< Return to Video

อินทิกรัลเส้นกับสนามเวกเตอร์

  • 0:00 - 0:00
    -
  • 0:00 - 0:03
    หนึ่งในแนวคิดที่พื้นฐานที่สุดอย่างนึงในฟิสิกส์
  • 0:03 - 0:05
    คือ แนวคิดเรื่องงาน
  • 0:05 - 0:08
    ทีนี้, ตอนคุณเรียนเรื่องงานครั้งแรก, คุณอาจบอกว่า, โอ้
  • 0:08 - 0:10
    นั่นก็แค่แรงคูณระยะทาง
  • 0:10 - 0:12
    แต่แล้วต่อมา, ตอนคุณเรียนอีกหน่อยเรื่อง
  • 0:12 - 0:15
    เวกเตอร์, คุณก็รู้ว่าแรงไม่จำเป็นต้อง
  • 0:15 - 0:18
    มีทิศทางเดียวกับการกระจัด
  • 0:18 - 0:21
    คุณก็เลยรู้ว่า งาน มีแค่ขนาด, ขอผมเขียนลงไป
  • 0:21 - 0:33
    ตรงนี้นะ, ขนาดของแรง, ในทิศ,
  • 0:33 - 0:39
    หรือองค์ประกอบของแรงในทิศ
  • 0:39 - 0:42
    ของการกระจัด
  • 0:42 - 0:44
    การกระจัดก็คือระยะทางที่มีทิศด้วย
  • 0:44 - 0:50
    -
  • 0:50 - 0:55
    คูณขนาดของการกระจัด, หรือคุณบอกว่า
  • 0:55 - 0:57
    คูณระยะที่มันเลื่อนไป
  • 0:57 - 1:01
    -
  • 1:01 - 1:02
    และตัวอย่างคลาสสิค
  • 1:02 - 1:06
    บางทีคุณอาจมีก้อนน้ำแข็ง, หรือก้อนหินสักอย่าง
  • 1:06 - 1:09
    เป็นน้ำแข็งจะได้ไม่มีแรงเสียดทานมากนัก
  • 1:09 - 1:13
    บางทีมันอาจอยู่บนทะเลสาบที่ใหญ่กว่า หรือน้ำแข็งอะไรสักอย่าง
  • 1:13 - 1:15
    บางทีคุณอาจดึงก้อนน้ำแข็งนั่นเป็นมุมค่านึง
  • 1:15 - 1:18
    สมมุติว่า คุณกำลังดึงมันเป็นมุมแบบนั้น
  • 1:18 - 1:21
    นั่นคือแรงของผม, ตรงนี้
  • 1:21 - 1:24
    สมมุติว่าแรงผมเท่ากับ -- ทีนี้, นั่นคือ
  • 1:24 - 1:25
    เวกเตอร์แรงผม
  • 1:25 - 1:34
    สมมุติว่าขนาดของเวกเตอร์แรง, สมมุติว่า
  • 1:34 - 1:35
    มันคือ 10 นิวตัน
  • 1:35 - 1:38
    สมมุติว่าทิศของเวกเตอร์แรง, ตรงนี้,
  • 1:38 - 1:41
    เวกเตอร์ใด ๆ ต้องมีทั้งขนาดและทิศ, และทิศ
  • 1:41 - 1:45
    สมมุติมันทำมุม 30 องศา, สมมุติว่า
  • 1:45 - 1:48
    มุม, 60 องศา, เหนือแกนนอน
  • 1:48 - 1:50
    ดังนั้นนั่นคือทิศที่ผมกำลังดึง
  • 1:50 - 1:53
    สมมุติว่าผมเลื่อนมันไป
  • 1:53 - 1:56
    หวังว่านี่เป็นการทบทวนนะ
  • 1:56 - 1:59
    หากคุณเลื่อนมัน, สมมุติว่าคุณเลื่อนมันไป 5 นิวตัน
  • 1:59 - 2:03
    สมมุติว่าการกระจัด, นั่นคือเวกเตอร์การกระจัด
  • 2:03 - 2:10
    ตรงนี้, และขนาดของมันเท่ากับ 5 เมตร
  • 2:10 - 2:13
    คุณก็รู้จากนิยามของแรงแล้ว, คุณไม่อาจ
  • 2:13 - 2:17
    บอกว่า, โอ้, ผมกำลังดึงด้วยแรง 10 นิวตัน และ
  • 2:17 - 2:18
    ผมกำลังเคลื่อนไป 5 เมตร
  • 2:18 - 2:23
