ทำไมแก่แล้วเสียงเปลี่ยน
-
0:07 - 0:09ในช่วงกลางศตวรรษที่ 16
-
0:09 - 0:12ชาวอิตาเลียนต่างต้องมนต์สะกด
ของนักร้องชายพวกหนึ่ง -
0:12 - 0:14ที่สามารถร้องเสียงช่วงกว้างได้อย่างน่าทึ่ง
-
0:14 - 0:17ซึ่งก่อนหน้านี้ ไม่เคยมีใครคิดว่า
จะมีผู้ชายคนไหนทำได้ -
0:17 - 0:20อย่างไรก็ตาม ใช่ว่าพรสวรรค์นั้นจะมาฟรี ๆ
-
0:20 - 0:22เพื่อป้องกันการแตกของเสียง
-
0:22 - 0:25นักร้องเหล่านี้ถูกทำหมัน
ก่อนที่จะเจริญเป็นหนุ่ม -
0:25 - 0:29นั่นเป็นการหยุดกระบวนการของฮอร์โมน
ที่ทำให้เสียงของเขาทุ้มต่ำ -
0:29 - 0:34กลุ่มแคสทราติ ผู้มีเสียงใสราวกับทูตสวรรค์
จึงโด่งดังไปทั่วยุโรป -
0:34 - 0:39จนกระทั่งวิธีการโหดร้ายที่ใช้กันนี้
ถูกกำหนดว่าผิดกฎหมายในช่วงยุค 1800 -
0:39 - 0:43ถึงแม้ว่าการปรับแต่งให้มีเสียงนี้จะทำให้
มนุษย์ร้องเพลงได้ในช่วงกว้างอย่างน่าทึ่ง -
0:43 - 0:48เสียงที่พัฒนาอย่างเป็นธรรมชาติ
ก็สามารถเปล่งออกมาได้อย่างหลากหลาย -
0:48 - 0:55เมื่อเราอายุมากขึ้น ร่างกาย
มีการเปลี่ยนแปลงสองอย่าง ที่ส่งผลต่อเสียง -
0:55 - 1:01แล้วกล่องเสียงของเราทำงานอย่างไร
อะไรกันที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเสียง -
1:01 - 1:06เสียงพูดจำเพาะเป็นผลมาจาก
ความหลากหลายทางกายภาพ -
1:06 - 1:10แต่ส่วนใหญ่ มันขึ้นอยู่กับ
อายุและสุขภาพของเส้นเสียง -
1:10 - 1:12และขนาดของกล่องเสียง
-
1:12 - 1:16กล่องเสียงประกอบด้วย
กล้ามเนื้อและกระดูกอ่อน -
1:16 - 1:19ที่ค้ำจุนและขยับเส้นเสียง
-
1:19 - 1:23หรือที่เรียกกันว่า หลอดเสียง
-
1:23 - 1:26กล้ามเนื้อทั้งสองระหว่างต่อมไทรอยด์
และกระดูกอ่อนอาริทินอยด์ -
1:26 - 1:32ถูกขึงเป็นม่านยางยืด ที่เปิดหรือปิดหลอดลม
-
1:32 - 1:35ท่อที่นำอากาศผ่านช่องคอลงมา
-
1:35 - 1:37ร่องนั้นแยกจากกันเมื่อเราหายใจเข้า
-
1:37 - 1:39แต่เมื่อเราพูด มันถูกปิด
-
1:39 - 1:42ปอดของเราดันอากาศต้านช่องปิดนั้น
-
1:42 - 1:46เป่าให้มันเปิดออก
และทำให้เนื้อเยื่อสั่นเกิดเป็นเสียง -
1:46 - 1:50ต่างกับการเล่นเครื่องดนตรี
ที่เราต้องใช้สมาธิจดจ่อ -
1:50 - 1:54เราเปลี่ยนระดับเสียงขณะพูดได้ดั่งใจ
-
1:54 - 1:55โดยการดันอากาศให้เร็วขึ้นหรือข้าลง
-
1:55 - 1:59เราเปลี่ยนความถี่และช่วงคลื่น
ของการสั่นเหล่านี้ -
1:59 - 2:03ซึ่งส่งผลให้เกิดความสูงต่ำ
และความดังของเสียง -
2:03 - 2:08การสั่นที่รวดเร็วและไม่มาก
ทำให้เกิดเสียงสูง เสียงไม่ดัง -
2:08 - 2:13ในขณะที่การสั่นช้า ๆ เป็นช่วงกว้าง
