การเสพติดโอปิออยด์เกิดจากอะไร และทำไมถึงจัดการได้ยากนัก - ไมก์ เดวิส
-
0:07 - 0:12เมื่อกว่า 3,000 ปีก่อน
มีดอกไม้ชนิดหนึ่งปรากฏว่ามีการใช้เป็นยา -
0:12 - 0:15อยู่ในตำราการแพทย์ยุคอียิปต์โบราณ
-
0:15 - 0:18อีกฝั่งของเมดิเตอร์เรเนียน
ชาวมีโนนโบราณ -
0:18 - 0:22ก็เหมือนว่าจะพบวิธีการใช้
พืชชนิดเดียวกันนี้เพื่อให้เมา -
0:22 - 0:25อารยธรรมโบราณทั้งสองนี้
ได้ค้นพบอะไรบางอย่าง -
0:25 - 0:28นั่นคือฝิ่น ซึ่งเป็นสารสกัด
จากดอกฝิ่นที่ได้กล่าวไป -
0:28 - 0:32สามารถใช้เพื่อสร้างความสุข
หรือลดอาการปวดก็ได้ -
0:32 - 0:35ถึงแม้ว่าฝิ่นจะถูกใช้ตั้งแต่นั้นมาตลอด
-
0:35 - 0:39แต่เมื่อศตวรรษที่ 19 นี่เอง
ที่หนึ่งในสารเคมีของฝิ่น -
0:39 - 0:44ซึ่งคือ มอร์ฟีน เพิ่งถูกค้นพบ
และสกัดแยกเพื่อใช้ทางการแพทย์ -
0:44 - 0:48มอร์ฟีน โคดีน และสารอื่น ๆ
ที่ผลิตขึ้นมาโดยตรงจากดอกฝิ่น -
0:48 - 0:50เรียกว่า โอปิเอต
-
0:50 - 0:55ในศตวรรษที่ 20 บริษัทยา
ได้สร้างสารสังเคราะห์จำนวนมาก -
0:55 - 0:57ที่คล้ายกับโอปิเอต
-
0:57 - 1:02ได้แก่ เฮโรอิน ไฮโดรโคโดน
ออกซิโคโดน และเฟนทานิล -
1:02 - 1:05ไม่ว่าจะสังเคราะห์ขึ้นหรือมาจากฝิ่น
-
1:05 - 1:09สารเหล่านี้
เรียกโดยรวมว่า โอปิออยด์ -
1:09 - 1:13ไม่ว่าจะสังเคราะห์หรือธรรมชาติ
ถูกหรือผิดกฎหมาย ยาโอปิออยด์เหล่านี้ -
1:13 - 1:18เป็นยาแก้ปวดชั้นเยี่ยม
แต่ก็ทำให้เสพติดได้ง่ายเช่นกัน -
1:18 - 1:20ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980 และ 1990
-
1:20 - 1:25บริษัทยาต่าง ๆ ได้พยายาม
โฆษณายาแก้ปวดโอปิออยด์อย่างหนัก -
1:25 - 1:27และมักจะหลีกเลี่ยงการนำเสนอ
ถึงฤทธิ์เสพติดของมัน -
1:27 - 1:30ทั้งต่อวงการแพทย์
และสาธารณชน -
1:30 - 1:34จำนวนการสั่งยาแก้ปวดโอปิออยด์
เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด -
1:34 - 1:40ไปพร้อมกับกรณีการติดโอปิออยด์
ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นวิกฤติที่มีมาจนปัจจุบัน -
1:40 - 1:43เพื่อที่จะเข้าใจว่าทำไม
โอปิออยด์ถึงเสพติดได้ง่าย -
1:43 - 1:48เราควรรู้ก่อนว่ายานี้ส่งผลต่อร่างกายมนุษย์
อย่างไรบ้างตั้งแต่การใช้ครั้งแรก -
1:48 - 1:53ไปจนถึงการใช้ซ้ำ
จนถึงว่าจะเกิดอะไรขึ้นเมื่อหยุดการใช้ยา -
1:53 - 1:56ยาเหล่านี้มีสมบัติทางเคมี
แตกต่างกันเล็กน้อย -
1:56 - 2:03แต่ก็ออกฤทธิ์ที่ระบบโอปิออยด์ของร่างกาย