    คุณไม่สามารถคูณ 10 นิวตันด้วยระยะ 5 เมตรได้
  • 2:23 - 2:26
    คุณต้องหาขนาดขององค์ประกอบ
  • 2:26 - 2:29
    ที่อยู่ในทิศเดียวกับการกระจัด
  • 2:29 - 2:32
    ดังนั้นสิ่งที่ผมจำเป็นต้องทำคือ, ความยาว, หากคุณ
  • 2:32 - 2:35
    นึกถึงความยาวของเวกเตอร์นี้เป็น 10, นั่นก็คือ
  • 2:35 - 2:38
    แรงลัพธ์, แต่คุณต้องหาความยาว
  • 2:38 - 2:41
    ของเวกเตอร์, นั่นคือองค์ประกอบของแรง, จะได้มีทิศ
  • 2:41 - 2:43
    เดียวกับการกระจัดผม
  • 2:43 - 2:46
    และด้วยตรีโกณมิติง่าย ๆ, คุณก็รู้ว่า
  • 2:46 - 2:53
    นี่คือ 10 คูณโคไซน์ของ 60 องศา, หรือนั่นเท่ากับ
  • 2:53 - 2:58
    โคไซน์ของ 60 องศา คือ 1/2, นั่นจะเท่ากับ 5
  • 2:58 - 3:00
    ดังนั้นขนาดนี่, ขนาดของแรง
  • 3:00 - 3:02
    ไปในทิศเดียวกับการกระจัดในกรณีนี้
  • 3:02 - 3:05
    คือ 5 นิวตัน
  • 3:05 - 3:08
    -
  • 3:08 - 3:10
    แล้วคุณก็หางานได้แล้ว
  • 3:10 - 3:20
    คุณอาจบอกว่า งานเท่ากับ 5 นิวตัน คูณ, ผมจะ
  • 3:20 - 3:21
    เขียนจุดแทนการคูณนะ
  • 3:21 - 3:22
    ผมไม่อยากให้คุณคิดว่ามันคือ ครอสโปรดัก
  • 3:22 - 3:27
    คูณ 5 เมตร, ซึ่งก็คือ 25 นิวตันเมตร, หรือคุณอาจ
  • 3:27 - 3:31
    บอกว่า 25 จูล เป็นงานที่ทำไป
  • 3:31 - 3:35
    และนี่คือการทบทวนฟิสิกส์พื้นฐานทั่วไป
  • 3:35 - 3:37
    แต่ลองคิดว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างตรงนี้
  • 3:37 - 3:37
    งานคืออะไร?
  • 3:37 - 3:39
    หากผมเขียนในรูปนามธรรม
  • 3:39 - 3:43
    งานเท่ากับ 5 นิวตัน
  • 3:43 - 3:47
    นั่นคือขนาดของเวกเตอร์แรง, ดังนั้นมัน
  • 3:47 - 3:53
    คือขนาดของเวกเตอร์แรงผม, คูณโคไซน์ของมุมนี้
  • 3:53 - 3:54
    คุณก็รู้, เรียกมันว่าเทต้าแล้วกัน
  • 3:54 - 3:55
    สมมุติว่ามันทั่ว ๆ ไปแล้วกัน
  • 3:55 - 3:58
    คูณกับโคไซน์ของมุม
  • 3:58 - 4:02
    นี่คือปริมาณของแรงในทิศของ
  • 4:02 - 4:05
    การกระจัด, โคไซน์ของมุมระหว่างพวกมัน, คูณ
  • 4:05 - 4:07
    ขนาดของการกระจัด
  • 4:07 - 4:12
    งั้นคูณขนาดของการกระจัด
  • 4:12 - 4:16
    หรือหากผมอยากเขียนมันใหม่, ผมก็เขียนมันเป็น,
  • 4:16 - 4:19
    ขนาดของการกระจัด คูณ ขนาดของแรง
  • 4:19 - 4:23
    คูณโคไซน์ของเทต้า
  • 4:23 - 4:27
    และผมทำวิดีโอหลายอันเกี่ยวกับเรื่องนี้แล้ว, ในรายการพีชคณิตเชิงเส้น
  • 4:27 - 4:29
    ในรายการฟิสิกส์, โดยผมพูดถึง
  • 4:29 - 4:32
    ดอทโปรดัคและครอสโปรดัค อะไรพวกนั้น, แต่
  • 4:32 - 4:40
