< Return to Video

สมองส่วนบริหารจัดการของคุณทำงานอย่างไร -- และวิธีทำให้มันดีขึ้น

  • 0:01 - 0:04
    ฉันมีเรื่องจะสารภาพ
  • 0:04 - 0:06
    ฉันเพิ่งหัดขับรถ
  • 0:07 - 0:08
    มันยากมากเลย
  • 0:09 - 0:12
    นี่ไม่ใช่เรื่องของสมองคนแก่หรืออะไร
  • 0:12 - 0:15
    คุณยังจำตอนที่คุณเพิ่งหัดขับรถกันได้ไหม
  • 0:16 - 0:18
    การตัดสินใจทุกอย่าง
    คุณต้องมีสติและตั้งใจมาก
  • 0:19 - 0:23
    ฉันเรียนขับรถเสร็จ
    กลับมาบ้านด้วยสมองที่เหนื่อยล้า
  • 0:23 - 0:27
    ฉันเป็นนักวิทยาสตร์ด้านการทำงานของสมอง
    จึงรู้ว่าที่เป็นเช่นนี้เพราะฉันใช้
  • 0:27 - 0:31
    สิ่งที่เรียกว่าความสามารถของสมอง
    ด้านบริหารจัดการอย่างหนักนั่นเอง
  • 0:31 - 0:37
    น่าทึ่งที่ความสามารถของสมองด้านบริหาร
    จัดการทำให้เรามีสติควบคุมความคิด
  • 0:37 - 0:39
    อารมณ์และการกระทำ
  • 0:39 - 0:41
    เพื่อให้บรรลุจุดหมายได้
  • 0:41 - 0:42
    อย่างการหัดขับรถ
  • 0:43 - 0:46
    มันเป็นสิ่งที่เราใช้ในการเลิกนิสัยบางอย่าง
  • 0:46 - 0:49
    ยับยั้งความอยาก และวางแผนล่วงหน้า
  • 0:50 - 0:52
    แต่เราสามารถเห็นมันได้ชัดเจนที่สุด
    ตอนมีความผิดพลาดเกิดขึ้น
  • 0:53 - 0:57
    อย่าง คุณเคยรินน้ำส้ม
    ลงในชามซีเรียลโดยไม่ตั้งใจไหม
  • 0:57 - 0:59
    (เสียงหัวเราะ)
  • 0:59 - 1:01
    หรือขณะกำลังกวาดดูเรื่องราวในเฟซบุ๊ค
  • 1:01 - 1:03
    กลับนึกขึ้นมาได้ว่าคุณลืมไปประชุม
  • 1:03 - 1:04
    (เสียงหัวเราะ)
  • 1:04 - 1:06
    หรืออย่างอันนี้ อาจคุ้นเคยกว่า
  • 1:06 - 1:09
    คุณเคยวางแผนว่าจะแวะร้านค้า
    หลังเลิกงานก่อนกลับบ้าน
  • 1:09 - 1:11
    แต่แล้วก็ขับตรงกลับบ้านไปเลยโดยอัตโนมัติ
  • 1:11 - 1:14
    (เสียงหัวเราะ)
  • 1:14 - 1:16
    สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นกับทุกคน
  • 1:16 - 1:18
    เรามักจะเรียกกันว่าความขี้หลงขี้ลืม
  • 1:18 - 1:19
    แต่จริง ๆแล้ว สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ
  • 1:19 - 1:22
    เรากำลังประสบกับอาการวูบ
    ของสมองด้านบริหารจัดการ
  • 1:24 - 1:28
    เราใช้สมองด้านบริหาร
    จัดการในทุกแง่มุมของชีวิต
  • 1:28 - 1:29
    ใน 30 กว่าปีที่ผ่านมา
  • 1:30 - 1:33