โดยจับกับตัวรับโอปิออยด์ในสมองเหมือนกัน -
2:03 - 2:08สารเอ็นดอร์ฟินของร่างกายระงับสัญญาณปวด
โดยการจับกับตัวรับเหล่านี้ -
2:08 - 2:12แต่ยาโอปิออยด์นั้นจับได้แรงกว่า
และยาวนานกว่า -
2:12 - 2:17ดังนั้นยาโอปิออยด์จึงสามารถบรรเทาอาการปวด
ได้มากกว่าเอ็นดอร์ฟิน -
2:17 - 2:23ตัวรับโอปิออยด์ยังส่งผลต่อหลาย ๆ อย่าง
ตั้งแต่อารมณ์ไปจนถึงการทำงานของร่างกาย -
2:23 - 2:27ด้วยหน้าที่เหล่านี้ ความแข็งแรงและยาวนาน
ในการจับกับตัวรับของโอปิออยด์ -
2:27 - 2:30จึงทำให้ฤทธิ์ของมัน
ชัดเจนและกว้างกว่า -
2:30 - 2:34โมเลกุลสัญญาณโดยธรรมชาติ
ของร่างกาย -
2:34 - 2:39เมื่อยาจับกับตัวรับโอปิออยด์
มันจะกระตุ้นการหลั่งโดพามีน -
2:39 - 2:42ซึ่งเกี่ยวข้องกับความรู้สึกมีความสุข
และอาจส่งผลให้เกิด -
2:42 - 2:47ภาวะเคลิ้มสุข
ซิ่งเป็นลักษณะของการเมาโอปิออยด์ -
2:47 - 2:51ในขณะเดียวกัน โอปิออยด์ก็กด
การหลั่งนอร์อะดรีนาลีน -
2:51 - 2:57ซึ่งมีผลต่อความตื่นตัว การหายใจ
การย่อยอาหาร และความดันโลหิต -
2:57 - 3:01ขนาดยาเพื่อการรักษาจะลดนอร์อะดรีนาลีน
มากพอที่จะทำให้เกิดผลข้างเคียง -
3:01 - 3:03เช่น ท้องผูก
-
3:03 - 3:08เมื่อใช้ในขนาดที่สูงขึ้น โอปิออยด์อาจลด
อัตราการเต้นของหัวใจและการหายใจ -
3:08 - 3:09ในระดับที่เป็นอันตราย
-
3:09 - 3:12นำไปสู่การหมดสติ
หรือกระทั่งเสียชีวิตได้ -
3:14 - 3:18เมื่อใช้ไปนาน ๆ ร่างกายจะเริ่ม
ทนต่อโอปิออยด์ -
3:18 - 3:21โดยอาจลดจำนวนตัวรับโอปิออยด์
-
3:21 - 3:24หรือตัวรับอาจมีความไวน้อยลง
-
3:24 - 3:29เพื่อที่จะให้มีการหลั่งโดพามีนเท่าเดิม
และทำให้เกิดผลต่ออารมณ์เหมือนก่อน -
3:29 - 3:32ผู้เสพจะต้องใช้ยา
ในขนาดที่มากขึ้นเรื่อย ๆ -
3:32 - 3:36เป็นวัฏจักรที่นำไปสู่
การติดยาทางร่างกาย -
3:36 - 3:40เมื่อผู้เสพใช้โอปิออยด์มากขึ้น
เพื่อทดแทนการทนต่อฤทธิ์ที่เพิ่มขึ้น -
3:40 - 3:43ระดับนอร์อะดรีนาลีน
จะลดลงเรื่อย ๆ -
3:43 - 3:46จนถึงจุดที่อาจส่งผล
ต่อการทำงานของร่างกายได้ -
3:46 - 3:51ร่างกายจะทดแทนโดยการเพิ่มจำนวน
ตัวรับนอร์อะดรีนาลีน -
3:51 - 3:55เพื่อที่จะรับนอร์อะดรีนาลีน
ที่มีจำนวนน้อยลงได้ -
3:55 - 3:57ความไวต่อนอร์อะดรีนาลีน
ที่เพิ่มขึ้นนี้ -
3:57 - 4:00ทำให้ร่างกายยังคง
ทำงานได้อย่างปกติอยู่ -
4:00 - 4:05แต่ที่จริงแล้ว ร่างกายกำลังต้องพึ่งพา
โอปิออยด์เพื่อรักษาสมดุลใหม่นี้ -
4:05 - 4:10เมื่อผู้เสพที่ติดโอปิออยด์ทางร่างกายแล้ว
