< Return to Video

แบบฝึกหัดเรื่องการรับรู้ถึงระยะของเวลา - แมท เดนซิโค (Matt Danzico)

  • 0:14 - 0:16
    สวัสดี มนุษย์โลก
  • 0:16 - 0:18
    ผมชื่อ แมท
  • 0:18 - 0:19
    และในอีกไม่กี่อึดใจ
  • 0:19 - 0:22
    คุณจะต้องฟังที่ผมพูด
  • 0:22 - 0:25
    ว่ะ ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า
  • 0:25 - 0:27
    ขอโทษครับ ผมล้อเล่นนะ
  • 0:29 - 0:32
    นี่เป็นเสียงปกติของผมครับ
  • 0:32 - 0:33
    คุณเคยปฎิบัติตามคำแนะนำ
  • 0:33 - 0:36
    จากเสียงปริศนาจากคอมพิวเตอร์มาก่อนไหมครับ
  • 0:36 - 0:38
    ไม่เคยหรือ ดีเลยครับ
  • 0:38 - 0:40
    ผมอยากจะทดลองอะไรกับคุณ
  • 0:40 - 0:42
    แต่ผมบอกรายละเอียดของการทดลองไม่ได้
  • 0:42 - 0:43
    เพราะว่าถ้าบอกไปแล้ว
  • 0:43 - 0:45
    มันจะไม่ได้ผล
  • 0:45 - 0:47
    คุณต้องเชื่อใจผมนะ
  • 0:47 - 0:49
    แล้วมันจะกระจ่างเอง
  • 0:49 - 0:50
    หวังว่านะ
  • 0:50 - 0:52
    ถ้าคุณกำลังนั่งอยู่
  • 0:52 - 0:54
    ยืนขึ้นจากเก้าอี้ และถอยหลังไปครับ
  • 0:54 - 0:57
    เดี๋ยวผมจะให้คุณหมุนไปมา
  • 0:57 - 0:59
    ดังนั้น หาที่ว่างให้ตัวเองนะครับ
  • 0:59 - 1:01
    ต้องย้ายเครื่องเรือนหรือครับ
  • 1:01 - 1:02
    เอาเลยครับ
  • 1:02 - 1:03
    ผมจะรอ
  • 1:05 - 1:06
    พอผมนับถึงสาม
  • 1:06 - 1:08
    คุณเริ่มกระโดดขาเดียวนะครับ
  • 1:08 - 1:10
    พร้อมหรือยังครับ
  • 1:10 - 1:11
    หนึ่ง
  • 1:11 - 1:13
    สอง
  • 1:13 - 1:14
    สาม
  • 1:14 - 1:15
    โดด
  • 1:15 - 1:16
    โดด
  • 1:16 - 1:16
    โดด
  • 1:16 - 1:18
    โดด
  • 1:18 - 1:19
    โดด
  • 1:19 - 1:20
    เยี่ยมครับ
  • 1:20 - 1:22
    ทีนี้ ระหว่างที่คุณกระโดดอยู่
  • 1:22 - 1:25
    ผมอยากจะให้คุณเห่าเหมือนสุนัขไปด้วย
  • 1:25 - 1:26
    โฮ่ง โฮ่ง
  • 1:26 - 1:28
    โฮ่ง โฮ่ง
  • 1:28 - 1:30
    โฮ่ง โฮ่ง
  • 1:30 - 1:32
    ว้าว เหมือนใช้ได้เลย
  • 1:32 - 1:33
    อีกหน่อยครับ
  • 1:33 - 1:36
    โฮ่ง โฮ่ง โฮ่ง
  • 1:36 - 1:37
    และสาม
  • 1:37 - 1:38
    สอง
  • 1:38 - 1:39
    หนึ่ง
  • 1:39 - 1:40
    หยุด
  • 1:40 - 1:43
    เชิญทำตัวตามสบายและนั่งลงได้ครับ
  • 1:43 - 1:45
    ทีนี้ ผมอยากให้คุณคิดว่าเวลาผ่านไปเท่าไร
  • 1:45 - 1:47
    ระหว่างที่ผมบอกว่า เริ่ม
  • 1:47 - 1:49
    และคุณเริ่มที่จะกระโดดขาเดียว
  • 1:49 - 1:50
    จนถึงตอนที่ผมบอกว่า หยุด
  • 1:50 - 1:52
    ลองเดาดูครับ
  • 1:52 - 1:56
    ผมอยากได้คำตอบเป็นชัดๆเป็นตัวเลขวินาทีหรือนาที
  • 1:56 - 1:58
    เอาล่ะครับ เอากระดาษปากกามา เขียนเลขลงไป
  • 2:00 - 2:01
    เสร็จหรือยังครับ
  • 2:01 - 2:05
    เวลาที่ถูกต้องคือ 26 วินาที
  • 2:05 - 2:06
    คุณคาดไว้เกินความจริงหรือเปล่าครับ
  • 2:06 - 2:08
    เป็นไปได้ครับว่าจะเป็นเช่นนั้น
  • 2:08 - 2:10
    แล้ว อะไรเป็นสาเหตุของปัญหานี้ล่ะ
