< Return to Video

Probability with Playing Cards and Venn Diagrams

  • 0:00 - 0:03
    ลองทำเรื่องความน่าจะเป็นเกี่ยวกับไพ่สักหน่อย
  • 0:03 - 0:05
    สำหรับวิดีโอนี้ เราจะถือว่า
  • 0:05 - 0:07
    สำรับของเราไม่มีไพ่โจ๊กเกอร์
  • 0:07 - 0:09
    คุณทำโจทย์แบบเดียวกันแบบมีโจ๊กเกอร์ก็ได้,
  • 0:09 - 0:11
    คุณจะได้คำตอบที่แตกต่างไปหน่อย
  • 0:11 - 0:13
    พักเรื่องนั้นไว้
  • 0:13 - 0:15
    อย่างแรกลองคิดดูว่า
  • 0:15 - 0:18
    เรามีไพ่กี่ใบในสำรับไพ่ปกติ?
  • 0:18 - 0:21
    เรามีไพ่อยู่ 4 ดอก
  • 0:21 - 0:26
    และดอกได้แก่. โพธิ์ดำ ข้าวหลามตัด ดอกจิก
  • 0:26 - 0:27
    และโพธิ์แดง
  • 0:27 - 0:28
    คุณมีอยู่สี่ดอก
  • 0:28 - 0:31
    แล้วในแต่ละดอกก คุณมีไพ่ 13 ใบ
  • 0:31 - 0:34
    แตกต่างกัน บางครั้งมันเรียกว่า อันดับ
  • 0:34 - 0:44
    ดังนั้นในแต่ละดอก มีไพ่แตกต่างกัน 13 ใบ
  • 0:44 - 0:47
    คุณมีเอซ, แล้วก็มีสอง, สาม
  • 0:47 - 0:52
    สี่, ห้า, หก, เจ็ด, แปด, เก้า, สิบ
  • 0:52 - 0:56
    แล้วก็มีแจ็ค, คิง และควีน
  • 0:56 - 0:58
    นั่นคือไพ่ 13 ใบ
  • 0:58 - 1:01
    คุณก็ได้ว่าแต่ละดอก คุณมีไพ่
  • 1:01 - 1:03
    แบบนี้, แต่ละแบบคุณมีไพ่ดอกต่างๆ
  • 1:03 - 1:05
    คุณก็มีแจ็คข้าวหลามตัด, แจ็คดอกจิก
  • 1:05 - 1:09
    แจ็คโพธิ์ดำ หรือแจ็คโพธิ์แดง
  • 1:09 - 1:10
    แล้วถ้าคุณคูณเลขสองตัวนี้
  • 1:10 - 1:13
    คุณจะได้จำนวนไพ่ทั้งกอง แล้ว
  • 1:13 - 1:14
    ถ้าคุณนับมัน, เอาโจ๊กเกอร์ออกแล้วนับทั้งหมด
  • 1:14 - 1:16
    แต่ถ้าคุณคูณออกมา, คุณจะได้ 4 ดอก
  • 1:16 - 1:18
    แต่ละดอกมี 13 แบบ
  • 1:18 - 1:21
    คุณจึงได้ไพ่ 4 คูณ 13 ใบ
  • 1:21 - 1:24
    หรือคุณมีไพ่ 52 ใบในสำรับไพ่มาตรฐานนั่นเอ ง
  • 1:24 - 1:26
    วิธีที่คุณบอกได้อีกอย่างคือว่า: ดูสิ, มีไพ่ทั้งหมด
  • 1:26 - 1:28
    13 อันดับหรือแบบ
  • 1:28 - 1:30
    แต่ละแบบมีดอก 4 ดอก,
  • 1:30 - 1:33
    13 คูณ 4 เหมือนเดิม คุณจะได้ไพ่ 52 ใบ
  • 1:33 - 1:36
    ทีนี้พักเรื่องนั้นไว้, ลองคิดความน่าจะเป็น
  • 1:36 - 1:37
    ของเหตุการณ์ต่างๆ กัน
  • 1:37 - 1:39
    สมมุติว่าผมสับไพ่ในกอง,
  • 1:39 - 1:40
    ผมสับไพ่ดีมากๆ, มากๆ
  • 1:40 - 1:43
    แล้วผมก็หยิบไพ่จากกองอย่างสุ่มมาหนึ่งใบ
  • 1:43 - 1:47
    และผมอยากคิดว่าความน่าจะเป็นที่ผมหยิบ
  • 1:47 - 1:50
    ความน่าจะเป็นที่ผมหยิบได้แจ็คเป็นเท่าไหร่?