    นักวิจัยหลายท่านพบว่า
    มันสามารถบ่งบอกสิ่งดี ๆ ได้หลายอย่าง
  • 1:33 - 1:35
    ทั้งในช่วงวัยเด็กและหลังจากนั้น
  • 1:36 - 1:40
    อย่างทักษะทางสังคม ความสำเร็จทางการศึกษา
    สุขภาพกายและจิต
  • 1:40 - 1:42
    การหาเงิน เก็บเงิน
  • 1:42 - 1:44
    แม้กระทั่งการอยู่ไกลห่างจากคุก
  • 1:44 - 1:46
    ฟังดูดีใช่ไหมคะ
  • 1:46 - 1:48
    ไม่น่าแปลกใจเลย
  • 1:48 - 1:51
    ที่นักวิจัยอย่างฉันจะสนใจ
    การทำความเข้าใจกับสิ่งนี้
  • 1:51 - 1:53
    และพยายามหาทางปรับปรุงมัน
  • 1:55 - 2:00
    แต่พักหลังสมองส่วนบริหารจัดการนั้น
    กลายเป็นศัพท์ในการพัฒนาตนเองคำใหญ่ไป
  • 2:01 - 2:04
    มีคนคิดว่าจะสามารถปรับปรุงมัน
    ได้ด้วยแอพฝึกสมองในไอโฟน
  • 2:04 - 2:06
    และเกมคอมพิวเตอร์
  • 2:06 - 2:09
    หรือด้วยการฝึกฝนด้วยวิธีเฉพาะ
    อย่างการเล่นหมากรุก
  • 2:10 - 2:13
    นักวิจัยก็พยายามฝึกสมองส่วนนี้
    ภายในห้องทดลอง
  • 2:13 - 2:16
    ด้วยความหวังที่จะปรับปรุงมัน
    และอย่างอื่นที่เกี่ยวข้องกับมัน
  • 2:16 - 2:18
    อย่างเช่น ความฉลาด
  • 2:19 - 2:21
    แต่ฉันมาที่นี่เพื่อบอกคุณว่า
  • 2:21 - 2:25
    วิธีคิดเกี่ยวกับ
    สมองด้านบริหารจัดการเช่นนี้ผิดทั้งสิ้น
  • 2:25 - 2:28
    การฝึกสมองไม่ได้ช่วยปรับปรุงสมอง
    ด้านบริหารจัดการในภาพรวม
  • 2:28 - 2:32
    เพราะมันเป็นการฝึกสมองส่วนนี้แบบแคบ ๆ
  • 2:32 - 2:36
    ที่อยู่นอกบริบทของชีวิตจริง
    ที่เราใช้สมองส่วนนี้คิด
  • 2:37 - 2:40
    คุณอาจจะใช้แอพฝึกสมอง
    ด้านบริหารจัดการในโทรศัพท์ของคุณได้เก่ง
  • 2:40 - 2:44
    แต่มันจะไม่ช่วยให้คุณเลิกรินน้ำส้ม
    ลงในชามเชียริโอสสัปดาห์ละสองครั้งได้หรอก
  • 2:44 - 2:45
    (เสียงหัวเราะ)
  • 2:45 - 2:47
    หากคุณอยากปรับปรุง
    สมองด้านบริหารจัดการจริง ๆ
  • 2:47 - 2:49
    ในด้านที่สำคัญกับการดำเนินชีวิต
  • 2:49 - 2:53
    คุณต้องเข้าใจว่า
    บริบทมีผลกับมันอย่างไรเสียก่อน
  • 2:54 - 2:56
    ฉันจะแสดงให้ดู
  • 2:56 - 2:58
    มีการทดสอบที่ดีมากที่เราทำกันในห้องทดลอง
  • 2:58 - 3:00
    เพื่อวัดสมองด้านบริหารจัดการในเด็กเล็ก
  • 3:00 - 3:03
    เรียกว่า
    "การจัดเรียงการ์ดตามมิติที่เปลี่ยนไป"
  • 3:04 - 3:07
    ในการฝึกนี้
