ทำไมบางครั้งการแปลวรรณกรรมจึงเป็นไปไม่ได้ | มาเรียม มันซูเรียม | TEDxYouth@ISPrague
-
0:06 - 0:09คุณเห็นสีอะไร
บนด้านซ้ายของกระดาน -
0:10 - 0:11(ผู้ชม) สีน้ำเงิน
-
0:12 - 0:15ใช่แล้ว และคุณเห็นสีอะไร
บนด้านขวาของกระดาน -
0:15 - 0:17(ผู้ชม) สีน้ำเงิน... สีฟ้า
-
0:17 - 0:20(เสียงหัวเราะ)
-
0:20 - 0:23โอเค เอาเป็นว่า
อันนึงเป็นสีน้ำเงิน อีกอันเป็นสีฟ้า -
0:23 - 0:24ทุกคนเห็นตรงกันนะ
-
0:24 - 0:25(ผู้ชม) เห็นด้วย
-
0:25 - 0:29โอเค เอาเป็นว่าโดยทั่วไปแล้ว
คุณจะเรียกทั้งคู่นี้ว่าสีอะไร -
0:29 - 0:30(ผู้ชม) สีน้ำเงิน
-
0:30 - 0:34โอเค มีใครในที่นี้บ้างที่พูดภาษารัสเซีย
-
0:35 - 0:36มีมั้ยคะ
-
0:36 - 0:38เยี่ยม เห็น 2-3 มือ ที่ยกขึ้น
-
0:38 - 0:43เอาล่ะ คุณจะเรียกสีทางด้านซ้ายมือ
เป็นภาษารัสเซียว่าอะไร -
0:43 - 0:43"Cиний"
-
0:44 - 0:46แล้วถ้าเป็นสีทางด้านขวาล่ะ
-
0:47 - 0:48โอเค
-
0:48 - 0:51ทีนี้ คุณจะเรียกรวม ๆ ว่าสีอะไร
-
0:52 - 0:55(เสียงหัวเราะ)
-
0:55 - 0:57ติดกับดักซะแล้ว
เพราะในภาษารัสเซีย -
0:57 - 0:59คุณไม่สามารถเรียกสีนี้แบบรวม ๆ ได้
-
0:59 - 1:01ในภาษารัสเซีย
คุณไม่สามารถเหมารวมว่า "สีน้ำเงิน" -
1:01 - 1:04ถ้าคุณไม่เรียก "синий" แปลว่าสีน้ำเงิน
-
1:04 - 1:06ก็ต้องเรียกว่า "голубой" แปลว่าสีฟ้า
-
1:07 - 1:10ทีนี้ ฉันรู้มาว่า
มีคนพูดภาษาอาร์เมเนียได้อยู่ 2-3 คน ใช่ไหม -
1:10 - 1:14ฉันจะพูดประโยคนึง
แล้วจะให้พวกเธอแปลเป็นภาษาอาร์เมเนีย -
1:14 - 1:16"ฉันมีลุง"
-
1:16 - 1:18(เสียงกระซิบ)
-
1:18 - 1:20เห็นมั้ย นานาพูดว่า "Ես քեռի ունեմ"
-
1:20 - 1:22แต่เธอพูดไม่ถูก
-
1:22 - 1:24(เสียงหัวเราะ)
-
1:25 - 1:27เพราะ "ฉันมีลุง" อาจจะหมายถึง
-
1:27 - 1:29"ฉันมีลุงที่เป็นพี่ชายของแม่"
-
1:29 - 1:31หรือ "ฉันมีลุงที่เป็นพี่ชายของพ่อ"
-
1:31 - 1:35สิ่งที่นานาพูด คือ
"ฉันมีลุงที่เป็นพี่ชายของแม่" -
1:35 - 1:38แต่ฉันสามารถพูดได้ว่า "Ես հորեղբայր ունեմ"
-
1:38 - 1:41ซึ่งหมายถึง "ฉันมีลุงที่เป็นพี่ชายของพ่อ"
-
1:41 - 1:43และนั่นก็จะเป็นการแปลภาษาที่ถูกต้องเช่นกัน
-
1:44 - 1:48ดังนั้น ภาษาอาร์เมเนียก็เหมือนภาษารัสเซีย
ที่ไม่สามารถพูดแค่คำว่า "สีน้ำเงิน" ได้ -
1:48 - 1:52ในภาษาอาร์เมเนีย