    นี่คือดอทโปรดัคของเวกเตอร์ d กับ f
  • 4:40 - 4:44
    งั้นโดยทั่วไป, หากคุณพยายามหางานของการกระจัด
  • 4:44 - 4:47
    คงที่, และคุณมีแรงคงที่, คุณก็แค่
  • 4:47 - 4:49
    หาดอทโปรดัคของเวกเตอร์สองตัวนั้น
  • 4:49 - 4:51
    และหากดอทโปรดัคเป็นเรื่องไม่คุ้นเคยสำหรับ
  • 4:51 - 4:54
    คุณ, คุณอาจอยากไปดู, ผมว่าผมทำไว้หลายอัน, วิดีโอ
  • 4:54 - 4:56
    4 หรือ 5 อันเกี่ยวกับดอทโปรดัค, และสัญชาตญาณ,
  • 4:56 - 4:57
    ว่ามันต่างกันยังไง
  • 4:57 - 4:59
    แต่เพื่อให้คุณได้สัญชาตญาณนิดหน่อยตอนนี้
  • 4:59 - 5:04
    ดอทโปรดัค, ตอนผมเอา f ดอท d, หรือ d ดอท f,
  • 5:04 - 5:08
    สิ่งที่มันให้ผมคือ, ผมกำลังคูณขนาด,
  • 5:08 - 5:10
    อันนั้นผมแค่อ่านนี่ออกมา
  • 5:10 - 5:14
    แต่แนวคิดของดอทโปรดัคคือ, เอาปริมาณ
  • 5:14 - 5:17
    ของเวกเตอร์ในทิศเดียวกับเวกเตอร์นี้ออกมา,
  • 5:17 - 5:18
    ในกรณีนี้, ก็คือเท่านี้
  • 5:18 - 5:21
    แล้วคูณด้วยขนาดทั้งสอง
  • 5:21 - 5:22
    และนั่นคือสิ่งที่เราทำไปตรงนี้
  • 5:22 - 5:26
    ดังนั้นงานจะเท่ากับเวกเตอร์แรง, ดอท, เอา
  • 5:26 - 5:29
    ส่วนดอทของเวกเตอร์แรง กับเวกเตอร์การกระจัด,
  • 5:29 - 5:31
    และนี่, แน่นอน, มีค่าเป็นสเกลาร์
  • 5:31 - 5:33
    และเราจะทำตัวอย่างในอนาคต
  • 5:33 - 5:34
    ให้คุณเห็นว่ามันเป็นจริง
  • 5:34 - 5:39
    ดังนั้นนี่คือการทบทวนฟิสิกส์เบื้องต้นจริง ๆ
  • 5:39 - 5:42
    ทีนี้ ลองดูตัวอย่างที่ซับซ้อนขึ้น, แต่มันยัง
  • 5:42 - 5:44
    คิดเหมือนเดิม
  • 5:44 - 5:46
    ลองนิยามสนามเวกเตอร์ขึ้นมา
  • 5:46 - 5:49
    -
  • 5:49 - 5:51
    งั้นสมมุติว่าผมมีสนามเวกเตอร์ f, และเรา
  • 5:51 - 5:54
    จะคิดว่ามันหมายถึงอะไรในไม่ช้า
  • 5:54 - 5:59
    มันคือฟังก์ชันของ x กับ y, และมันเท่ากับสเกลาร์ฟังก์ชัน
  • 5:59 - 6:04
    ของ x กับ y คูณเวกเตอร์หน่วย i, หรือ
  • 6:04 - 6:09
    เวกเตอร์หน่วยตามแนวราบ, บวกฟังก์ชันอีกอัน, ฟังก์ชัน
  • 6:09 - 6:14
    สเกลาร์ของ x กับ y, คูณเวกเตอร์หน่วยตามแนวดิ่ง
  • 6:14 - 6:16
    แล้วของแบบนี้จะเป็นยังไง?
  • 6:16 - 6:17
    นี่คือสนามเวกเตอร์
  • 6:17 - 6:20
    นี่คือสนามเวกเตอร์ในสเปซ 2 มิติ
  • 6:20 - 6:21
    เราอยู่ในระนาบ x-y
  • 6:21 - 6:31
    -
  • 6:31 - 6:36
    หรือคุณอาจเรียกมันว่า R2
  • 6:36 - 6:38
    ไม่ว่ายังไง, ผมไม่อยากพูดถึง
  • 6:38 - 6:39
    คณิตศาสตร์ในนั้นเกินไป
  • 6:39 - 6:41
    แต่นี่จะทำอะไร?