    เด็กจะต้องจัดเรียงการ์ดด้วยวิธีหนึ่ง
  • 3:07 - 3:09
    อย่างเช่นตามรูปร่าง
  • 3:09 - 3:12
    ทำซ้ำเช่นนี้จนกลายเป็นนิสัย
  • 3:12 - 3:14
    แล้วเราก็จะขอให้เด็กเปลี่ยน
  • 3:14 - 3:17
    และจัดเรียงการด์เดียวกันนั้น
    ด้วยวิธีอีกวิธีหนึ่ง
  • 3:17 - 3:18
    อย่างเรียงตามสี
  • 3:19 - 3:22
    เด็กเล็กมาก ๆ พบว่ามันยาก
  • 3:22 - 3:26
    เด็กสามสี่ขวบจะจัดเรียงการ์ดด้วยวิธีเดิม
  • 3:26 - 3:29
    ไม่ว่าคุณจะเตือนพวกเขากี่ครั้ง
    ว่าเขาจะต้องทำอย่างไร
  • 3:30 - 3:33
    (วิดีโอ) ผู้หญิง: ถ้าสีน้ำเงิน
    เอามาวางตรงนี้ ส่วนสีแดง วางตรงนี้
  • 3:33 - 3:35
    นี่ อันนี้สีน้ำเงิน
  • 3:35 - 3:37
    โอเค ทีนี้เราจะเล่นเกมใหม่นะ
  • 3:37 - 3:40
    เราจะไม่เล่นเกมสีแล้ว
  • 3:40 - 3:42
    เราจะเล่นเกมรูปร่างแทน
  • 3:42 - 3:43
    และในเกมรูปร่างนี้
  • 3:43 - 3:46
    รูปดาว เอามาวางตรงนี้
    รูปรถบรรทุกทั้งหมดวางตรงนี้ โอเคไหม
  • 3:46 - 3:48
    ดาวตรงนี้ รถบรรทุกมาทางนี้
  • 3:48 - 3:49
    ดาวไปทางไหนคะ
  • 3:51 - 3:52
    รถบรรทุกไปทางไหนคะ
  • 3:52 - 3:54
    เยี่ยมเลย
  • 3:54 - 3:56
    เอาละ ดาวมาทางนี้ รถบรรทุกมาทางนี้
  • 3:56 - 3:57
    อ้ะ นี่รถบรรทุก
  • 3:59 - 4:00
    (เสียงหัวเราะ)
  • 4:00 - 4:03
    ดาวตรงนี้ รถบรรทุกมาทางนี้
  • 4:03 - 4:04
    นี่ ดาว
  • 4:05 - 4:08
    (เสียงหัวเราะ)
  • 4:08 - 4:09
    SB: มันน่าสนใจจริงๆ
  • 4:10 - 4:14
    และเห็นได้ชัดว่าเมื่อใดที่เธอ
    ไม่ได้ใช้สมองด้านบริหารจัดการ
  • 4:14 - 4:15
    แต่นี่แหละ
  • 4:15 - 4:18
    เราสามารถฝึกเธอให้ทำแบบฝึก
    อย่างนี้หรือแบบอื่นที่คล้ายกัน
  • 4:18 - 4:20
    และในที่สุดเธอก็จะทำได้ดี
  • 4:20 - 4:21
    แต่นั่นหมายความว่า
  • 4:21 - 4:24
    สมองด้านบริหารจัดการของเธอจะทำงานได้ดีขึ้น
    นอกห้องทดลองอย่างนั้นหรือ
  • 4:24 - 4:28
    ไม่ใช่แน่ เพราะในชีวิตจริง
    เธอจะต้องใช้สมองด้านบริหารจัดการ
  • 4:28 - 4:31
    ทำมากกว่าแค่สลับจากรูปร่างเป็นสีมากแน่
  • 4:31 - 4:34
    เธอจะต้องสลับจากบวกเป็นคูณ
  • 4:34 - 4:37
    จากเอาออกมาเล่นเป็นเก็บเข้าที่
  • 4:37 - 4:40
    จากคิดถึงความรู้สึกของตัวเอง
    เป็นคิดถึงความรู้สึกของเพื่อน