  • 1:50 - 1:53
    ทีนี้, มันมีเหตุการณ์ที่มีโอกาสเกิดเท่ากันอยู่กี่เหตุการณ์?
  • 1:53 - 1:57
    ตรงนี้, ผมสามารถหยิบไพ่ใดใน 52 ใบขึ้นมาก็ได้, นั่นคือ
  • 1:57 - 2:00
    มีความเป็นไปได้ 52 อย่างตอนผมหยิบไพ่ขึ้นมา
  • 2:00 - 2:04
    แล้วในความเป็นไปได้ 52 อย่างนั้น มันเป็นแจ็คอยู่กี่อัน?
  • 2:04 - 2:07
    ทีนี้, คุณมีแจ็คโพธิ์ดำ, แจ็คข้าวหลามตัด
  • 2:07 - 2:10
    แจ็คดอกจิก และแจ็คโพธิ์แดง
  • 2:10 - 2:12
    มีแจ็คอยู่ 4 ตัว
  • 2:12 - 2:14
    มันมีแจ็ค 4 ใบในกอง
  • 2:14 - 2:17
    มันจึงเป็น 4 ส่วน 52, ทั้งคู่หารด้วย 4 ลงตัว
  • 2:17 - 2:19
    4 หาร 4 ได้ 1
  • 2:19 - 2:22
    52 หารด้วย 4 ได้ 13
  • 2:23 - 2:26
    ทีนี้ลองคิด
  • 2:26 - 2:29
    ความน่าจะเป็น, ผมจะ, คุณก็รู้, เราจะเริ่มต้นใหม่
  • 2:29 - 2:31
    ผมจะใส่แจ็คกลับเข้าไป, ผมจะสับไพ่ในกองใหม่
  • 2:31 - 2:34
    เหมือนเดิม ผมมีไพ่ 52 ใบ
  • 2:34 - 2:37
    แล้วความน่าจะเป็นที่ผมได้ โพธิ์แดงเป็นเท่าไหร่?
  • 2:37 - 2:40
    ความน่าจะเป็นที่ผมเลือกไพ่อย่างสุ่ม
  • 2:40 - 2:43
    จากสำรับที่สับแล้ว ออกมาเป็นโพธิ์แดง มีโอกาสเท่าไหร่? ดอกเป็นโพธิ์แดง
  • 2:43 - 2:47
    เหมือนเดิม, มันมีไพ่อยู่ 52 ใบที่ผมหยิบขึ้นมาได้
  • 2:47 - 2:51
    มีเหตุการณ์ที่เป็นไปได้ และโอกาสเกิดขึ้นเท่าๆ กันอยู่ 52 เหตุการณ์ที่เราเกี่ยวข้อง
  • 2:51 - 2:55
    แล้วเหตุการณ์นี้เป็นโพธิ์แดงบ้าง?
  • 2:55 - 2:58
    ทีนี้, มีอยู่ 13 ใบเป็นโพธิ์แดง แล้วแต่
  • 2:58 - 3:01
    ละดอกคุณมีไพ่ 13 ใบ ดังนั้นมีโพธิ์แดงอยู่
  • 3:01 - 3:03
    13 ใบในกองเช่นกัน, มีข้าวหลามตัด 13 ใบในกอง
  • 3:03 - 3:07
    มีโพธิ์ดำ 13 ใบในกอง, แล้วก็ดอกจิก 13 ใบในกองด้วย
  • 3:07 - 3:11
    ดังนั้นมีโพธิ์แดง 13 จาก 52 ใบ
  • 3:11 - 3:15
    และทั้งสองตัวหารด้วย 13 ลงตัว, นี่ก็
  • 3:15 - 3:19
    เหมือนกับ 1 ส่วน 4 ผมจะหยิบได้ 1 ใน 4 ครั้ง
  • 3:19 - 3:22
    หรือผมมีความน่าจะเป็น 1 ใน 4 ที่จะได้ไพ่โพธิ์แดง
  • 3:22 - 3:24
    เมื่อผมลงมือ,เมื่อผมหยิบไพ่อย่างสุ่ม
  • 3:24 - 3:25
    จากกองที่สับแล้ว
  • 3:25 - 3:27
    ทีนี้ลองทำสิ่งที่น่าสนใจขึ้น
  • 3:27 - 3:31
    หรือบางทีเป็นสิ่งที่ง่ายขึ้นหน่อย: ความน่าจะเป็น
  • 3:31 - 3:42
    ที่ผมจะหยิบไพ่เป็นแจ็ค และเป็นโพธิ์แดงเป็นเท่าไหร่?