  • 6:41 - 6:47
    เอาล่ะ, หากผมวาดระนาบ x-y, โดยที่นั่นคือ,
  • 6:47 - 6:49
    ผมมีปัญหาเรื่องวาดเส้นตรงอีกแล้ว
  • 6:49 - 6:51
    เอาล่ะ, ได้แล้ว
  • 6:51 - 6:54
    นั่นคือแกน y ผม, และนั่นคือแกน x ผม
  • 6:54 - 6:56
    ผมแค่วาดจตุภาคแรก, แต่คุณอาจวาด
  • 6:56 - 6:59
    ไปเป็นลบในอีกทางนึงก็ได้ถ้าต้องการ
  • 6:59 - 7:01
    แล้วสิ่งนี้จะทำอะไร?
  • 7:01 - 7:02
    มันกำลังบอกว่า, ลองดู
  • 7:02 - 7:07
    คุณบอกค่า x กับ y ใด ๆ กับผม คุณบอกค่า x,y ใด ๆ บนระนาบ x-y
  • 7:07 - 7:10
    และพวกนี้จะออกมาเป็นตัวเลข, จริงไหม?
  • 7:10 - 7:13
    เมื่อคุณใส่ x, y ตรงนี้, คุณจะได้ค่าบางอย่าง,
  • 7:13 - 7:14
    ตอนคุณแทน x, y ตรงนี้, คุณจะได้ค่าบางอย่าง
  • 7:14 - 7:17
    คุณจะได้ส่วนผสมของเวกเตอร์หน่วย
  • 7:17 - 7:18
    i กับ j
  • 7:18 - 7:20
    งั้นคุณจะได้เวกเตอร์สักตัว
  • 7:20 - 7:23
    และสิ่งที่นี่ทำ, มันจะนิยามเวกเตอร์ที่คู่
  • 7:23 - 7:25
    กับจุดทุกจัดบนระนาบ x-y
  • 7:25 - 7:29
    ผมอาจบอกได้ว่า, หากผมเอาจุดนี้บนระนาบ x-y มา,
  • 7:29 - 7:32
    และผมเลือกมันมาไว้นี่, ผมจะได้บางสิ่งคูณ i บวก
  • 7:32 - 7:35
    บางสิ่งคูณ j, และเมื่อคุณบวกสองอย่างเข้า, เราจะได้
  • 7:35 - 7:37
    เวกเตอร์ที่ออกมาเป็นแบบนี้
  • 7:37 - 7:38
    และคุณทำได้กับทุกจุด
  • 7:38 - 7:39
    ผมแค่เลือกตัวอย่างขึ้นมามั่ว ๆ
  • 7:39 - 7:41
    บางทีตอนผมมาตรงนี้, เวกเตอร์ดู
  • 7:41 - 7:42
    หน้าตาแบบนี้
  • 7:42 - 7:45
    บางทีตอนผมไปตรงนี้, เวกเตอร์หน้าตาเป็นแบบนี้
  • 7:45 - 7:48
    บางทีตอนผมไปตรงนี้, เวกเตอร์เป็นแบบนี้
  • 7:48 - 7:50
    และบางทีตอนผมไปถึงตรงนี้, เวกเตอร์ไปแบบนั้น
  • 7:50 - 7:52
    ผมแค่เลือกจุดขึ้นมาสุ่ม ๆ
  • 7:52 - 7:57
    มันจะตั้งเวกเตอร์บนพิกัด x, y ทั้งหมด โดย
  • 7:57 - 8:01
    ฟังก์ชันสเกลาร์พวกนี้ถูกนิยามไว้ชัดเจน
  • 8:01 - 8:02
    และนั่นคือสาเหตุที่มันถูกเรียกว่า สนามเวกเตอร์
  • 8:02 - 8:07
    มันนิ่ยามสิ่งที่ แรงศักย์ จะเป็น,
  • 8:07 - 8:11
    หรือแรงประเภทอื่น ๆ, ณ จุดใด ๆ
  • 8:11 - 8:14
    ที่จุดใด ๆ, หากคุณมีอะไรสักอย่างตรงนั้น
  • 8:14 - 8:16
    บางทีนั่นคือสิ่งที่ฟังก์ชันเป็น
  • 8:16 - 8:18
    ผมสามารถทำแบบนี้ไปตลอด,
  • 8:18 - 8:19
    และเติมเต็มที่ว่างทั้งหมด
  • 8:19 - 8:20