  • 2:10 - 2:13
    นี่เป็นเพราะว่า การรับรู้ระยะของเวลา (time perception)
  • 2:13 - 2:16
    ถึงแม้ว่าเราจะสามารถคาดคะเนเวลา
    ได้อย่างแม่นยำอย่างน่าตกใจ
  • 2:16 - 2:19
    เมื่อเราเจออะไรใหม่ๆ ไม่ปกติ หรือ มีการเคลื่อนไหว
  • 2:19 - 2:20
    เช่นกระโดดขาเดียว
  • 2:20 - 2:23
    ระหว่างที่ทำตามคำแนะนำจากเสียงคอมพิวเตอร์
  • 2:23 - 2:26
    หรือว่า กระโดดออกจากเครื่องบิน
  • 2:26 - 2:29
    คุณมักจะคำนวณพลาดว่าเวลาผ่านไปเท่าไรแล้ว
  • 2:29 - 2:31
    ซึ่งหมายความว่า ถ้าคุณกระโดดบันจี้เป็นครั้งแรก
  • 2:31 - 2:35
    การการดิ่งสู่เบื้องล่างอาจเหมือนใช้เวลาราวสัก 10 วินาที
  • 2:35 - 2:37
    ทั้งที่เวลาที่บันทึกไว้จริงๆนั้นแสดงให้เห็น
  • 2:37 - 2:40
    ว่าการกระโดดนั้น ใช้เวลาแค่ 5 วินาที
  • 2:40 - 2:42
    สาเหตุสำหรับความแตกต่างนี้ คือ
  • 2:42 - 2:44
    ไม่เหมือนกับร่างกายของคุณที่ตกลงไปยังด้านล่าง
  • 2:44 - 2:46
    การรับรู้เรื่องระยะเวลาของสมองของคุณนั้น
  • 2:46 - 2:49
    ไม่ได้เป็นเส้นตรงลากระหว่างจุดสองจุด
  • 2:49 - 2:50
    นักวิทยาศาสตร์บางคนเชื่อว่า
  • 2:50 - 2:53
    สมองของคุณติดตามรับรู้การเปลี่ยนแปลงเวลาเป็นเส้นโค้ง
  • 2:53 - 2:55
    ซึ่งมันขึ้นอยู่กับปริมาณของข้อมูล
  • 2:55 - 2:57
    ที่คุณรับรู้ระหว่างตกลงไปด้านล่าง
  • 2:57 - 2:59
    ตัวอย่างเช่น เดวิด อีเกอร์แมน (David Eagleman)
  • 2:59 - 3:02
    นักประสาทวิทยา จาก Baylor College of Medicine
  • 3:02 - 3:04
    เชื่อว่า การรับรู้ระยะของเวลานั้นได้รับอิทธิพลมาก
  • 3:04 - 3:07
    จากจำนวนความทรงจำและข้อมูล
  • 3:07 - 3:08
    ที่คุณจะจำเอาไว้ในสมอง
  • 3:08 - 3:10
    เมื่อคุณมีประสบการณ์ใหม่
  • 3:10 - 3:13
    เช่นกระโดดน้ำจากที่สูงเป็นครั้งแรก
  • 3:13 - 3:14
    ประสาทสัมผัสของคุณถูกขยาย
  • 3:14 - 3:16
    คุณจดจำรายละเอียด
  • 3:16 - 3:18
    เกี่ยวกับสิ่งที่เห็น เสียง กลิ่น
  • 3:18 - 3:20
    มากกว่าที่คุณทำตอนปกติ
  • 3:20 - 3:21
    และคุณจดจำข้อมูลเหล่านั้นไว้ในสมอง
  • 3:21 - 3:23
    ในรูปแบบของความทรงจำ
  • 3:23 - 3:25
    ดังนั้น ยิ่งคุณมีข้อมูลในสมองมากเท่าไร
  • 3:25 - 3:29
    เช่นกลิ่นของคลอรีนเมื่อคุณกระโดดลงมา
  • 3:29 - 3:30
    หรือสีของน้ำ
  • 3:30 - 3:33
    คุณยิ่งจะรู้สึกว่าประสบการณ์ยาวนานมากเท่านั้น
  • 3:33 - 3:35
    ซึ่งก็หมายความว่า จำนวนของความทรงจำ
  • 3:35 - 3:37
    และข้อมูลที่คุณบันทึกในสมอง
  • 3:37 - 3:39
    มีอิทธิพลโดยตรงต่อระยะเวลา
  • 3:39 - 3:41
    ที่คุณเชื่อว่าประสบการณ์นั้นดำเนินไป
  • 3:41 - 3:43
    คุณเคยได้ยินไหม ที่คนบรรยาย
  • 3:43 - 3:45
    ว่าอุบัติเหตุในรถยนต์เป็นเช่นไร
  • 3:45 - 3:49
    ถึงแม้ว่าอุบัติเหตุจากยานยนต์
    ปกติจะกินเวลาแค่ไม่กี่วินาที
  • 3:49 - 3:51
    คนที่อยู่ในเหตุการณ์มักบอกว่า
  • 3:51 - 3:54