หยุดยาอย่างกระทันหัน -
4:10 - 4:13สมดุลนั้นจะเสียศูนย์
-
4:13 - 4:17ระดับนอร์อะดรีนาลีนอาจเพิ่มขึ้นได้
ภายในหนึ่งวันหลังหยุดใช้โอปิออยด์ -
4:17 - 4:20แต่ร่างกายต้องใช้เวลานานกว่านั้น
เพื่อกำจัด -
4:20 - 4:23ตัวรับนอร์อะดรีนาลีนส่วนเกิดทั้งหมด
ที่เคยสร้างขึ้นมา -
4:23 - 4:25นั่นแปลว่าจะมีช่วงหนึ่ง
-
4:25 - 4:28ที่ร่างกายไวต่อนอร์อะดรีนาลีนเกินไป
-
4:28 - 4:31ความไวเกินไปนี้ทำให้เกิด
อาการถอนยา -
4:31 - 4:35ได้แก่ การปวดกล้ามเนื้อ ปวดท้อง
เป็นไข้ และอาเจียน -
4:35 - 4:40ซึ่งถึงแม้ว่าจะเป็นชั่วคราว แต่อาการถอนยา
ก็อาจทำให้ร่างกายโทรมลงอย่างมาก -
4:40 - 4:44ในรายที่รุนแรง ผู้ที่หยุดยา
อาจเจ็บป่วยอย่างหนัก -
4:44 - 4:47เป็นหลายวันหรือสัปดาห์
-
4:47 - 4:50ผู้ที่เสพติดโอปิออยด์
อาจไม่ได้ใช้ยาเหล่านั้น -
4:50 - 4:54เพื่อให้เมาอีกแล้ว
แต่เพื่อไม่ให้เจ็บป่วยเสียมากกว่า -
4:54 - 4:58มีหลายรายที่เสี่ยงต่อการถูกลดค่าจ้าง
หรือแม้กระทั่งเสียงานในช่วงถอนยา -
4:58 - 5:02หรืออาจไม่มีคนคอยดูแลในช่วงถอนยา
-
5:02 - 5:05หากกลับไปใช้โอปิออยด์อีก
ในภายหลัง -
5:05 - 5:08ก็อาจมีความเสี่ยงสูง
ที่จะได้รับยาเกินขนาด -
5:08 - 5:12เนื่องจากขนาดยาที่เคยใช้เมื่อก่อน
ในขณะที่ความทนต่อยานั้นสูงอยู่ -
5:12 - 5:14อาจเป็นขนาดที่อันตรายได้ในตอนนี้
-
5:14 - 5:18ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 การเสียชีวิต
จากการใช้โอปิออยด์เกินขนาด -
5:18 - 5:21เพิ่มขึ้นอย่างทวีคูณ
ในสหรัฐอเมริกา -
5:21 - 5:25และการเสพติดโอปิออยด์
ก็พุ่งสูงไปทั่วโลก -
5:25 - 5:30ถึงแม้ว่าการสั่งยาแก้ปวดโอปิออยด์
จะได้รับการควบคุมมากขึ้น -
5:30 - 5:33แต่เคสการใช้ยาเกินขนาดและการติดยา
ยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ -
5:33 - 5:36โดยเฉพาะในหมู่เยาวชน
-
5:36 - 5:39มีเคสการติดยาในช่วงต้นหลายราย
เป็นผู้ใหญ่วัยกลางคน -
5:39 - 5:42ที่ติดยาจากยาแก้ปวด
ที่เคยได้รับสั่งจ่ายมา -
5:42 - 5:46หรือจากเพื่อนและสมาชิกในครอบครัว
ที่ได้รับสั่งจ่ายมา -
5:46 - 5:51ในปัจจุบัน เยาวชนมักจะเริ่มใช้
ยาโอปิออยด์ที่ได้รับมาด้วยวิธีนี้ -
5:51 - 5:56และเปลี่ยนไปใช้เฮโรอินหรือโอปิออยด์
สังเคราะห์ที่ผิดกฎหมายซึ่งราคาถูกกว่า -
5:56 - 5:58และหาซื้อได้ง่ายกว่า
-
5:58 - 6:01นอกเหนือจากการควบคุม
ยาแก้ปวดโอปิออยด์ที่เข้มงวดขึ้นแล้ว -