ไม่สามารถพูดแค่คำว่า "ลุง" ได้ -
1:52 - 1:55คุณจะต้องเฉพาะเจาะจงลงไปเลย
ว่ากำลังพูดถึงลุงจากฝั่งไหน -
1:56 - 1:59มันมีความแตกต่างอยู่ในภาษาเหล่านี้
-
1:59 - 2:03ตอนที่ฉันอ่าน "แฮร์รี่ พอตเตอร์"
โดย เจ. เค. โรว์ลิง -
2:04 - 2:06ฉันเข้าใจภาพรวม
ว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างในหนังสือ -
2:07 - 2:08ถึงแม้ว่ามันจะผ่านการแปลมาแล้ว
-
2:08 - 2:11ถึงแม้ว่าจะมีความแตกต่างอยู่ในภาษาเหล่านี้
-
2:12 - 2:15ฉันอ่านหนังสือเล่มเดียวกัน
เกือบจะเป็นเล่มเดียวกัน -
2:15 - 2:17กับที่คนอังกฤษอ่าน
-
2:17 - 2:21และคุณก็คงสงสัยว่า
ทำไมฉันถึงถือไม้บรรทัดนี้อยู่ ใช่มั้ย -
2:21 - 2:25เหตุผลก็คือ การแปลภาษา
ก็เหมือนกับการวัด -
2:26 - 2:29เวลาคุณวัดอะไรสักอย่าง
แล้วสมมุติว่ามันยาว 20 เซนติเมตร -
2:29 - 2:32แต่เราส่วนใหญ่รู้ว่ามันไม่ใช่ 20 เซนติเมตร
-
2:32 - 2:35มันคือ 20 เซนติเมตร บวก/ลบ 0.005
-
2:36 - 2:37ใช่แล้ว
-
2:37 - 2:40วิชาเคมี ฟิสิกส์ ม.4
-
2:40 - 2:42(เสียงหัวเราะ)
-
2:42 - 2:44มันก็คล้าย ๆ กับการแปลภาษา
-
2:44 - 2:48ตอนที่ฉันอ่าน "แฮร์รี่ พอตเตอร์"
ฉันเห็น 20 เซนติเมตร เหมือนกัน -
2:48 - 2:51แต่มันมีความคลุมเครือเล็ก ๆ อยู่
-
2:51 - 2:54เพราะว่าภาษา
แตกต่างกันด้วยเหตุใดเหตุหนึ่ง -
2:54 - 2:57คุณไม่สามารถส่งต่อไอเดียต่าง ๆ
โดยไม่สูญเสียอะไรบางอย่างไป -
2:57 - 3:02ฉันเสียไป 0.005 แต่มันน้อยมาก ๆ
จนแทบไม่มีความสำคัญอะไรเลย -
3:03 - 3:07แต่มันมีกรณีที่ไม่ใช่แค่ 0.005 ไหม
-
3:07 - 3:11มันมีกรณี 1 เซนติเมตร
หรือแม้กระทั่ง 10 เซนติเมตร ไหม -
3:11 - 3:15เอาล่ะ คุณคิดว่าคนคนนี้
เป็นเด็กผู้ชายหรือเด็กผู้หญิง -
3:15 - 3:17(เสียงผู้ชม) ผู้หญิง
-
3:17 - 3:20ใช่แล้ว พวกคุณส่วนใหญ่พูดว่า "เด็กผู้หญิง"
และคุณพูดถูก -
3:20 - 3:21แต่
-
3:21 - 3:26เธอคือตัวละครหลักจากหนังสือ
"ผู้บริสุทธิ์" โดย ฮาร์เปอร์ ลี -
3:26 - 3:28และตอนที่ฉันอ่านหนังสือเล่มนี้
-
3:29 - 3:31มันมีบางอย่างที่ผิดปกติ
-
3:31 - 3:36ฉันไม่สามารถรู้ได้ว่า
ตัวละครหลักเป็นเพศอะไร จนกระทั่งถึงหน้า 60 -
3:36 - 3:39เพราะนักเขียนให้แค่คำใบ้ต่าง ๆ
-
3:39 - 3:42และนักเขียนทำให้ฉันสับสน
กับประโยคบางประโยค เช่น -
