แดเนียล เอช. โคเฮน (Daniel H. Cohen)
- Description:
-
ทำไมเราถึงโต้แย้ง เพื่อที่จะชนะคู่ต่อสู้ด้วยเหตุผล พิสูจน์ว่าเขาผิด และเหนือสิ่งอื่นใด เพื่อจะชนะ! ใช่ไหม นักปรัชญา แดเนียล เอช. โคเฮน แสดงให้เราเห็นว่ารูปแบบการโต้แย้งที่สามัญที่สุดของเรา สงครามที่บุคคลหนึ่งต้องชนะและอีกคนต้องแพ้ พลาดเป้าประโยชน์ที่แท้จริงของการเข้าร่วมในความไม่เห็นพ้องอย่างกระตืนรือร้น (บันทึกที่ TEDxColbyCollege)
- Video Language:
- English
- Team:
closed TED
- Project:
- TEDTalks
- Duration:
- 09:35
![]() |
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for For argument's sake | |
![]() |
Paded Chotikunchon accepted Thai subtitles for For argument's sake | |
![]() |
Paded Chotikunchon edited Thai subtitles for For argument's sake | |
![]() |
Paded Chotikunchon declined Thai subtitles for For argument's sake | |
![]() |
Paded Chotikunchon edited Thai subtitles for For argument's sake | |
![]() |
Paded Chotikunchon edited Thai subtitles for For argument's sake | |
![]() |
Sakunphat Jirawuthitanant edited Thai subtitles for For argument's sake | |
![]() |
Sakunphat Jirawuthitanant edited Thai subtitles for For argument's sake |