6:01 - 6:06เราจะทำอะไรได้บ้างเพื่อชะลออัตรา
การติดยาและใช้ยาเกินขนาดที่เพิ่มขึ้นนี้ -
6:06 - 6:10ยาชื่อ นาล็อกโซน เป็นตัวป้องกัน
การใช้ยาเกินขนาดที่ดีที่สุดในตอนนี้ -
6:10 - 6:15นาล็อกโซนจับกับตัวรับโอปิออยด์
แต่ไม่ได้กระตุ้นมัน -
6:15 - 6:18ป้องกันไม่ให้โอปิออยด์
มาจับกับตัวรับนี้ -
6:18 - 6:23และยังผลักโอปิออยด์ออกจากตัวรับ
เพื่อแก้การใข้ยาเกินขนาดได้อีกด้วย -
6:23 - 6:26การติดโอปิออยด์
น้อยครั้งที่จะเป็นการเจ็บป่วยเดี่ยว ๆ -
6:26 - 6:29ส่วนใหญ่ ผู้ที่ติดโอปิออยด์
มักจะมีปัญหากับ -
6:29 - 6:31อาการทางจิตร่วมด้วย
-
6:31 - 6:34มีโปรแกรมผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน
ที่รวมศาสตร์ -
6:34 - 6:38การใช้ยา บริการสุขภาพ
และจิตบำบัดเข้าด้วยกัน -
6:38 - 6:41แต่โปรแกรมเหล่านี้
ส่วนมากมักจะราคาแพงมาก -
6:41 - 6:44และตัวเลือกที่มีราคาถูกกว่า
ก็มักจะต้องรอเป็นเวลานาน -
6:44 - 6:49และอาจต้องล้างพิษโอปิออยด์
ให้เรียบร้อย -
6:49 - 6:51ก่อนเริ่มการรักษาอีกด้วย
-
6:51 - 6:55ทั้งอาการถอนยาและการอยู่ใน
สถานบำบัดที่มักต้องอยู่เป็นเดือน ๆ -
6:55 - 7:01เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้สำหรับผู้ที่เสี่ยง
ต่อการสูญเสียงานและบ้านในช่วงเวลานั้น -
7:01 - 7:05โปรแกรมดูแลผู้ติดโอปิออยด์
มีเป้าหมายเพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ -
7:05 - 7:08และหยุดการใช้โอปิออยด์ในทางที่ผิด
โดยใช้การรวมกันของ -
7:08 - 7:11การใช้ยาและพฤติกรรมบำบัด
-
7:11 - 7:14โปรแกรมเหล่านี้ป้องกันการเกิดอาการถอนยา
ด้วยยา -
7:14 - 7:18ที่จับกับตัวรับโอปิออยด์
แต่ไม่มีฤทธิ์ทางประสาท -
7:18 - 7:24ซึ่งมีอยู่ในยาแก้ปวด เฮโรอิน
และโอปิออยด์อื่น ๆ ที่ใช้ในทางที่ผิด -
7:24 - 7:26เมทาโดนและบิวพรีนอร์ฟิน
-
7:26 - 7:29เป็นยารักษาโอปิออยด์เบื้องต้น
ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน -
7:29 - 7:32แต่แพทย์ต้องใช้เอกสารพิเศษ
เพื่อสั่งยานี้ -
7:32 - 7:35แม้ว่าจะไม่ต้องมีการฝึกเฉพาะทาง
หรือใบรับรอง -
7:35 - 7:38เพื่อสั่งจ่าย
ยาแก้ปวดโอปิออยด์ก็ตาม -
7:38 - 7:40บางครั้งบิวพรีนอร์ฟินอาจขาดตลาด
-
7:40 - 7:43ถึงขนาดมีธุรกิจมืดของยานี้
ที่กำลังเติบโตอยู่ -
7:43 - 7:47หนทางในการต่อสู้กับการติดโอปิออยด์
ยังอีกยาวไกล -
7:47 - 7:51แต่ก็ยังมีทรัพยากรปริมาณมาก
เพื่อใช้ในการรักษาได้ -