    แต่ผมว่าคุณคงเข้าใจแล้ว
  • 8:20 - 8:25
    มันจับคู่เวกเตอร์เข้ากับทุกจุดบนระนาบ x-y
  • 8:25 - 8:29
    ทีนี้, นี่เรียกว่าสนามเวกเตอร์, ดังนั้นก็เข้าใจได้
  • 8:29 - 8:31
    ว่านี่สามารถใช้บรรยาย
  • 8:31 - 8:32
    สนามได้ทุกประเภท
  • 8:32 - 8:33
    มันอาจเป็นสนามโน้มถ่วงก็ได้
  • 8:33 - 8:37
    มันอาจเป็นสนามไฟฟ้า, อาจเป็นสนามเหล็ก
  • 8:37 - 8:40
    และนี่อาจบอกคุณว่ามีแรง
  • 8:40 - 8:43
    กระทำต่ออนุภาคในสนามนั้นเท่าไหร่
  • 8:43 - 8:45
    นั่นคือสิ่งนี้กำลังบรรยายอยู่
  • 8:45 - 8:49
    ตอนนี้, สมมุติว่าในสนามนี้, ผมมีอนุภาค
  • 8:49 - 8:52
    เคลื่อนที่ไปในระนาบ x-y
  • 8:52 - 8:59
    สมมุติว่ามันเริ่มตรงนี้, และเนื่องจากแรงเพี้ยน ๆ พวกนี้
  • 8:59 - 9:04
    กระทำต่อมัน, หรือบางทีมันอยู่ในราง
  • 9:04 - 9:07
    หรืออะไรสักอย่าง, มันไม่ต้องเคลื่อนที่ไป
  • 9:07 - 9:09
    ตามทิศของสนามที่กระทำต่อมันเสมอไป
  • 9:09 - 9:14
    สมมุติว่ามันเคลื่อนที่ไปตามเส้นทางที่เคลื่อนไปแบบนี้
  • 9:14 - 9:18
    สมมุติว่าเส้นทางนี้, หรือเส้นโค้งนี้, บรรยายได้
  • 9:18 - 9:22
    ด้วยฟังก์ชันเวกเตอร์ตำแหน่ง
  • 9:22 - 9:25
    งั้นสมมุติว่านั่นนิยามด้วย r ของ t, หรือก็
  • 9:25 - 9:34
    คือ x ของ t คูณ i บวก y ของ t คูณเวกเตอร์หน่วย j
  • 9:34 - 9:35
    นั่นคือ r ของ t ตรงนี้
  • 9:35 - 9:38
    ทีนี้, ในการทำให้นี่เป็นเส้นทางจำกัด, มันจะเป็น
  • 9:38 - 9:42
    เช่นนั้นก่อน t มากกว่าเท่ากับ a, และน้อยกว่า
  • 9:42 - 9:46
    เท่ากับ b
  • 9:46 - 9:48
    นี่คือเส้นทางที่อนุภาคจะ
  • 9:48 - 9:50
    เคลื่อนไป, เนื่องจากแรงพวกนี้
  • 9:50 - 9:54
    เมื่ออนุภาคอยู่ตรงนี้, บางทีสนามเวกเตอร์
  • 9:54 - 9:57
    ที่กระทำต่อมัน, บางทีมันอาจให้แรงแบบนั้น
  • 9:57 - 10:00
    แต่เนื่องจากสิ่งนี้อยู่บนรางสักอย่าง, มันจะ
  • 10:00 - 10:00
    เคลื่อนที่ไปในทิศนั้น
  • 10:00 - 10:04
    แล้วเมื่อมันอยู่ตรงนี้, บางทีสนามเวกเตอร์เป็นแบบนั้น,
  • 10:04 - 10:06
    แต่มันเคลื่อนที่ไปอีกทิศนึง, เพราะมันอยู่
  • 10:06 - 10:07
    บนรางสักอย่าง
  • 10:07 - 10:10
    ตอนนี้, ทุกอย่างที่ผมทำมาในวิดีโอนี้ เพื่อตั้ง
  • 10:10 - 10:11
    คำถามพื้น ๆ ข้อนึง
  • 10:11 - 10:14
    นั่นคือ งานที่กระทำต่ออนุภาคโดยสนามนั้นเป็นเท่าไหร่?