  • 4:40 - 4:43
    และความสำเร็จในชีวิตจริงขึ้นอยู่กับเรื่อง
  • 4:43 - 4:47
    อย่างเช่น คุณมีความกระตือรือร้นแค่ไหน
    และเพื่อนของคุณทำอะไรกันอยู่มั่ง
  • 4:47 - 4:50
    มันยังขึ้นอยู่กับกลยุทธที่คุณนำมาใช้
  • 4:50 - 4:54
    เมื่อคุณกำลังใช้สมองด้านบริหารจัดการ
    ในสถานการณ์เฉพาะอย่างด้วย
  • 4:55 - 4:58
    ที่ฉันกำลังจะบอกคือว่า บริบทเป็นสิ่งสำคัญ
  • 4:59 - 5:02
    ขอให้ฉันได้ยกตัวอย่างจากงานวิจัยของฉัน
    ให้คุณเห็นสักหน่อย
  • 5:02 - 5:06
    ที่ผ่านมาไม่นานนี้ ฉันได้นำกลุ่มเด็ก
    มาทำการทดสอบคลาสสิกเรื่องมาร์ชเมลโล
  • 5:06 - 5:09
    ที่วัดเรื่องความอดทนรอคอย
  • 5:09 - 5:12
    ซึ่งต้องใช้สมองด้านบริหารจัดการอย่างหนัก
  • 5:13 - 5:15
    คุณอาจเคยได้ยินเรื่องการทดสอบนี้มาแล้ว
  • 5:15 - 5:17
    ง่าย ๆ คือเด็ก ๆ ต้องเลือก
  • 5:17 - 5:19
    ว่าเขาจะกินมาร์ชเมลโลชิ้นนึงไปเลยก็ได้
  • 5:19 - 5:21
    หรือรอ หากเขารอฉันกลับมาจากอีกห้องนึง
  • 5:21 - 5:23
    เพื่อไปเอามาร์ชเมลโลมาเพิ่ม
  • 5:23 - 5:25
    เขาก็จะได้กินสองชิ้น
  • 5:25 - 5:29
    เด็กส่วนใหญ่อยากได้มาร์ชเมลโลชิ้นที่สอง
  • 5:29 - 5:33
    แต่คำถามก็คือ เด็ก ๆ รอได้นานกันแค่ไหน
  • 5:33 - 5:34
    (เสียงหัวเราะ)
  • 5:34 - 5:38
    ฉันเพิ่มมุมเข้าไปอีกอย่าง
    เพื่อดูผลกระทบของบริบท
  • 5:39 - 5:42
    ฉันบอกเด็กแต่ละคนว่าพวกเขาอยู่ในกลุ่ม
  • 5:42 - 5:43
    กลุ่มสีเขียว
  • 5:43 - 5:47
    ฉันให้เด็กใส่เสื้อยืดสีเขียว
  • 5:47 - 5:51
    และบอกว่ากลุ่มของหนู
    รอมาร์ชเมลโลสองชิ้นนะ
  • 5:51 - 5:53
    แตอีกกลุ่มนึงน่ะ กลุ่มสีส้ม
  • 5:53 - 5:54
    เขาไม่รอล่ะ"
  • 5:54 - 5:56
    หรือฉันบอกเขาในทางตรงกันข้าม
  • 5:56 - 5:58
    "กลุ่มหนูไม่รอเอามาร์ชเมลโลสองชิ้น
  • 5:58 - 6:00
    แต่อีกกลุ่มหนึ่งเขารอนะ"
  • 6:00 - 6:02
    และฉันก็ทิ้งเด็กคนนั้นไว้ในห้องตามลำพัง
  • 6:02 - 6:05
    แล้วแอบดูพวกเขาผ่านเว็บแคม
    ว่าเขาจะรอได้นานแค่ไหน
  • 6:06 - 6:10
    (เสียงหัวเราะ)
  • 6:10 - 6:14
    สิ่งที่ฉันค้นพบคือ เด็กที่เชื่อว่า
  • 6:14 - 6:16
    เขาอยู่ในกลุ่มที่รอมาร์ชเมลโลสองชิ้น
  • 6:16 - 6:19
    มีแนวโน้มที่จะรอด้วย
  • 6:20 - 6:24