7:51 - 7:55หากคุณหรือคนที่คุณรู้จักกำลังมีปัญหา
กับการใช้โอปิออยด์ในสหรัฐอเมริกา -
7:55 - 7:57กระทรวงสุขภาพและบริการมนุษย์
-
7:57 - 8:02มีสายด่วนให้บริการ: 800-662-4357
-
8:02 - 8:08และมีฐานข้อมูลสถานบำบัดสารเสพติด
กว่า 14,000 แห่งในสหรัฐอเมริกา: -
8:08 - 8:12www.hhs.gov/opioids
- Title:
- การเสพติดโอปิออยด์เกิดจากอะไร และทำไมถึงจัดการได้ยากนัก - ไมก์ เดวิส
- Speaker:
- ไมก์ เดวิส
- Description:
-
ชมบทเรียนแบบเต็มได้ที่: https://ed.ted.com/lessons/what-causes-opioid-addiction-and-why-is-it-so-tough-to-combat-mike-davis
ในช่วงปี 1980 ถึง 1990 บริษัทยาต่าง ๆ ได้พยายามโฆษณายาแก้ปวดโอปิออยด์อย่างหนัก และมักจะหลีกเลี่ยงการนำเสนอถึงฤทธิ์เสพติดของมัน จำนวนการสั่งยาแก้ปวดโอปิออยด์เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดไปพร้อมกับจำนวนเคสการติดโอปิออยด์ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นวิกฤติที่มีมาจนปัจจุบัน อะไรทำให้โอปิออยด์ติดง่ายเช่นนั้น ไมก์ เดวิส จะอธิบายว่าเราสามารถทำอะไรได้บ้างเพื่อลดอัตราการติดยาและการใช้ยาเกินขนาดที่กำลังพุ่งสูงอยู่ในตอนนี้
บทเรียนโดย ไมก์ เดวิส กำกับโดย กู๊ดแบดแฮบิตส์
- Video Language:
- English
- Team:
closed TED
- Project:
- TED-Ed
- Duration:
- 08:19
![]() |
Sakunphat Jirawuthitanant approved Thai subtitles for What causes opioid addiction, and why is it so tough to combat? | |
![]() |
Sakunphat Jirawuthitanant edited Thai subtitles for What causes opioid addiction, and why is it so tough to combat? | |
![]() |
Sakunphat Jirawuthitanant edited Thai subtitles for What causes opioid addiction, and why is it so tough to combat? | |
![]() |
Supanat Termchaianan accepted Thai subtitles for What causes opioid addiction, and why is it so tough to combat? | |
![]() |
Supanat Termchaianan edited Thai subtitles for What causes opioid addiction, and why is it so tough to combat? | |
![]() |
Teetach Atsawarangsalit edited Thai subtitles for What causes opioid addiction, and why is it so tough to combat? | |
![]() |
Teetach Atsawarangsalit edited Thai subtitles for What causes opioid addiction, and why is it so tough to combat? |