3:42 - 3:46"ฉันสาบานเลย เจ้าลูกเสือ บางครั้งแกก็ทำตัว
อย่างกับเด็กผู้หญิง มันน่าขายหน้าจริง ๆ" -
3:47 - 3:50เมื่อคุณพูดว่า "แกก็ทำตัว
อย่างกับเด็กผู้หญิง มันน่าขายหน้าจริง ๆ" -
3:50 - 3:54เราจะเข้าใจว่าคนคนนี้
ไม่ควรจะทำตัวแบบเด็กผู้หญิง ใช่มั้ย -
3:54 - 3:59หรือเจ้าลูกเสือพูดว่า "ครั้งหนึ่ง
ฉันอัดมันซะเละ แต่มันก็ไม่ได้ถือสาอะไร" -
3:59 - 4:01อัดซะเละ กับการเป็นเด็กผู้หญิงอะนะ
-
4:02 - 4:05ในปี 1960 มันช่างไม่เข้ากันเลย
-
4:05 - 4:06(เสียงหัวเราะ)
-
4:06 - 4:09เพราะอย่างนี้ นักเขียนเลยทำให้ฉันสับสน
-
4:09 - 4:11และฉันก็แอบคิดว่า
"ภาษาอังกฤษของฉันน่าจะแย่เกิน" -
4:11 - 4:14ฉันอาจจะไม่เข้าใจหนังสือเล่มนี้
อย่างถูกต้อง -
4:14 - 4:17แต่ฉันก็มาเข้าใจทีหลังว่า
มันคือส่วนสำคัญของแก่นเรื่อง -
4:18 - 4:20เพราะว่าตอนครึ่งเรื่องของหนังสือ
-
4:20 - 4:23ตัวละครที่ชื่อว่าป้าอเล็กซานดร้า
ก็โผล่เข้ามา -
4:23 - 4:28เธอเป็นป้าของเจ้าลูกเสือ
และเธอก็พยายามทำให้ลูกเสือเป็นเด็กผู้หญิง -
4:28 - 4:33ดังนั้น ตอนต้นเรื่อง
เจ้าลูกเสือระบุตัวเองว่าเป็นแค่เด็ก -
4:33 - 4:35ไม่ได้เป็นเด็กผู้หญิง หรือเด็กผู้ชาย
เป็นแค่เด็ก -
4:36 - 4:38แต่แล้วป้าอเล็กซานดร้า
ก็เริ่มฝึกให้เธอเป็นเด็กผู้หญิง -
4:38 - 4:42และในตอนจบของหนังสือ
คุณก็จะเห็นลูกเสือใส่ชุดเดรส -
4:42 - 4:44และกินกาแฟอยู่กับคุณป้าและเพื่อน ๆ ของเธอ
-
4:44 - 4:48ดังนั้น มันก็เหมือนการที่เจ้าลูกเสือ
เปิดเผยเพศของตัวเอง -
4:48 - 4:49ค้นพบเพศของตัวเอง
-
4:49 - 4:53ผู้อ่านก็ค้นพบไปพร้อม ๆ กัน
เราต่างก็เดินทางไปบนเส้นทางเดียวกัน -
4:53 - 4:55เส้นทางเดียวกันกับตัวละครหลัก
เราใช้ชีวิตไปกับเธอจริง ๆ -
4:56 - 4:58ทีนี้ ลองมาดูอีกตัวอย่างหนึ่ง
-
4:58 - 5:02เมื่อฉันพูดว่า "มาเรียมกลับบ้านแล้ว"
เป็นภาษาอังกฤษ รัสเซีย และอาร์เมเนีย -
5:02 - 5:06ฉันรู้ว่าฉันกำลังพูดถึงเด็กผู้หญิง
เพราะมาเรียม เป็นชื่อเด็กผู้หญิง -
5:06 - 5:11เอาล่ะ ทีนี้ลองเปลี่ยนจากมาเรียม
มาเป็นคำสรรพนาม เป็นคำว่า "เธอ" -
5:11 - 5:13"เธอกลับบ้าน" ฉันยังรู้ว่าเป็นเด็กผู้หญิง
-
5:13 - 5:16"Она пошла домой,"
ฉันยังรู้ว่าเป็นเด็กผู้หญิง -
5:16 - 5:19แต่เมื่อฉันพูดว่า "Նա գնաց տուն,"