ทำให้เกิดเสียงที่คำรามที่ทุ้มลึก -
2:13 - 2:16และการเคลื่อนกล้ามเนื้อกล่องเสียง
ระหว่างกระดูกอ่อน -
2:16 - 2:19ทำให้เราสามารถยืดและหดร่องเหล่านั้น
-
2:19 - 2:23เพื่อกำกับการเล่นอวัยวะ
เครื่องดนตรีของเราเอง -
2:23 - 2:26กระบวนการนี้เหมือนกันหมด
ตั้งแต่คุณเปล่งเสียงคำแรกจนคำสุดท้าย -
2:26 - 2:29แต่เมื่อคุณอายุมากขึ้น
กล่องเสียงของคุณก็แก่ตัวลงเช่นกัน -
2:29 - 2:33ระหว่างช่วงเป็นหนุ่มสาว
การเปลี่ยนแปลงแรกก็คือ -
2:33 - 2:35เสียงของคุณต่ำลง
-
2:35 - 2:39มันเกิดขึ้นเมื่อกล่องเสียงของคุณ
มีขนาดใหญ่ขึ้น -
2:39 - 2:44ทำให้เส้นเสียงที่ยาวขึ้น
และมีพื้นที่ให้มันสั่นได้มากขึ้น -
2:44 - 2:47ร่องที่ยาวขึ้นนี้เอง
ทำให้การสั่นช้าลงและมีช่วงกว้างขึ้น -
2:47 - 2:51ซึ่งเป็นผลให้ระดับเสียงต่ำลง
-
2:51 - 2:53การเปลี่ยนแปลงนี้ชัดเจนในผู้ชายส่วนใหญ่
-
2:53 - 2:57ที่มีปริมาณเทสโทสเตอโรนสูง
ซึ่งตอนแรกทำให้เสียงแตก -
2:57 - 3:00และจากนั้นก็ทำให้เสียงต่ำลง
ก้องดังมากขึ้น -
3:00 - 3:04ส่วนที่ยื่นออกมาของกล่องเสียง
เรียกว่าลูกกระเดือก -
3:04 - 3:07การเปลี่ยนแปลงทางเสียงอื่น ๆ
ระหว่างเป็นหนุ่มสาว -
3:07 - 3:10เกิดขึ้นเมื่อเนื้อเยื่อปกคลุมร่อง
ที่เคยมีลักษณะเหมือน ๆ กัน -
3:10 - 3:14เปลี่ยนแปลงไปเป็นเนื้อเยื่อสามแบบ
ได้แก่ -
3:14 - 3:15กล้ามเนื้อส่วนกลาง
-
3:15 - 3:20ชั้นคอลลาเจนหนาที่ถูกพันรอบ
ด้วยใยอิลาสติกที่ยืดได้ -
3:20 - 3:23และส่วนนอกที่เป็นเยื่อเมือก
-
3:23 - 3:26ชั้นเหล่านั้นสร้างความแตกต่างและความลึก
ให้กับเสียง -
3:26 - 3:31ทำให้การสั่นมีเอกลักษณ์
ต่างจากเสียงที่เรามีมาแต่แรก -
3:31 - 3:36หลังจากพ้นวัยหนุ่มสาว คนส่วนใหญ่
ก็จะมีเสียงคงที่ไปแบบนั้น -
3:36 - 3:38เป็นเวลาประมาณ 50 ปี
-
3:38 - 3:40เราใช้เสียงต่างกัน
-
3:40 - 3:44แต่ท้ายที่สุด
เราก็มีอาการกล่องเสียงแก่ด้วยกันทุกคน -
3:44 - 3:46ซึ่งเรียกว่า เพรสไบโฟเนีย
-
3:46 - 3:49เริ่มแรก คอลลาเจนในเส้นเสียงของเรา
แข็งตัวกว่าเดิม -
3:49 - 3:53และใยอิลาสติกที่อยู่รอบ ๆ
ก็ฝ่อและสลาย -
3:53 - 3:58ความยืดหยุ่นที่ลดลงนี้
ทำให้เสียของคนแก่สูงขึ้น -
3:58 - 4:01แต่สำหรับคนที่ได้รับผลกระทบของฮอร์โมน
ช่วงที่หมดประจำเดือน -
4:01 - 4:07ระดับเสียงที่สูงขึ้นจะถูกต้าน
และกลบด้วยผลจากเส้นเสียงที่โป่ง -
4:07 - 4:13มวลของเส้นเสียงที่มากขึ้น
ทำให้มันสั่นช้าลง เกิดเสียงที่ทุ้มขึ้น -
4:13 - 4:15นอกจากนี้ยังมีผลมาจาก