  • 10:14 - 10:25
    -
  • 10:25 - 10:29
    เพื่อตอบคำถามนั้น, เราลองขยายเข้าไปหน่อย
  • 10:29 - 10:31
    ผมจะขยายเข้าไปตรงส่วนเล็ก ๆ
  • 10:31 - 10:35
    ของเส้นทางเรา
  • 10:35 - 10:38
    และลองหาว่างานที่กระทำใน
  • 10:38 - 10:40
    ช่วงเล็ก ๆ ของเส้นทาง, เพราะมันเปลี่ยนไปสม่ำเสมอ
  • 10:40 - 10:42
    สนามมีทิศเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ
  • 10:42 - 10:44
    วัตถุก็เปลี่ยนทิศไปเรื่อย ๆ
  • 10:44 - 10:48
    งั้นสมมุติว่าตอนผมอยู่ตรงนี้, สมมุติว่าผมเคลื่อนที่
  • 10:48 - 10:50
    ไปได้นิดเดียวตามทาง
  • 10:50 - 10:56
    สมมุติว่าผมเคลื่อนที่, นี่เป็น dr
  • 10:56 - 10:58
    เล็กจิ๋ว, จริงไหม?
  • 10:58 - 11:01
    ผมมีดิฟเฟอเรนเชียล, มันคือเวกเตอร์ดิฟเฟอเรนเชียล, การ
  • 11:01 - 11:03
    กระจัดเล็กจิ๋ว
  • 11:03 - 11:07
    และสมมุติว่าตลอดช่วงนั้น, สนามเวกเตอร์
  • 11:07 - 11:09
    กำลังกระทำกับพื้นที่ท้องถิ่นนี้, สมมุติว่ามัน
  • 11:09 - 11:10
    หน้าตาแบบนั้น
  • 11:10 - 11:13
    มันกำลังให้แรงที่ดูเป็นแบบนั้น
  • 11:13 - 11:17
    ดังนั้นนั่นคือเวกเตอร์สนามในพื้นที่นั้น, หรือแรง
  • 11:17 - 11:19
    ชี้ไปยังอนุภาคตรงนี้มันอยู่ ณ จุดนั้น
  • 11:19 - 11:19
    จริงไหม?
  • 11:19 - 11:22
    มันคือช่วงเล็กจิ๋วในสเปซ
  • 11:22 - 11:24
    คุณอาจบอกว่า, โอเค, ตลอดช่วงเล็กจิ๋วนั่น, เรา
  • 11:24 - 11:27
    บอกว่านี่เป็นแรงคงที่
  • 11:27 - 11:30
    งานที่ทำตลอดช่วงเวลาสั้น ๆ นี้เป็นเท่าไหร่?
  • 11:30 - 11:32
    คุณก็บอกว่า, งานช่วงเล็ก ๆ คืออะไร?
  • 11:32 - 11:36
    คุณอาจบอกว่า d งาน, หรือดิฟเฟอเรนเชียลของงาน
  • 11:36 - 11:39
    ด้วยตรรกะเดียวกันที่เราทำกับโจทย์ง่าย ๆ
  • 11:39 - 11:44
    มันคือขนาดของแรงในทิศของ
  • 11:44 - 11:49
    การกระจัดคูณขนาดของการกระจัด
  • 11:49 - 11:53
    และเรารู้ว่ามันคืออะไร, จากตัวอย่างข้างบนนี้
  • 11:53 - 11:55
    นั่นคือดอทโปรดัค
  • 11:55 - 11:58
    มันคือดอทโปรดัคของแรงกับการกระจัดเล็กจิ๋ว
  • 11:58 - 11:59
    ของเรา
  • 11:59 - 12:08
    ดังนั้นมันเท่ากับดอทโปรดัคของแรงเรากับ
  • 12:08 - 12:10
    การกระจัดเล็กจิ๋ว
  • 12:10 - 12:13
    ทีนี้, ด้วยการทำเช่นนี้, เราเพิ่งหาได้ว่างาน
  • 12:13 - 12:16
    ตลอดช่วง dr ที่เล็กสุด ๆๆๆ ไป แต่
  • 12:16 - 12:19
    ที่เราอยากทำคือ เราอยากรวมพวกมันเข้า
  • 12:19 - 12:22
    เราอยากรวม dr ทั้งหมดเพื่อหา f ดอท
  • 12:22 - 12:25
    dr ทั้งหมด เพื่อหางานลัพธ์
  • 12:25 - 12:28
    และนั่นคือที่ที่อินทิกรัลเข้ามา
  • 12:28 - 12:33
    เราจะหาอินทิกรัลเส้นตลอด -- ผมหมายถึง, คุณอาจ
  • 12:33 - 12:34
    คิดได้สองแบบ
  • 12:34 - 12:37
    คุณอาจเขียน d ดอท w ตรงนี้, แต่เราอาจบอกว่า, เราจะ
  • 12:37 - 12:43
    หาอินทิกรัลเส้นตลอดเส้นโค้ง c นี่, เรียกมันว่า c
  • 12:43 - 12:46
    หรือตาม r, อะไรก็ได้ที่คุณอยากเรียก, ของ dw
  • 12:46 - 12:48
    นั่นจะให้งานรวมกับเรา
  • 12:48 - 12:50
    งั้นสมมุติว่า, งานเท่ากับอันนั้น
  • 12:50 - 12:54
    หรือเราอาจเขียนมันตลอดอินทิกรัล, ตลอด
  • 12:54 - 13:00
    เส้นโค้งของ f ของ f ดอท dr
  • 13:00 - 13:04
    และนี่อาจดู, คุณก็รู้, นี่มัน
  • 13:04 - 13:05
    ดูนามธรรมมากเลยนะ ซาล
  • 13:05 - 13:09
    เราจะคำนวณอะไรแบบนี้จริง ๆ ได้ไง?