    กลุ่มเพื่อนจึงมีอิทธิพลต่อเขา
    ทั้ง ๆ ที่เขาก็ไม่เคยพบกันเลย
  • 6:24 - 6:26
    (เสียงหัวเราะ)
  • 6:26 - 6:28
    เจ๋งไปเลย ใช่ไหมคะ
  • 6:28 - 6:30
    ด้วนผลการทดลองนี้
    ฉันก็ยังไม่รู้
  • 6:30 - 6:35
    ว่าเด็ก ๆ ก็แค่ทำตามคนในกลุ่มหรือ
    มันจะเป็นเพราะอะไรที่ลึกไปกว่านั้น
  • 6:35 - 6:37
    ฉันจึงเชิญเด็ก ๆ มาเพิ่มอีก
  • 6:37 - 6:42
    หลังจากที่ทำการทดสอบเรื่องมาร์ชเมลโลแล้ว
    ฉันก็ได้ให้เด็กดูภาพของเด็กคู่หนึ่ง
  • 6:42 - 6:46
    และบอกเด็กคนนั้นว่า"หนึ่งในสองของเด็กในภาพ
    ชอบที่จะได้ของเลยโดยไม่รอ
  • 6:46 - 6:48
    อย่างคุกกี้และสติ้กเกอร์
  • 6:48 - 6:49
    ส่วนอีกคนหนึ่ง เขารอได้
  • 6:49 - 6:52
    เพื่อจะได้ของพวกนี้มากขึ้น
  • 6:52 - 6:53
    และฉันก็ถามเขาว่า
  • 6:53 - 6:55
    "หนูชอบเด็กคนไหนมากกว่า
  • 6:55 - 6:57
    คนไหนที่หนูอยากจะเล่นด้วยมากกว่า"
  • 6:58 - 7:02
    ที่พบคือ เด็กที่เชื่อว่ากลุ่มของเขารอได้
  • 7:02 - 7:05
    มีแนวโน้มที่จะชอบเด็กที่ชอบรอ
  • 7:06 - 7:10
    ดังนั้นการเรียนรู้ว่ากลุ่มของเขารอได้
    ทำให้เด็กคนนั้นเห็นคุณค่าของการรอมากขึ้น
  • 7:11 - 7:13
    ไม่เพียงเท่านั้น
  • 7:13 - 7:15
    เด็กเหล่านี้มีแนวโน้ม
    ที่จะใช้สมองด้านบริหารจัดการ
  • 7:15 - 7:18
    ในการสร้างกลยุทธ์
    เพื่อช่วยให้พวกเขาสามารถรอได้อีกด้วย
  • 7:18 - 7:22
    อย่างเช่น นั่งทับมือตนเอง
    หรือหันหลังให้กับมาร์ชเมลโล
  • 7:22 - 7:25
    หรือร้องเพลงเพื่อหันเหความสนใจของตนเอง
  • 7:25 - 7:26
    (เสียงหัวเราะ)
  • 7:28 - 7:32
    สิ่งที่มันแสดงให้เห็นไม่เพียงแค่ว่า
    บริบทมีความสำคัญมากขนาดไหนเท่านั้น
  • 7:32 - 7:36
    ไม่ใช่ว่าเด็กเหล่านี้มีสมอง
    ด้านบริหารจัดการที่ดีหรือไม่ดี
  • 7:36 - 7:39
    แต่บริบทช่วยให้พวกเขา
    ใช้มันได้ดีขึ้นต่างหาก
  • 7:40 - 7:44
    แล้วมันมีความหมายอย่างไร
    กับคุณและลูก ๆ ของคุณ
  • 7:44 - 7:47
    อย่าง ถ้าคุณอยากเรียนภาษาสเปน
  • 7:47 - 7:49
    คุณอาจจะลองเปลี่ยนบริบทดู
  • 7:49 - 7:53
    และไปอยู่ท่ามกลางผู้คนที่ต้องการเรียน
  • 7:53 - 7:56
    และจะยิ่งดีไปกว่านั้น
    หากพวกเขาเป็นคนที่คุณชอบด้วย
  • 7:56 - 7:59
    ด้วยวิธีนี้ คุณก็จะมีแรงจูงใจ