    พวกเขารู้สึกมันกินเวลานานกว่านั้น
  • 3:54 - 3:56
    การรับรู้ถึงระยะของเวลายังเป็นเหตุที่ว่า
  • 3:56 - 4:00
    ทำไมวัยเด็กของคุณเหมือนจะนานแสนนาน
  • 4:00 - 4:03
    เมื่อเป็นผู้ใหญ่ แค่อึดใจเดียวก็ผ่านไปปีหนึ่งแล้ว
  • 4:03 - 4:06
    แต่เด็กๆบันทึกข้อมูลเข้าไปในสมองมากกว่า
  • 4:06 - 4:08
    สิ่งนี้เกิดขึ้นเพราะว่า ประสบการณ์ส่วนใหญ่
  • 4:08 - 4:12
    ที่เราเจอเมื่อเรายังเป็นเด็ก
    เป็นประสบการณ์ใหม่และไม่คุ้นเคยสำหรับเรา
  • 4:12 - 4:14
    กองบันทึกความทรงจำในหัวสมองของคุณนั้น
  • 4:14 - 4:17
    มันแน่นมาก ซึ่งการอ่านย้อนกลับไปทำให้คุณเชื่อว่า
  • 4:17 - 4:20
    ประสบการณ์ของคุณต้องกินเวลานานมาก
  • 4:20 - 4:22
    นอกจากนั้น เมื่อคุณอายุ 5 ขวบ
  • 4:22 - 4:25
    หนึ่งปีเป็น 1 ใน 5 ของชีวิตคุณ
  • 4:25 - 4:29
    แต่เมื่อคุณอายุ 25 ปี หนึ่งปีเป็นแค่ 1 ใน 25
  • 4:29 - 4:31
    เปลี่ยนแปลงการรับรู้ถึงระยะของเวลาของคุณมากไปอีก
  • 4:31 - 4:33
    และ ถ้าคุณเป็นผู้ใหญ่
  • 4:33 - 4:34
    ลองคิดถึงการเดินทางที่คุณเคยไป
  • 4:34 - 4:37
    ที่ไหนสักแห่งไกลๆเป็นครั้งแรก
  • 4:37 - 4:40
    สองสัปดาห์นั้นที่คุณใช้ไปกับการสำรวจสิ่งรอบๆ
  • 4:40 - 4:44
    มันเหมือนจะยาวนานกว่า 14 วันหรือเปล่า
  • 4:44 - 4:45
    แม้ว่า การรับรู้ถึงระยะของเวลา จะหยั่งราก
  • 4:45 - 4:47
    อยู่ในทั้งหลักวิทยาศาสตร์และทฤษฎี
  • 4:47 - 4:49
    มันได้มอบบทเรียนที่มีค่ากับเรา
  • 4:49 - 4:51
    ว่าเราควรใช้ชีวิตเราอย่างไร
  • 4:51 - 4:52
    ผมมั่นใจว่าคุณคงเคยได้ยิน
  • 4:52 - 4:54
    ว่า คนเราไม่ควรเอาแต่นั่งจับเจ่า
  • 4:54 - 4:56
    และปล่อยเวลาผ่านไป
  • 4:56 - 4:59
    เอาล่ะครับ การรับรู้ถึงระยะของเวลาบอกเราว่าทำไม
  • 4:59 - 5:00
    ถ้าคุณตื่นขึ้นมา และก้าวเข้าหาโลก
  • 5:00 - 5:01
    และสัมผัสประสบการณ์ใหม่
  • 5:01 - 5:04
    และบางที แม้กระทั่งกระโดดขาเดียวไปรอบๆ
  • 5:04 - 5:06
    และเห่าเหมือนสุนัข
  • 5:06 - 5:07
    คุณจะรับรู้สัมผัสถึงชีวิตของคุณเอง
  • 5:07 - 5:10
    ได้ยาวนานกว่าจริงๆ
Title:
แบบฝึกหัดเรื่องการรับรู้ถึงระยะของเวลา - แมท เดนซิโค (Matt Danzico)
Description:

ชมบทเรียนแบบเต็มได้ที่: http://ed.ted.com/lessons/an-exercise-in-time-perception-matt-danzico

ทำไมประสบการณ์บางอย่างให้ความรู้สึกเหมือนว่าพวกมันกินเวลาเนิ่นนานเหลือเกิน ในขณะที่บางอย่างผ่านไปอย่างรวดเร็ว
พวกเรามักจะคำนวณพลาดเมื่อพูดถึงเวลาที่เราใช้ในการทำกิจกรรมใหม่ ด้วยเหตุจากอิทธิพลของความทรงจำ แมท เดนซิโค อธิบายว่าทำไม วัยเด็กของคุณถึงให้ความรู้สึกว่ามันยาวนานมาก ทำไมช่วงวันหยุดที่ชายหาดให้ความรู้สึกว่าเหมือนสองเดือนมากกว่าสองสัปดาห์

บทเรียนโดย Matt Danzico, แอนิเมชั่นโดย London Squared Productions.

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TED-Ed
Duration:
05:25

Thai subtitles

Revisions Compare revisions