  • 13:09 - 13:13
    ได้สิ เพราะเรามีทุกอย่างเขียนได้
  • 13:13 - 13:14
    ในรูปของ t
  • 13:14 - 13:16
    แล้วเราจะได้นี่ในรูปของ t ได้อย่างไร?
  • 13:16 - 13:20
    และหากคุณคิดดูดี ๆ, f ดอท r คืออะไร?
  • 13:20 - 13:21
    หรือ f ดอท dr คืออะไร?
  • 13:21 - 13:23
    ที่จริง, ในการตอบคำถามนั้น, ลองนึกดูว่า
  • 13:23 - 13:26
    dr เป็นอย่างไร
  • 13:26 - 13:36
    หากคุณจำได้, dr/dt เท่ากับ x ไพรม์ของ t, ผมจะเขียน
  • 13:36 - 13:39
    มันเเป็น, ผมสามารถเขียน dx dt หากผมต้องการ, คูณ
  • 13:39 - 13:45
    เวกเตอร์หน่วย i, บวก y ไพรม์ของ t, คูณเวกเตอร์หน่วย j
  • 13:45 - 13:49
    และหากเราอยากได้ dr, เราก็คูณทั้งสองข้าง
  • 13:49 - 13:52
    หากเราเล่นกลสักหน่อยกับ
  • 13:52 - 13:53
    ดิฟเฟอเรนเชียล, ไม่เข้มงวดเกินไป
  • 13:53 - 13:58
    เราจะได้ dr เท่ากับ x ไพรม์ของ t คูณเวกเตอร์หน่วย
  • 13:58 - 14:05
    i บวก y ไพรม์ของ t คูณเวกเตอร์หน่วย j
  • 14:05 - 14:07
    คุณดิฟเฟอเรนเชียล dt
  • 14:07 - 14:09
    งั้นนี่คือ dr ตรงนี้
  • 14:09 - 14:12
    -
  • 14:12 - 14:16
    และจำไว้ว่าสนามเวกเตอร์เราคืออะไร
  • 14:16 - 14:17
    มันคือสิ่งนี้บนนี้
  • 14:17 - 14:20
    ขอผมลอกและแปะไว้ตรงนี้นะ
  • 14:20 - 14:21
    เราจะเห็นเองว่าดอทโปรดัค
  • 14:21 - 14:23
    ไม่ได้แย่นัก
  • 14:23 - 14:27
    งั้นลอก, และขอผมแปะมันข้างล่างตรงนี้นะ
  • 14:27 - 14:31
    -
  • 14:31 - 14:34
    แล้วอินทิกรัลนี้จะออกมาเป็นอย่างไร?