-
4:15 - 4:19ปลายประสาทกล่องเสียง
ที่ไม่สมบูรณ์เท่าเดิม -
4:19 - 4:24ซึ่งทำให้การควบคุมขาดความแม่นยำ
และเกิดเสียงแหบและมีลม -
4:24 - 4:28ท้ายที่สุด การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพเหล่านี้
เป็นเพียงปัจจัยบางส่วน -
4:28 - 4:30ที่อาจส่งผลต่อเสียงของคุณ
-
4:30 - 4:32แต่ถ้าเราดูแลกล่องเสียงให้ดี
-
4:32 - 4:35มันก็จะเป็นเครื่องดนตรี
ที่ถูกปรับไว้อย่างละเอียด -
4:35 - 4:37ที่สามารถกำกับทำนองอุปรากร
-
4:37 - 4:38บทพูดที่เต็มไปด้วยอารมณ์
-
4:38 - 4:40และการบรรยายที่เร้าความรู้สึก
- Title:
- ทำไมแก่แล้วเสียงเปลี่ยน
- Speaker:
- ไชลิน เอ. ชูตเลอร์ (Shaylin A. Schundler)
- Description:
-
ชมบทเรียนเต็มได้ที่:
เสียงของมนุษย์สามารถเปล่งออกมาได้หลากหลายลักษณะอย่างน่าทึ่ง เมื่อเราอายุมากขึ้น ร่างกายของเราผ่านการเปลี่ยนแปลงหลัก ๆ สองประการซึ่งส่งผลต่อลักษณะของเสียง แล้วกล่องเสียงของเราทำงานอย่างไร อะไรกันที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเสียง ไชลิน เอ. ชูตเลอร์ (Shaylin A. Schundler) อธิบายว่าการเปลี่ยนแปลงของเสียงเมื่อเราอายุมากขึ้นได้อย่างไรและเพราะอะไร
บทเรียนโดย Shaylin A. Schundler, กำกับโดย Andrew Foerster & Nick Counter
- Video Language:
- English
- Team:
closed TED
- Project:
- TED-Ed
- Duration:
- 04:55
![]() |
Kelwalin Dhanasarnsombut approved Thai subtitles for Why does your voice change as you get older? | |
![]() |
Sritala Dhanasarnsombut accepted Thai subtitles for Why does your voice change as you get older? | |
![]() |
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Why does your voice change as you get older? | |
![]() |
Sritala Dhanasarnsombut declined Thai subtitles for Why does your voice change as you get older? | |
![]() |
Sritala Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Why does your voice change as you get older? | |
![]() |
Sritala Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Why does your voice change as you get older? | |
![]() |
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Why does your voice change as you get older? | |
![]() |
Kelwalin Dhanasarnsombut edited Thai subtitles for Why does your voice change as you get older? |