    ในการใช้สมองด้านบริหารจัดการมากขึ้น
  • 8:00 - 8:04
    หรือถ้าคุณอยากช่วยให้ลูกของคุณ
    ทำการบ้านเลขได้ดีขึ้น
  • 8:04 - 8:08
    คุณก็สอนให้ลูกใช้กลยุทธ์
    ในการใช้สมองด้านบริหารจัดการได้
  • 8:08 - 8:10
    ในบริบทบางอย่าง
  • 8:10 - 8:13
    เช่น เก็บมือถือเสียก่อนที่จะเริ่มการเรียน
  • 8:13 - 8:16
    หรือวางแผนให้รางวัล
    เมื่อลูกเรียนครบหนึ่งชั่วโมง
  • 8:17 - 8:20
    ฉันไม่ได้บอกว่าบริบท
    เป็นทุกสิ่งทุกอย่างนะคะ
  • 8:20 - 8:25
    ความสามารถของสมองด้านบริหารจัดการนั้น
    ซับซ้อนมากและขึ้นกับหลายปัจจัย
  • 8:25 - 8:27
    แต่สิ่งที่ฉันอยากให้คุณจำก็คือ
  • 8:27 - 8:29
    หากคุณต้องการปรับปรุงความสามารถ
    ของสมองด้านบริหารจัดการ
  • 8:29 - 8:32
    ในแง่มุมหนึ่งใดของชีวิต
  • 8:32 - 8:34
    อย่าไปหาทางแก้แบบฉับพลัน
  • 8:34 - 8:35
    ให้คิดถึงบริบท
  • 8:35 - 8:38
    และวิธีที่ทำให้เป้าหมายของคุณ
    มีความหมายต่อตัวคุณมากขึ้น
  • 8:38 - 8:40
    และวิธีการใช้กลยุทธ์
  • 8:40 - 8:42
    เพื่อช่วยตัวคุณเองในสถานการณ์เฉพาะนั้น
  • 8:43 - 8:49
    ฉันคิดว่ากรีกโบราณรู้ดีที่สุด
    เขากล่าวว่า "ให้รู้จักตัวเอง"
  • 8:49 - 8:53
    ส่วนสำคัญของวิธีนี้คือการรู้ว่า
    บริบทส่งผลต่อพฤติกรรมของคุณอย่างไร
  • 8:53 - 8:57
    และคุณจะใช้ความรู้นั้น
    มาเปลี่ยนชีวิตให้ดีขึ้นได้อย่างไร
  • 8:57 - 8:58
    ขอบคุณค่ะ
  • 8:58 - 9:01
    (เสียงปรบมือ)
Title:
สมองส่วนบริหารจัดการของคุณทำงานอย่างไร -- และวิธีทำให้มันดีขึ้น
Speaker:
ซาบีน โดเบล
Description:

คุณใช้ความสามารถสมองด้านบริหารจัดการของคุณทุกวันในการทำสิ่งต่าง ๆ เช่น การจดจ่อ การวางแผนล่วงหน้า และความยับยั้งชั่งใจ คุณสามารถปรับปรุงให้มันทำงานดีขึ้นได้ไหม? ซาบีน โดเบล นักวิทยาศาสตร์ด้านการทำงานของสมอง ได้ยกตัวอย่างจากงานวิจัยของเธอซึ่งเกี่ยวกับพัฒนาการของเด็ก มาแสดงให้เห็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำงานของสมองด้านบริหารจัดการและวิธีที่คุณสามารถนำมาใช้เพื่อเลิกนิสัยที่ไม่ดีและช่วยให้คุณบรรลุเป้าหมายได้

more » « less
Video Language:
English
Team:
closed TED
Project:
TEDTalks
Duration:
09:15

Thai subtitles

Revisions Compare revisions