มันก็เกิดคำถามขึ้น -
5:19 - 5:22เพราะในภาษาอาร์เมเนีย
เหมือนอย่างที่นานาน่าจะรู้อยู่แล้ว -
5:22 - 5:27คำสรรพนาม "նա"
เป็นตัวแทนของทั้งเด็กผู้ชายและเด็กผู้หญิง -
5:28 - 5:31แต่ถึงแม้ว่าฉัน
อยากจะปกปิดเพศของคน ๆ หนึ่งจริง ๆ -
5:31 - 5:35และฉันตั้งชื่อเล่นให้มาเรียม
สมมติว่าชื่อ "ลูกเสือ" -
5:35 - 5:39"ลูกเสือกลับบ้านไปแล้ว"
ฉันไม่รู้ว่าลูกเสือเป็นผู้ชายหรือผู้หญิง -
5:39 - 5:41"Մեձաչքանին գնաց տուն"
ฉันก็ยังไม่รู้ -
5:42 - 5:45แต่พอฉันพูดว่า
"Глазастик пошла домой" -
5:45 - 5:50"Глазастик пошла домой, пошла домой"
ฉันรู้ว่าหมายถึงเด็กผู้หญิง -
5:50 - 5:54เพราะก็เหมือนกับการที่คุณไม่สามารถพูดแค่คำว่า
"ไป" เป็นภาษารัสเซีย -
5:54 - 5:57คุณไม่สามารถพูดแค่คำว่า
"ไปแล้ว" ในภาษารัสเซีย -
5:57 - 5:59หรือคุณไม่สามารถพูดแค่คำกริยาในภาษารัสเซีย
-
5:59 - 6:03เพราะคุณต้องพูดว่า "пошёл" หรือ "пошла"
-
6:03 - 6:07"пошёл" จะหมายถึงเด็กผู้ชาย
และ "пошла" จะหมายถึงเด็กผู้หญิง -
6:07 - 6:10พอฉันจะแปลประโยคนี้เป็นภาษารัสเซีย
-
6:10 - 6:15ฉันต้องพูดว่า "Я избил его"
หรือ "Я избилa его" -
6:15 - 6:17เดี๋ยวก่อนนะ...
-
6:17 - 6:21หมายความว่าในภาษารัสเซีย
คุณไม่สามารถปกปิดเพศได้เลยรึ -
6:22 - 6:23ถูกต้อง
-
6:23 - 6:26และตอนที่ฉันอ่านหนังสือเป็นภาษารัสเซีย
รู้อะไรมั้ย -
6:26 - 6:30เพศของลูกเสือถูกเฉลย
ตั้งแต่หน้าแรก -
6:31 - 6:34ดังนั้น ถ้าฉันจะคุยเรื่องหนังสือนี้
-
6:34 - 6:35กับเพื่อนชาวรัสเซีย
-
6:35 - 6:39ผู้ซึ่งไม่รู้เลยว่า
มีการปกปิดเพศของลูกเสือ -
6:39 - 6:42เราก็จะมีความเข้าใจในเนื้อเรื่อง
ที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง -
6:42 - 6:45ดังนั้น มันไม่ใช่แค่ 0.005 แล้ว
มันแตกต่างกันมาก ๆ -
6:45 - 6:50เพราะเพื่อนของฉันไม่ได้เข้าใจ
ในส่วนสำคัญนี้ เหมือนที่ฉันเข้าใจ -
6:53 - 6:55นั่นเป็นสาเหตุว่าทำไมการอ่าน
"แฮร์รี่ พอตเตอร์" ในภาษาอาร์เมเนีย -
6:55 - 6:59และการอ่าน "ผู้บริสุทธิ์"
-
6:59 - 7:02"Убить пересмешника" ในภาษารัสเซีย
ถึงแตกต่างกัน -
7:02 - 7:06เพราะแม้ว่าจะมีความแตกต่าง
ในเรื่อง "แฮร์รี่ พอตเตอร์" -
7:06 - 7:08มันก็ไม่สำคัญมากนัก
-
7:09 - 7:12แต่ฮาร์เปอร์ ลี ตัดสินใจ