  • 3:42 - 3:44
    ทีนี้, ถ้าคุณคุ้นเคยกับไพ่พอสมควร, คุณจะรู้
  • 3:44 - 3:47
    ได้ว่ามันมีไพ่ใบเดียวที่เป็นทั้งแจ็คและโพธิ์แดง
  • 3:47 - 3:49
    มันก็คือแจ็คโพธิ์แดงนั่นเอง
  • 3:49 - 3:51
    เราจึงบอกว่าความน่าจะเป็นที่เราหยิบได้ไพ่
  • 3:51 - 3:53
    แจ็คโพธิ์แดงพอดีเป็นเท่าไหร่?
  • 3:53 - 3:59
    ทีนี้, มันมีเหตุการณ์อยู่อย่างเดียว, ใบเดียวที่เป็นไปตามเงื่อนไขพวกนี้
  • 3:59 - 4:02
    ตรงนี้ และมันมีไพ่อยู่ 52 ใบ
  • 4:02 - 4:06
    มันจึงมีโอกาส 1 ใน 52 ที่ผมจะได้แจ็คโพธิ์แดง
  • 4:06 - 4:09
    คือสิ่งที่เป็นทั้งแจ็ค และทั้งโพธิ์แดง
  • 4:09 - 4:12
    ลองทำอะไรที่น่าสนใจกว่าอีกหน่อย
  • 4:12 - 4:15
    ความน่าจะเป็น, คุณอาจลองหยุดแล้ว
  • 4:15 - 4:18
    คิดสักหน่อยก่อนที่ผมจะบอกคำตอบนะ, ความน่าจะเป็น
  • 4:18 - 4:22
    ที่, เหมือนเดิมผมมีสำหรับไพ่ 52 ใบ, ผมสับมัน
  • 4:22 - 4:25
    แล้วหยิบไพ่ใบหนึ่งอย่างสุ่มจากกอง, ความน่าจะเป็นที่
  • 4:25 - 4:31
    ไพ่ที่ผมหยิบจะเป็นแจ็ค หรือโพธิ์แดงเป็นเท่าไหร่?
  • 4:31 - 4:35
    มันอาจเป็นแจ็คโพธิ์แดง หรือแจ็คข้าวหลามตัด
  • 4:35 - 4:38
    หรือจะเป็นแจ็คโพธิ์ดำ หรือจะเป็นควีนโพธิ์แดง
  • 4:38 - 4:41
    หรือจะเป็น สอง โพธิ์แดงก็ได้ ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์นี้เป็นเท่าไหร่?
  • 4:41 - 4:44
    นี่อาจดูน่าสนใจกว่าหน่อย เพราะ
  • 4:44 - 4:50
    อย่างแรกเรารู้ว่ามันมีความเป็นไปได้ 52 อย่าง
  • 4:50 - 4:53
    แต่ความเป็นไปได้เหล่านี้ มีกี่อันที่ตรงตาม
  • 4:53 - 4:56
    เงื่อนไขนี้, ว่ามันเป็นแจ็คหรือเป็นโพธิ์แดง
  • 4:56 - 5:00
    เพื่อหาคำตอบ ผมจะวาดแผนภาพเวนน์
  • 5:00 - 5:02
    ฟังดูสวยหรู, แต่ไม่มีอะไรหรูหราอะไรเลย
  • 5:02 - 5:05
    จินตนาการว่าสี่เหลี่ยมที่ผมวาดนี้ แทน
  • 5:05 - 5:08
    ผลลัพธ์ทั้งหมด แล้วถ้าคุณต้องการ คุณอาจนึกภาพว่ามัน
  • 5:08 - 5:14
    มีพื้นที่เท่ากับ 52 นี่ก็คือผลลัพธ์ที่เป็นไปได้ 52 อย่าง, แล้วมี
  • 5:14 - 5:17
    กี่อันที่ออกมาเป็นแจ็ค?
  • 5:17 - 5:19
    เรารู้คำตอบนี่อยู่แล้ว, 1 ใน 13 ของผลลัพธ์พวกนี้
  • 5:19 - 5:25
    จะออกมาเป็นแจ็ค ผมจึงสามารถวาดวงกลมตรงนี้แทนพื้นที่
  • 5:25 - 5:27
    และผมประมาณว่า
  • 5:27 - 5:28
    มันแทนความน่าจะเป็นของแจ็ค
  • 5:28 - 5:32
    นั่นก็ควรมีค่าประมาณ 1/13 หรือ 4/52 ของพื้นที่
  • 5:32 - 5:37
    ตรงนี้ ดังนั้นผมจะเขียนมันแบบนี้ เจ้านี่ตรงนี้ก็คือ
  • 5:37 - 5:45
    ความน่าจะเป็นที่เป็นแจ็ค มันคือ 4, มันมีไพ่เป็นไปได้อยู่
  • 5:45 - 5:53
    4 ใบจากทั้งหมด 52 ใบ นั่นก็คือ 4/52 หรือ 1/13
  • 5:53 - 5:56
    แล้วความน่าจะเป็นที่จะได้โพธิ์แดงเป็นเท่าไหร่?