  • 14:34 - 14:38
    อินทิกรัลนี่ตรงนี้, นั่นบอกงานรวมที่ทำโดย
  • 14:38 - 14:41
    สนาม, ต่ออนุภาค, เมื่อมันเคลื่อนที่ตามเส้นทางนั่น
  • 14:41 - 14:44
    แค่หลักพื้นฐานถึงฟิสิกส์จริง ๆ
  • 14:44 - 14:47
    ที่คุณอาจต้องทำในที่สุด
  • 14:47 - 14:48
    คุณอาจบอกว่า, โอ้
  • 14:48 - 14:52
    มันจะต้องเป็นอินทิกรัล, สมมุติว่าจาก t เท่ากับ
  • 14:52 - 14:55
    a ถึง t เท่ากับ b
  • 14:55 - 14:58
    จริงไหม? a คือตอนที่เราเริ่มต้น, t เท่ากับ
  • 14:58 - 15:00
    a ถึง t เท่ากับ b
  • 15:00 - 15:02
    คุณอาจนึกว่ามันคือเวลา, เมื่ออนุภาค
  • 15:02 - 15:04
    เคลื่อนที่, เวลาก็เริ่มเดิน
  • 15:04 - 15:07
    แล้ว f ดอท dr คืออะไร?
  • 15:07 - 15:11
    ทีนี้, หากคุณจำไว้ว่าดอทโปรดัคคืออะไร, คุณก็
  • 15:11 - 15:15
    แค่หาผลคูณระหว่างองค์ประกอบ
  • 15:15 - 15:18
    คู่กันของเวกเตอร์ แล้วจับมันรวมกัน
  • 15:18 - 15:20
    ดังนั้น นี่จะเท่ากับอินทิกรัลจาก t เท่ากับ a ถึง t
  • 15:20 - 15:27
    เท่ากับ b, ของ p ของ p ของ x, ที่จริง แทนที่จะเขียน x,
  • 15:27 - 15:31
    y, มันคือ x ของ t, จริงไหม? x เป็นฟังก์ชันของ t, y เป็น
  • 15:31 - 15:32
    ฟังก์ชันของ t
  • 15:32 - 15:34
    เลยเป็นแบบนั้น
  • 15:34 - 15:38
    คูณด้วยสิ่งนี่ตรงนี้, คูณองค์ประกอบนี้, จริงไหม?
  • 15:38 - 15:39
    เรากำลังคูณองค์ประกอบ i อยู่
  • 15:39 - 15:51
    งั้นคูณ x ไพรม์ของ t d t, แล้วก็บวก, เราจะ
  • 15:51 - 15:52
    ทำเหมือนกันกับฟังก์ชัน q
  • 15:52 - 15:56
    ดังนั้นนี่คือ q บวก, ผมจะไปอีกบรรทัดนึงนะ
  • 15:56 - 15:58
    หวังว่าคุณคงรู้ว่าผมยังเขียนต่ออยู่
  • 15:58 - 15:59
    แต่ผมไม่มีที่แล้ว
  • 15:59 - 16:10
    บวก q ของ x ของ t, y ของ t, คูณองค์ประกอบของ dr เรา
  • 16:10 - 16:12
    คูณองค์ประกอบ y, หรือ องค์ประกอบ j
  • 16:12 - 16:16
    y ไพรม์ของ t dt
  • 16:16 - 16:17
    แล้วก็เสร็จ!
  • 16:17 - 16:17
    เสร็จแล้ว
  • 16:17 - 16:19
    นี่อาจดูนามธรรมไปหน่อย, แต่เราจะ
  • 16:19 - 16:23
    เห็นในวิดีโอหน้า, ว่าทุกอย่างตอนนี้อยู่ในรูปของ
  • 16:23 - 16:25
    t, นี่ก็จะเป็นการอินทิเกรตตรง ๆ
  • 16:25 - 16:27
    เทียบกับ dt
  • 16:27 - 16:30
    หากเราต้องการ, เราสามารถเอา dt ออกจากสมการ
  • 16:30 - 16:32
    และมันจะอยู่ปกติกว่าเดิม
  • 16:32 - 16:35
    แต่ที่สุดแล้วนี่คือทั้งหมดที่เราต้องทำ
  • 16:35 - 16:38
    และเราจะดูตัวอย่างจริง ๆ ในการหา
  • 16:38 - 16:43
    อินทิกรัลเส้นตามสนามเวกเตอร์, หรือใช้ฟังก์ชัน
  • 16:43 - 16:46
    เวกเตอร์นี้, ในวิดีโอหน้า
  • 16:46 - 16:46
    -
Title:
อินทิกรัลเส้นกับสนามเวกเตอร์
Description:

การใช้อินทิกรัลเส้นในการหางานที่กระทำต่ออนุภาคซึ่งเคลื่อนที่ผ่านสนามเวกเตอร์

more » « less
Video Language:
English
Duration:
16:46
conantee edited Thai subtitles for Line Integrals and Vector Fields
conantee added a translation

Thai subtitles

Revisions