ที่จะใช้ลักษณะเฉพาะ -
7:12 - 7:18ของภาษาอังกฤษ
ในการถ่ายทอดเนื้อหาสำคัญ -
7:19 - 7:21ดังนั้น เมื่อคุณอ่านมันในภาษารัสเซีย
-
7:21 - 7:24คุณก็จะไม่เข้าใจเนื้อหาสำคัญ
ที่นักเขียนต้องการจะถ่ายทอด -
7:24 - 7:28อีกหนึ่งตัวอย่าง
ก็คือหนังสือ "รูม" โดย เอ็มมา ดอนนาฮิว -
7:28 - 7:31แต่ก่อนที่จะเข้าเรื่องหนังสือเล่มนี้
ฉันอยากจะบอกอะไรบางอย่างกับคุณ -
7:31 - 7:35ยกตัวอย่างเช่น ไม้บรรทัดนี้
เป็นเพศหญิงในภาษารัสเซีย -
7:35 - 7:37เพราะว่า "линейка"
-
7:37 - 7:43ถ้ามันจบประโยคด้วย "a" หรือ "я"
มันก็จะเป็นเพศหญิง -
7:43 - 7:44ภาษารัสเซียเป็นแบบนี้
-
7:44 - 7:47ภาษาสเปนก็เป็นเหมือนกัน
ภาษาเยอรมันก็เป็นเหมือนกัน -
7:47 - 7:50ภาษาเหล่านี้มีสิ่งที่เรียกว่า
"เพศทางไวยากรณ์" -
7:53 - 7:55ในหนังสือเรื่อง "รูม" โดย เอ็มมา ดอนนาฮิว
-
7:55 - 7:59แม่และลูกชายติดอยู่ในห้องถึง 5 ปี
-
7:59 - 8:02และลูกชายไม่เคยได้เห็นโลกภายนอกเลย
-
8:02 - 8:06เพราะฉะนั้นมันก็สมเหตุสผลที่จะคิดว่า
ลูกชายก็จะแปลก ๆ นิดหน่อย -
8:06 - 8:08ความแปลกนี้ถูกถ่ายทอดออกมายังไงน่ะหรือ
-
8:09 - 8:10คือว่า
-
8:10 - 8:14เขาคิดว่าสิ่งของทุกอย่างรอบ ๆ ตัวมีเพศ
-
8:14 - 8:18ยกตัวอย่างเช่น พรม ก็จะไม่ถูกเรียกว่า "มัน"
-
8:18 - 8:20แต่จะถูกเรียกว่า "เธอ"
-
8:20 - 8:24เขามีความคิดคล้าย ๆ คนรัสเซีย
แต่มันแปลก ๆ สำหรับคนอังกฤษ -
8:24 - 8:27เพราะเวลาที่คุณเรียก "พรม" ว่า
"เธอ" ในภาษาอังกฤษ -
8:27 - 8:29"พรม" ก็จะมีตัวตน
-
8:29 - 8:32เมื่อเขาพูดว่า
"เราสร้างเขาวงกตมาตั้งแต่ฉันอายุ 2 ขวบ" -
8:32 - 8:35"เธอเป็นข้างในของกระดาษชำระ
ที่ถูกติดเทปเข้าด้วยกันเป็นอุโมงค์" -
8:35 - 8:37"ที่ถูกบิดไปหลายรูปแบบ"
-
8:37 - 8:39เขาวงกต เป็น "เธอ"
-
8:39 - 8:42โอเค งั้นลองแปลมันเป็นภาษารัสเซีย
-
8:42 - 8:47อย่างแรกเลย "лабиринт" จะเป็น "เขา"
เพราะมันเป็นคำที่ลงท้ายด้วย "т" -
8:47 - 8:49แต่นั่นก็ยังไม่ใช่สาระสำคัญ
-
8:50 - 8:52คุณอาจจะพูดได้ว่ามันไม่สำคัญ
-
8:52 - 8:56ถ้าคุณจะคิดว่าเขาวงกตเป็น "เธอ" หรือ "เขา"
-
8:56 - 8:59สิ่งนั้นคือในภาษารัสเซีย
มันปกติมาก ๆ -
8:59 - 9:03ที่จะพูดว่า "лабиринт" เป็น "เขา"
เพราะนั่นคือสิ่งที่ทุกคนพูด -
9:03 - 9:08ดังนั้น สิ่งที่ดูแปลก ๆ