  • 5:56 - 5:59
    ทีนี้, ผมจะวาดวงกลมอีกวงตรงนี้, มันแทนอันนั้น
  • 5:59 - 6:03
    13 จาก 52, 13 จาก 52 นี่แทนโพธิ์แดง
  • 6:03 - 6:07
    และที่จริง หนึ่งในนั้นแทนทั้งโพธิ์แดงและแจ็ค
  • 6:07 - 6:11
    ผมจึงจะวาดมันทับกัน และหวังว่าคุณคงเข้าใจ
  • 6:11 - 6:13
    ในไม่ช้า
  • 6:13 - 6:17
    มันมีไพ่ 13 ใบเป็นโพธิ์แดง
  • 6:17 - 6:21
    นี่คือจำนวนโพธิ์แดง
  • 6:21 - 6:24
    และที่จริง ขอผมเขียนอย่างบนตรงนี้เดียว
  • 6:24 - 6:29
    มันจะได้ชัดเจนหน่อย, เรากำลังดูที่ -- ดูชัดๆ
  • 6:29 - 6:39
    -- อยู่ที่จำนวนของแจ็ค และแน่นอนส่วนที่ทับกัน
  • 6:39 - 6:42
    ตรงนี้เป็นจำนวนของแจ็คกับโพธิ์แดง จำนวน
  • 6:42 - 6:45
    จากทั้งหมด 52 นี่ เป็นทั้งแจ็คและโพธิ์แดง
  • 6:45 - 6:49
    มันอยู่ในเซตทั้งสอง มันอยู่ในวงกลมสีเขียว และมันอยู่
  • 6:49 - 6:53
    ในวงกลมสีส้มด้วย แล้วเจ้านี่ตรงนี้ ผมจะใช้สีเหลือง
  • 6:53 - 6:55
    เนื่องจากผมเขียนโจทย์ด้วยสีเหลือง
  • 6:55 - 6:58
    เจ้านี่ตรงนี้คือจำนวนแจ็คและโพธิ์แดง
  • 6:58 - 7:01
    ขอผมเขียนลูกศรเล็กๆ ตรงนี้ มันเริ่มแน่นแล้ว
  • 7:01 - 7:03
    ผมควรวาดให้มันใหญ่หน่อย
  • 7:03 - 7:10
    จำนวนของแจ็คกับโพธิ์แดง
  • 7:10 - 7:13
    และมันทับกันอยู่ตรงนี้, ความน่าจะเป็น
  • 7:13 - 7:15
    ที่จะได้แจ็คหรือโพธิ์แดงเป็นเท่าไหร่?
  • 7:15 - 7:19
    แล้วถ้าคุณคิดถึงความน่าจะเป็น มันจะเท่ากับ
  • 7:19 - 7:23
    จำนวนเหตุการณ์ที่ตรงตามเงื่อนไข ส่วนจำนวนเหตุการณ์ทั้งหมด
  • 7:23 - 7:25
    ใช่แล้ว, เรารู้ว่าจำนวนเหตุการณ์ทั้งหมดเป็น 52
  • 7:25 - 7:26
    แต่มีกี่อันที่ตรงตามเงื่อนไขนี้?
  • 7:26 - 7:29
    มันจะเป็นจำนวน, มันจะเท่ากับ
  • 7:29 - 7:32
    คุณก็บอกว่า: ลองดูสิ, วงกลมสีเขียวตรงนี้บอกจำนวน
  • 7:32 - 7:36
    ของแจ็ค วงกลมสีส้มบอกจำนวน
  • 7:36 - 7:38
    ของโพธิ์แดง แล้วคุณอาจบอกว่า
  • 7:38 - 7:43
    อ้าว, ทำไมเราไม่รวมวงกลมสีเขียวกับสีส้มเลย
  • 7:43 - 7:45
    ถ้าคุณทำอย่างนั้น คุณจะนับซ้ำ
  • 7:45 - 7:51
    เพราะถ้าคุณบวกมันเข้าด้วยกัน, ถ้าคิด 4 บวก 13
  • 7:51 - 7:52
    เรากำลังบอกว่าอะไร?
  • 7:52 - 7:57
    เรากำลังบอกว่า มันมีแจ็ค 4 ใบ และเราบอกว่า
  • 7:57 - 8:00
    เรามีโพธิ์แดง 13 ใบ
  • 8:00 - 8:03
    แต่ทั้งสองกรณี, เวลาเราทำแบบนี้
  • 8:03 - 8:06
    เรากำลังนับแจ็คโพธิ์แดงพร้อมกันทั้งสองกรณี
  • 8:06 - 8:09
    เราใส่แจ็คโพธิ์แดงตรงนี้ แล้วเราก็ใส่แจ็คโพธิ์แดงตรงนี้
  • 8:09 - 8:12
    เราจึงนับแจ็คโพธิ์แดงสองครั้ง, แม้ว่าเราจะ
  • 8:12 - 8:17
    มีไพ่นั้นแค่ใบเดียว ดังนั้นคุณต้องลบค่าร่วมกันออกไป
  • 8:17 - 8:22
    คุณต้องลบตัวที่อยู่ทั้งแจ็คและ
  • 8:22 - 8:23
    โพธิ์แดงออกไป
  • 8:23 - 8:25
    คุณก็ลบ 1 ออก
  • 8:25 - 8:26
    วิธีคิดอีกอย่างคือว่า
  • 8:26 - 8:34
    คุณหาพื้นที่ทั้งหมดตรงนี้ได้
  • 8:34 - 8:36
    ขอผมขยายเข้าไปหน่อย ผมจะพูดโดยทั่วไปหน่อย
  • 8:36 - 8:38
    ถ้าคุณมีวงกลมวงหนึ่งแบบนี้ แล้วคุณมีวงกลม
  • 8:38 - 8:42
    ทีทับกันแบบนี้ แล้วคุณอยากหาพื้นที่ทั้งหมด
  • 8:42 - 8:46
    ของวงกลมสองวงรวมกัน คุณก็ดูพื้นที่
  • 8:46 - 8:53
    ของวงกลมนี้ แล้วคุณก็บวกมันเข้ากับพื้นที่ของวงกลมนี้
  • 8:53 - 8:57
    แต่เมื่อคุณทำอย่างนั้น, คุณจะเห็นว่าเวลาคุณบวกพื้นที่สองว่าง
  • 8:57 - 8:59
    คุณจะนับพื้นที่นี้สองครั้ง
  • 8:59 - 9:02
    ดังนั้นเพื่อให้นับพื้นที่ตรงนั้นครั้งเดียว, คุณต้องลบ
  • 9:02 - 9:04
    พื้นที่นั่นจากผลรวม
  • 9:04 - 9:09
    ดังนั้นถ้าพื้นที่นี้, ถ้านี่คือ, ถ้าพื้นที่นี้คือ A, พื้นที่นี้คือ B
  • 9:09 - 9:15
    และอินเตอร์เซกชัน, โดยส่วนทับกันคือ C
  • 9:15 - 9:22
    พื้นที่รวมจะเท่ากับ A บวก B ลบพื้นที่ซ้อนทับ
  • 9:22 - 9:24
    คือลบ C
  • 9:24 - 9:25
    มันก็เหมือนกับตรงนี้
  • 9:25 - 9:28
    เรากำลังนับแจ็คทั้งหมด รวมทั้งแจ็คโพธิ์แดง
  • 9:28 - 9:31
    เรานับโพธิ์แดงทั้งหมด รวมทั้งแจ็คโพธิ์แดง
  • 9:31 - 9:35
    เราได้นับแจ็คโพธิ์แดงไปสองครั้งล เราจึงต้องลบออกอันหนึ่ง
  • 9:35 - 9:38
    มันจึงเท่ากับ 4 บวก 13 ลบ 1
  • 9:38 - 9:46
    หรือนี่จะเท่ากับ 16/52 แล้วทั้งคู่ก็หารด้วย
  • 9:46 - 9:48
    4 ลงตัว
  • 9:48 - 9:50
    นี่จึงเท่ากับ
  • 9:50 - 9:54
    ถ้าผมหาร 16 ด้วย 4 คุณจะได้ 4, 52 หารด้วย 4
  • 9:54 - 9:55
    ได้ 13
  • 9:55 - 10:01
    ดังนั้นนี่คือ, โอกาส 4/13 ที่คุณจะได้แจ็คหรือโพธิ์แดง
Title:
Probability with Playing Cards and Venn Diagrams
Description:

more » « less
Video Language:
English
Team:
Khan Academy
Duration:
10:02

Thai subtitles

Revisions