ในหนังสือของ เอ็มมา ดอนนาฮู ภาคภาษาอังกฤษ -
9:08 - 9:11จะถูกมองเป็นสิ่งปกติมาก ๆ ในภาษารัสเซีย
-
9:12 - 9:14นั่นคือเหตุผลว่าทำไม
ฉันถึงอยากจะเชื่อมโยงมัน -
9:14 - 9:16เขากับสิ่งที่ โรมัน ยาค็อบสัน เคยกล่าวไว้
-
9:16 - 9:19"โดยพื้นฐานแล้ว ภาษาทั้งหลาย
ล้วนแตกต่างกันในสิ่งที่ต้องถ่ายทอด" -
9:19 - 9:21"ไม่ใช่ในสิ่งที่น่าจะถ่ายทอด"
-
9:22 - 9:25ดังนั้น ในภาษารัสเซีย
ฉันต้องถ่ายทอดเพศของบุคคล -
9:25 - 9:29ในภาษาอาร์เมเนีย
ฉันต้องถ่ายทอดว่าลุงมาจากฝั่งไหน -
9:29 - 9:31ฉันไม่สามารถปกปิดมันได้
-
9:32 - 9:36ตอนนี้ฉันมีคำถามสำหรับคุณ
-
9:36 - 9:38มันคือหนังสือเล่มเดียวกันจริง ๆ หรือ
-
9:38 - 9:40ขอบคุณค่ะ
-
9:40 - 9:42(เสียงปรบมือ)
- Title:
- ทำไมบางครั้งการแปลวรรณกรรมจึงเป็นไปไม่ได้ | มาเรียม มันซูเรียม | TEDxYouth@ISPrague
- Description:
-
หนึ่งในแง่มุมที่น่าตื่นเต้นที่สุดของการใช้ชีวิตในศตวรรษที่ 21 คือโอกาสที่จะได้สัมผัสกับวรรณกรรมจากทั่วโลก อย่าไรก็ดี ถ้าไม่นับภาษาที่เราใช้คล่องอยู่แล้ว ส่วนใหญ่เราก็จะต้องพึ่งฉบับแปล กลวิธีและอิทธิพลทางวรรณศิลป์จะสามารถถูกแปลจากภาษาหนึ่งไปยังอีกภาษาหนึ่งได้ง่ายเพียงใด มีบางแง่มุมของวรรณกรรมที่ไม่สามารถแปลได้เลยหรือไม่ มาเรียม มันซูเรียน ใช้ตัวอย่างจากภาษาอาร์เมเนีย ภาษารัสเซีย และภาษาอังกฤษ ในการให้เหตุผลว่าบางครั้งความคิดอาจ "สูญหายไปในการแปล" ได้ ทอล์คนี้เริ่มขึ้นในโครงการภาษาศาสตร์ประยุกต์ ในช่วงฤดูหนาวและฤดูใบไม้ผลิของปี 2015 เมื่อมาเรียมนำเสนอผลการวิจัยของเธอต่อคณะนักวิชาการที่มหาวิทยาลัยชาร์ลส์ ในกรุงปราก
มาเรียม มันซูเรียน ย้ายจากอาร์เมเนียบ้านเกิดของเธอและเข้าเรียนที่โรงเรียนมัธยมนานาชาติปราก ในปี 2015 เธอพูดภาษาอาร์เมเนียและภาษารัสเซียได้คล่องอยู่แล้ว เธอจึงพัฒนาทักษะในภาษาอังกฤษได้อย่างรวดเร็ว ความอยากรู้อยากเห็นของเธอเกี่ยวกับการแปลเกิดขึ้นเมื่อเธอเริ่มอ่านและเปรียบเทียบนิยายในหลายภาษา
การบรรยายนี้จัดขึ้นในงาน TEDx โดยใช้รูปแบบการประชุมแบบ TED แต่จัดขึ้นอย่างอิสระโดยชุมชนท้องถิ่น เรียนรู้เพิ่มเติมได้ที่ http://ted.com/tedx
- Video Language:
- English
- Team:
closed TED
- Project:
- TEDxTalks
- Duration:
- 09:43